Production Of Electronic Book For The Public Relation Of Mutimedia Technology, Rajamangala University Of Technology Thanyaburi
โดย ธัญลักษณ์ แสงจันทร์
สาขา เทคโนโลยีมัลติมีเดีย
ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ (Abstract)
ปริญญานิพนธ์เรื่องการผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประชาสัมพันธ์สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดียคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเรื่องการผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประชาสัมพันธ์สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ที่มีคุณภาพเพื่อศึกษาคุณภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประชาสัมพันธ์สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และเพื่อศึกษาความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประชาสัมพันธ์สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
วิธีการศึกษาทำโดย ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และข้อมูลเกี่ยวกับสาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีกำหนดรูปแบบที่นำเสนอ โดยมีหัวข้อหลักคือ ประวัติคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชนและสาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย อาจารย์ประจำสาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย สถานที่ตั้ง ห้องปฏิบัติการหลักสูตร และจำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร โดยนำเสนอในรูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ กระบวนการผลิตสื่อเริ่มจากศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการออกแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ จากนั้นจัดเตรียมข้อมูลหัวข้อหลักและเนื้อหาสำคัญ ออกแบบรูปแบบหนังสือ ภาพ วีดีโอ และองค์ประกอบต่าง ๆ ของสื่อ ด้วยโปรแกรม Adobe Photoshop และโปรแกรม Adobe Premiere Pro นำข้อมูล วัตถุดิบ และองค์ประกอบต่าง ๆ เข้าสู่โปรแกรม Adobe InDesign เพื่อทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประชาสัมพันธ์สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี แล้วทดสอบการทำงานเพื่อหาข้อผิดพลาดและนำมาปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่อง นำสื่อที่เสร็จเรียบร้อยไปประเมินคุณภาพสื่อจากผู้เชี่ยวชาญมีทั้งหมด 3 ท่านโดยเป็น ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการผลิตสื่อ และวัดผลกับกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนโรงเรียนอุดมศีลวิทยา จังหวัดอยุธยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 30 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง
ผลการศึกษาสรุปว่า ผลการวิเคราะห์คุณภาพสื่อจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านการผลิตสื่อจากการประเมินคุณภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประชาสัมพันธ์สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย ในด้านออกแบบกราฟิกพบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมีคุณภาพดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.85 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.14 ในด้านการออกแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมีคุณภาพดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.29 ในด้านภาพ พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มีคุณภาพดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.78 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.33 ในด้านเสียงพบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มีคุณภาพดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.33 ในด้านการใช้งานพบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มีคุณภาพดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.89 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.38 และผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นที่มีต่อสื่อจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน ในด้านเนื้อหาข้อมูลพบว่าโดยภาพรวมอยู่ในระดับมีความเห็นด้วยมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.75 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.6 ในด้านการออกแบบพบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมีความเห็นด้วยมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.63 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.67 ในด้านการนำเสนอสื่อพบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมีความเห็นด้วยมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.58 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.68 ในด้านการใช้งานพบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับมีความเห็นด้วยมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.92
วัตถุประสงค์ของการศึกษา
- เพื่อผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ประชาสัมพันธ์สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
- เพื่อประชาสัมพันธ์สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
