Infographic to present Multimedia Technology Program, Faculty of Mass Communication and Technology, Rajamangala University of Technology Thanyaburi.

โดย ต้น หันตุลา, กมลภู ศรีสุขใส และชัชพงษ์ ทองจาด

สาขา เทคโนโลยีมัลติมีเดีย

ปีการศึกษา 2558


บทคัดย่อ (Abstract)

ปริญญานิพนธ์เล่มนี้ได้จัดทําขึ้นตามหลักสูตรการเรียนการสอนในสาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี โดยผู้จัดทําปริญญานิพนธ์ได้ทําปริญญานิพนธ์เรื่อง “การผลิตสื่ออินโฟกราฟิกนําเสนอสาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี” ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตสื่อประชาสัมพันธ์อินโฟกราฟิกนําเสนอสาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี โดยมีวิธีการศึกษาด้วยการผลิตสื่ออินโฟกราฟิก วางแผนในการกําหนด เนื้อหาของสื่ออินโฟกราฟิก ค้นคว้าข้อมูลการรับสมัครเข้าศึกษาต่อและอาชีพหลังสําเร็จการศึกษา เกี่ยวกับสาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย นําข้อมูลที่ได้มาเขียนบทสร้างฉากตามสตอรี่บอร์ด ออกแบบ รูปภาพ สัญลักษณ์ พื้นหลัง นํามาตัดต่อเรียบเรียงเหตุการณ์ จากนั้นทําการใส่เสียงและดนตรี ประกอบ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จํานวน 30 คนและผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา ด้านเทคนิคการผลิตสื่อและด้านเสียง ผู้จัดทําปริญญานิพนธ์หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ปริญญานิพนธ์ที่จัดทําขึ้นในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์อย่างสูงสุด

ผลการศึกษาจากผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ด้านพบว่า ได้ทําการประเมินในด้านเนื้อหาของสื่ออินโฟกราฟิก อยู่ในระดับมีคุณภาพดีมาก (ˉx = 4.56) สําหรับด้านเทคนิคการผลิตสื่อ อยู่ในระดับดี (ˉx = 4.43) และด้านคุณภาพเสียง อยู่ในระดับปานกลาง (ˉx = 3.14) ผลการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างพบว่า ในด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดี (ˉx = 4.37) ในด้านเทคนิคการผลิตสื่อ อยู่ในระดับดี (ˉx = 4.36) ในด้านการนําเสนอ อยู่ในระดับดี (ˉx = 4.38) ในด้านเสียง อยู่ในระดับดี (ˉx = 4.22)

คําสําคัญ: อินโฟกราฟิก, เทคโนโลยีมัลติมีเดีย, เทคโนโลยีสื่อสารมวลชน, ประชาสัมพันธ์


วัตถุประสงค์การวิจัย

  1. เพื่อผลิตสื่ออินโฟกราฟิกนําเสนอสาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดียคณะเทคโนโลยี
    สื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  2. เพื่อประเมินคุณภาพของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อสื่ออินโฟกราฟิกนําเสนอสาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  3. เพื่อประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อสื่ออินโฟกราฟิกนําเสนอสาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

ขอบเขตของงานวิจัย

ขอบเขตเชิงเนื้อหา

การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยต้องการนําเสนอข้อมูลต่าง ๆ ในสาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย ได้แก่ ข้อมูลสําคัญเกี่ยวกับสาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย ข้อมูลการเรียนการสอนของสาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย การรับสมัครศึกษาต่อสาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และอาชีพหลังสําเร็จการศึกษาในระยะเวลา 2.48 นาที

ขอบเขตเชิงประชากร

  • ประชากรที่ใช้ในการวิจัยนี้คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปีการศึกษา 2558
  • กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดียที่ผ่านวิชาเทคนิคพิเศษและการรวมภาพ และวิชากระบวนการสร้างสื่อออนไลน์ ปีการศึกษา 2558

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย

  1. ได้สื่ออินโฟกราฟิก นําเสนอสาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน
    มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  2. ได้รับรู้คุณภาพของสื่อจากผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อสื่ออินโฟกราฟิก นําเสนอสาขาเทคโนโลยี
    มัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  3. ได้รับความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อสื่ออินโฟกราฟิก นําเสนอสาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  4. เป็นแนวทางให้ผู้ที่สนใจทําสื่ออินโฟกราฟิกไปประยุกต์ใช้ในการนําเสนอ

นิยามศัพท์

  1. สื่ออินโฟกราฟิก หมายถึง การนําข้อมูลต่าง ๆ ในสาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย ได้แก่ ข้อมูล สําคัญเกี่ยวกับสาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย ข้อมูลการเรียนการสอนของสาขาเทคโนโลยี
    มัลติมีเดีย การรับสมัครศึกษาต่อสาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน
    มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และอาชีพหลังสําเร็จการศึกษา มารวมรวบข้อมูลพร้อมสรุปเป็นภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหวดูแล้วเข้าใจง่ายในเวลาอันรวดเร็วและชัดเจน
  2. มัลติมีเดีย หมายถึง การใช้คอมพิวเตอร์กับโปรแกรมในการผสมผสานสื่อหลายชนิดรวมกัน เช่น ข้อความ กราฟิก ภาพเคลื่อนไหว เสียง วีดีโอ เป็นต้น และช่วยให้เกิดความหลากหลาย
    ในการผลิตสื่ออีกด้วย
  3. เทคโนโลยี หมายถึง การนําเอาแนวความคิด หลักการ เทคนิค ความรู้ ระเบียบวิธี กระบวนการ ตลอดจนผลผลิตทางวิทยาศาสตร์ทั้งในด้านสิ่งประดิษฐ์และวิธีปฏิบัติมาประยุกต์ใช้ใน
    ระบบงานเพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทํางานให้ดียิ่งขึ้นและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานให้มีมากยิ่งขึ้น