- เพื่อศึกษาความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประชาสัมพันธ์สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ขอบเขตการศึกษา
- ขอบเขตด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากร คือ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดอยุธยา
กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ชั้นปีที่ 5 โรงเรียนอุดมศิลวิทยา จำนวน 30 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง - ขอบเขตด้านเนื้อหา
เนื้อหาเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี โดยมีหัวข้อหลัก คือ ประวัติคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชนและสาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย อาจารย์ประจำสาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย สถานที่ตั้ง ห้องปฏิบัติการ หลักสูตรและจำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร - ขอบเขตด้านเทคนิค
- เทคนิคกำรทำสไลด์ในหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
- เทคนิคถ่ายภาพระยะไกลให้มีมิติ
- เทคนิคการใส่เสียงในหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
นิยามศัพท์เฉพาะ
- เทคโนโลยีมัลติมีเดีย หมายถึง การใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกับโปรแกรมซอฟต์แวร์ในการสื่อความหมายโดยการผสมผสานสื่อหลายชนิด เช่น ข้อความ กราฟิก (Graphic) ภาพเคลื่อนไหว (Animation) เสียง (Sound) และวีดิทัศน์ (Video) เป็นต้น และถ้าผู้ใช้สามารถที่จะควบคุมสื่อให้นำเสนอออกมาตามต้องการได้จะเรียกว่า มัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ (Interactive Multimedia) การปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้สามารถจะกระทำได้โดยผ่านทางคีย์บอร์ด (Keyboard) เมาส์ (Mouse) หรือตัวชี้ (Pointer) การใช้มัลติมีเดียในลักษณะปฏิสัมพันธ์ก็เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถเรียนรู้หรือทำกิจกรรมรวมถึงดูสื่อต่าง ๆ ด้วยตนเอง สื่อต่าง ๆ ที่นำมารวมไว้ในมัลติมีเดีย เช่น ภาพ เสียง วีดิทัศน์ จะช่วยให้เกิดความหลากหลาย น่าสนใจ และเร้าความสนใจ เพิ่มความสนุกสนานในการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น
- การประชาสัมพันธ์ หมายถึง การสื่อสารความคิดเห็น ข่าวสาร ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ไปสู่กลุ่มประชาชน เป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีระหว่างหน่วยงาน องค์การ สถาบันกับกลุ่มประชาชนเป้าหมายและประชาชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อหวังผลในความร่วมมือ สนับสนุนจากประชาชน รวมทั้งมีส่วนช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ ที่ดีให้แก่หน่วยงาน องค์การ สถาบันด้วย ทำให้ประชาชน เกิดความนิยม เลื่อมใส ศรัทธาต่อหน่วยงาน ตลอดจนค้นหาและกำจัดแหล่งเข้าใจผิด ช่วยลบล้างปัญหา เพื่อสร้างความสำเร็จในการดำเนินงานของหน่วยงานนั้น
- หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง หนังสือที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ โดยปกติมักจะเป็นแฟ้มข้อมูลที่สามารถอ่านเอกสารผ่านทางหน้ำจอคอมพิวเตอร์ ทั้งในระบบออฟไลน์ และออนไลน์ คุณลักษณะของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถเชื่อมโยงจุดไปยังส่วนต่าง ๆ ของหนังสือ เว็บไซต์ต่าง ๆ ตลอดจนมีปฏิสัมพันธ์และโต้ตอบกับผู้เรียนได้ นอกจากนั้นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถแทรกภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว แบบทดสอบ และสามารถสั่งพิมพ์เอกสารที่ต้องการออกทางเครื่องพิมพ์ได้ อีกประการหนึ่งที่สำคัญก็คือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถปรับปรุงให้ทันสมัยได้ตลอดเวลา ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้จะไม่มีในหนังสือธรรมดาทั่วไป
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
- ได้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การประชาสัมพันธ์สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
- ทราบระดับผลความคิดเห็นที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องประชาสัมพันธ์สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จากกลุ่มตัวอย่าง
- เป็นแนวทางสำหรับการผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการประชาสัมพันธ์สาขาวิชา เพื่อการตัดสินใจศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี
สรุปผลการประเมินคุณภาพของสื่อโดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ
ผลสรุปการศึกษาคุณภาพการผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประชาสัมพันธ์สาขาเทคโนโลยี
มัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำนวน 3 ท่านสำหรับผู้เชี่ยวชาญการผลิตสื่อ ได้มีการแบ่งหัวข้อทั้งหมด 5 หัวข้อซึ่งได้สรุปในแต่ละส่วนดังต่อไปนี้
- ผลสรุปการประเมินคุณภาพด้านออกแบบกราฟิก
จากการประเมินคุณภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประชาสัมพันธ์สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ในด้านออกแบบกราฟิกพบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมีคุณภาพดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.83 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.14 - ผลสรุปการประเมินคุณภาพด้านการออกแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
จากการประเมินคุณภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประชาสัมพันธ์สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ในด้านการออกแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมีคุณภาพดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.00 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.29 - ผลสรุปการประเมินคุณภาพด้านภาพ
จากการประเมินคุณภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประชาสัมพันธ์สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ในด้านภาพพบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมีคุณภาพดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.78 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.33 - ผลสรุปการประเมินคุณภาพด้านเสียง
จากการประเมินคุณภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประชาสัมพันธ์สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ในด้านเสียงพบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมีคุณภาพดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.00 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.33 - ผลสรุปการประเมินคุณภาพด้านการใช้งาน
จากการประเมินคุณภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประชาสัมพันธ์สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ในด้านการใช้งานพบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมีคุณภาพดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.89 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.38
สรุปผลความคิดเห็นที่มีต่อสื่อจากกลุ่มตัวอย่าง
ผลสรุปความคิดเห็นที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประชาสัมพันธ์สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย
คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จากกลุ่มตัวอย่าง นักเรียนโรงเรียนอุดมศีลวิทยา จังหวัดอยุธยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เป็นเยาวชนอายุ 16-17 ปี จำนวน 30 คน ได้ผลสรุปความคิดเห็นที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประชาสัมพันธ์สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี โดยจำแนกออกเป็นหัวข้อการสอบถามทั้งหมด 2 หัวข้อ ดังต่อไปนี้
- ผลสรุปข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามในกลุ่มตัวอย่าง
จากการสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประชาสัมพันธ์สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จากกลุ่มตัวอย่างทั้ง 30 คนพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุอยู่ระหว่าง 16-17 ปี - ผลสรุปการประเมินความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่าง
การสอบถามความคิดเห็นของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประชาสัมพันธ์สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จากกลุ่มตัวอย่างทั้ง 30 คนซึ่งได้สรุปในแต่ละด้านดังต่อไปนี้- ผลสรุปการประเมินคุณภาพด้านข้อมูล
จากการประเมินคุณภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประชาสัมพันธ์สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ในด้านเนื้อหาข้อมูล พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมีความเห็นด้วยดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.75 และส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐานเท่ากับ 0.60 - ผลสรุปการประเมินคุณภาพด้านการออกแบบ
จากการประเมินคุณภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประชาสัมพันธ์สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ในด้านการออกแบบ พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมีความเห็นด้วย ดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.63 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.67 - ผลสรุปการประเมินคุณภาพด้านการนำเสนอสื่อ
จากการประเมินคุณภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประชาสัมพันธ์สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ในด้านการนำเสนอสื่อ พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมีความเห็นด้วย ดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.58 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.68 - ผลสรุปการประเมินคุณภาพด้านการใช้งาน
จากการประเมินคุณภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประชาสัมพันธ์สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ในด้านการใช้งาน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมีความเห็นด้วยดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67 และส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐานเท่ากับ 0.92
- ผลสรุปการประเมินคุณภาพด้านข้อมูล
อภิปรายผลการศึกษา
ในการศึกษาการผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประชาสัมพันธ์สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะ
เทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มีประเด็นที่น่าสนใจมาอภิปรายดังต่อไปนี้คือ
การผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประชาสัมพันธ์สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยี
สื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ผ่านการตรวจทานปรับปรุงแก้ไขจากอาจารย์ที่ปรึกษาและวัดผลคุณภาพของสื่อจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตสื่อ และได้นำสื่อไปทดสอบกับจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเยาวชนอายุ16-17 ปีจำนวน 30 คน จากนั้นนำผลการประเมินคุณภาพของสื่อมาวิเคราะห์พบว่า ด้านการผลิตสิ่อ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถสื่อให้ผู้ใช้ทราบว่า เป็นหนังสือเกี่ยวกับเรื่องใด อยู่ในระดับมีคุณภาพดี เนื่องจากใช้ทฤษฎีการออกแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และได้นำสื่อไปทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเยาวชนอายุ 16-17 ปีจำนวน 30 คน โดยได้นำผลความคิดเห็นมาวิเคราะห์ จากการประเมินพบว่า ในด้านเนื้อหาข้อมูล มีการนำเสนอเนื้อหาน่าสนใจและมีประโยชน์อยู่ในระดับมีความเห็นด้วยมาก ในด้านการออกแบบ จัดวางองค์ประกอบหน้าจอได้สัดส่วนและเหมาะสมอยู่ในระดับมีความเห็นด้วยมาก ในด้านการนำเสนอสื่อ ความสวยงามของสื่ออยู่ในระดับมีความเห็นด้วยมาก และในด้านการใช้งาน การใช้สะดวกและง่ายต่อการใช้งาน อยู่ในระดับมีความเห็นด้วยมาก เนื่องจากสรุปผลการประเมินสื่ออยู่ในเกณฑ์ที่ดี มีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้เพื่อเป็นข้อมูลของสาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ในตอนต้น และทั้งนี้ การผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประชาสัมพันธ์สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย มีวัตถุประสงค์เพื่อประชาสัมพันธ์สาขามัลติมีเดีย ซึ่งได้เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเข้าใจเกี่ยวกับสาขามัลติมีเดียมากขึ้น
ปัญหาและอุปสรรค
การผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประชาสัมพันธ์สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยี
สื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ตลอดจนการประเมินคุณภาพ จาก
ผู้เชี่ยวชาญ และประเมินความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่างได้พบปัญหาและอุปสรรค์ดังนี้
- ในการทำสื่อในแต่ละขั้นตอนต้องใช้เวลาในการทำงานค่อนข้างมาก จึงทำให้เวลาไม่เพียงพอในการทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ให้สมบูรณ์ที่สุด
- การหาข้อมูลในการทำสื่อใช้เวลานานและข้อมูลนั้นหาได้ยาก จึงทำให้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เสร็จช้ากว่าที่กำหนดไว้และได้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีสมบูรณ์ไม่มากนัก
- ทักษะและประสบการณ์ในหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ยังมีไม่เพียงพอ จึงทำให้ได้หนังสือ
อิเล็กทรอนิกส์ที่มีสมบูรณ์ไม่มากนัก
ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
- ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากผู้เชี่ยวชาญ
- ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมด้านการออกแบบกราฟิก
การออกแบบโดยรวมใช้ได้ แต่ควรมีการปรับสีเพิ่มเติม - ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมด้านออกแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
เหมาะสำหรับการใช้งานสำหรับเยาวชน แต่ไม่เหมาะสำหรับผู้สูงอายุเนื่องจากขนาดตัวอักษรในบ้างหัวข้อมีขนาดเล็ก - ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมด้านภาพ
บางภาพควรจัดองค์ประกอบของภาพ - ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมด้านเสียง
เสียงไม่สามารถเปิดได้ในคอมพิวเตอร์บางรุ่น - ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมด้านการใช้งาน
ควรมีการใช้งานได้กับสื่อทุกประเภท
- ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมด้านการออกแบบกราฟิก
- ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากกลุ่มตัวอย่าง
- ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมด้านเนื้อหาข้อมูล
ควรเพิ่มรายละเอียดเพิ่มขึ้นอีก อย่างเช่น ค่าเทอมของแต่ละภาค (ปกติ,สมทบ,เทียบโอน) - ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมด้านการออกแบบ
ออกแบบให้ใช้งานได้หลากหลายกว่านี้ - ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมด้านการนำเสนอสื่อ
ควรปรับลูกเล่นให้มีความเร็วพอดีไม่ช้าและเร็วเกินไป - ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมด้านการใช้งาน
ความเร็วในการเปลี่ยนหน้าไม่ทันใจ
- ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมด้านเนื้อหาข้อมูล
- ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากผู้วิจัย
- การผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อประชาสัมพันธ์สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย
คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มีข้อจำกัดปัญหาทางด้านโปรแกรมที่ใช้ในการทำจะต้องศึกษาค้นคว้าความรู้ วิธีใช้งาน คำสั่งต่าง ๆ - ต้องมีอุปกรณ์เหมาะสมและสนับสนุนในการใช้งานโปรแกรม
- การผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อประชาสัมพันธ์สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย
- ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากคณะกรรมการสอบปริญญานิพนธ์
- ตัวอักษรที่ใช้มีความหลากหลายมากเกินไป
- สีที่ใช้ไม่สอดคล้องกันเท่าที่ควร
- ปรับความเร็วการนำเสนอแต่ละหน้าให้เร็วขึ้น