สรุปผลการศึกษา

จากผลการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ตอน สรุปได้ดังนี้

  1. ผลการประเมินคุณภาพสื่ออินโฟกราฟิก นําเสนอสาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ของผู้เชี่ยวชาญพบว่า ค่าเฉลี่ยด้านเนื้อหา อยู่ในระดับมีคุณภาพ ดีมาก (4.56) สําหรับด้านเทคนิคการผลิตสื่อ อยู่ในระดับ ดี (4.43) และด้านคุณภาพเสียง อยู่ในระดับ ปานกลาง (3.14)
  2. ผลการประเมินแบบวัดความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างหลังชมสื่ออินโฟกราฟิก นําเสนอสาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีของกลุ่มตัวอย่างนักศึกษา คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จํานวน 30 คน พบว่า ด้านเนื้อหาอยู่ในระดับ ดี (xˉ= 4.37 S.D = 0.70) ด้านเทคนิคการผลิตสื่อ อยู่ในระดับ ดี (xˉ=4.36 S.D = 0.70) ด้านการนําเสนอ อยู่ในระดับ ดี (xˉ= 4.38 S.D = 0.67) และด้านเสียงอยู่ในระดับ ดี (xˉ=4.22 S.D = 0.84)

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากผู้เชี่ยวชาญและกลุ่มตัวอย่าง

จากการศึกษาการผลิตสื่ออินโฟกราฟิกนําเสนอสาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ตลอดจนการประเมินคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญและการประเมินความพึงพอใจจากกลุ่มตัวอย่าง จนได้ผลสรุปการศึกษาที่เสร็จสมบูรณ์ได้เกิดข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในการทําการศึกษาครั้งต่อไปรวมถึงการปรับปรุงผลงานให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้นดังต่อไปนี้

  1. ด้านเนื้อหา
    เนื้อหาของมีความครอบคลุม กระชับมีความถูกต้อง การลําดับเนื้อหาทําให้เข้าใจง่าย
  2. ด้านเทคนิคการผลิตสื่อ
    ลําดับเนื้อหาและการดําเนินเรื่องโดยรวมถือว่า ดี แต่การเชื่อต่อของหัวข้อยังขาดความต่อเนื่อง ภาพนิ่งและกราฟิกภาพดึงดูดความสนใจมีบางจุดที่ภาพไม่ตรงกับความหมายที่ต้องการสื่อ ภาพเคลื่อนไหวสามารถใส่ลูกเล่นเพิ่มได้ ควรลดความเร็วของข้อความตัวอักษร เพื่อให้สามารถอ่านได้ง่ายขึ้น
  3. ด้านเสียง
    เสียงดนตรีประกอบดึงดูดความน่าสนใจ อาจมีบางช่วงที่เสียงประกอบติดกันเกินไป บางช่วงอาจเบาเกินไป เสียงของผู้บรรยายอาจฟังดูไม่ชัดเจน พูดยังไม่ชัดถ้อยชัดคํา ควรออกเสียงให้เต็มเสียงและสร้างอารมณ์จะดึงดูดความสนใจได้มากขึ้น

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากผู้ทําวิจัย

หลังจากการทําการศึกษาการผลิตสื่ออินโฟกราฟิกนําเสนอสาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เสร็จสิ้น มีข้อเสนอแนะจาก
ผู้จัดทําในการทําปริญญานิพนธ์ในครั้งถัดไป ดังต่อไปนี้

ข้อเสนอแนะในการทําวิจัยครั้งต่อไป

  1. ด้านเนื้อหา
    ควรศึกษาปัจจัยด้านอื่น ๆ ให้เหมาะสมกับเนื้อหาที่นําเสนอ ได้แก่ การวิเคราะห์ความ
    ต้องการของผู้ชม ลักษณะหรือรูปแบบของการนําเสนอ จุดมุ่งหมายของการนําเสนอ ให้เหมาะสมกับลักษณะเนื้อหาและสิ่งที่ต้องการให้แก่ผู้ชม
  2. ด้านเทคนิคการผลิตสื่อ
    ควรมีการพัฒนาอินโฟกราฟิก ร่วมกับสื่อในรูปแบบต่าง ๆ หรือผสมผสานกับเทคนิคการสร้างการเคลื่อนไหวแบบอื่น ๆ เพื่อนําเสนอข้อมูลที่มีความซับซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  3. ด้านเสียง
    ควรเลือกใช้เสียงที่หลากหลายและดึงดูดความสนใจของผู้ชม เสียงของผู้บรรยายต้องดึงดูดผู้ฟัง ชัดถ้อยชัดคําและใช้น้ําเสียงที่ดึงดูดผู้ฟัง

ข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการ

สื่ออินโฟกราฟิกมีการใช้สีที่ดึงดูดความสนใจ การเชื่อมต่อเนื้อหาและการเปลี่ยนฉากมีความต่อเนื่องสอดคล้องเข้าใจง่ายแต่บางจุดภาพไม่ตรงกับความหมายที่ต้องการสื่อ ตําแหน่งของอักษร วรรณยุกต์บางจุดยังไม่ได้มาตรฐาน


รับชมผลงาน