The study of film production techniques by using Mirror Flashback from the movie Contact

จัดทำโดย อนัญญา ใจเด็ด และ ณภัทร สำลีอ่อน

สาขา เทคโนโลยีการถ่ายภาพและภาพยนตร์

ปีการศึกษา 2558


บทคัดย่อ (Abstract)

การศึกษาการถ่ายทำภาพยนตร์เทคนิค Mirror Flashback จากภาพยนตร์เรื่อง Contact ความยาว 31 วินาที ด้วยกล้อง Sony A7S หลังจากถ่ายทำภาพยนตร์เทคนิค Mirror Flashback เสร็จแล้ว นำฟุตที่ถ่ายมาตัดต่อโดยใช้โปรแกรม Adobe After Effect คณะผู้จัดทำได้ศึกษาเทคนิค Mirror Flashback จากผู้เชี่ยวชาญเพื่อศึกษาการใช้เทคนิค Mirror Flashback ในภาพยนตร์เรื่อง Contact ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ผลิตผลงานภาพยนตร์ เพื่อสามารถสร้างซีนที่ใช้เทคนิค Mirror Flashback ร่วมกับการเคลื่อนกล้องโดยผสมกับการแสดงจริง โดยจัดฉายให้ผู้เชี่ยวชาญ 4 คน ได้ชมภาพยนตร์เทคนิค Mirror Flashback โดยใช้โปรแกรม Adobe After Effect โดยให้วิจารณ์แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการใช้เทคนิค Mirror Flashback

ผลการศึกษาพบว่า การศึกษาการถ่ายทำภาพยนตร์เทคนิค Mirror Flashback จากภาพยนตร์เรื่อง Contact มีผลการแสดงความคิดเห็นโดยผู้เชี่ยวชาญภาพยนตร์และด้านการตัดต่อเป็นไปตามมาตรฐานการใช้เทคนิค Mirror Flashback จากภาพยนตร์เรื่อง Contact ตรงตามวัตถุประสงค์ของผู้จัดทำ


วัตถุประสงค์ของการศึกษา

เพื่อการศึกษาการถ่ายทาภาพยนตร์เทคนิค Mirror Flashback จากภาพยนตร์เรื่อง Contact

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

สามารถผลิตภาพยนตร์เทคนิค Mirror Flashback จากภาพยนตร์เรื่อง Contact ได้

ขอบเขตการศึกษา

ผู้ศึกษาผลิตตัวอย่าง Scene Mirror Flashback ความยาว 31 วินาที โดยถ่ายทำด้วยกล้อง SONY A7S โดยใช้ STEADICAM PILOT ในการเคลื่อนกล้อง และแปลงสัญญาณเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ และเข้าสู่กระบวนการตัดต่อด้วยโปรแกรม Adobe Premiere Pro ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ PC Intel Core i5-4440 CPU 3.1GHz RAM 1 TB การ์ดแสดงผล NVIDIA Geforce GT360 การ์ดเสียง On Board โดยใช้ระบบปฏิบัติการ Window 7 เมื่อตัดต่อภาพและเสียงเสร็จแล้วก็นำมาซ้อนเทคนิคพิเศษด้วยโปรแกรม Adobe After Effect CS6 จากนั้นนำตัวอย่างของ Mirror Flashback ที่ตัดต่อเสร็จสมบูรณ์แล้วในรูปแบบ DVD ไปจัดฉายผ่านจอเครื่องฉายภาพวิดีทัศน์ (Video Projector) โดยใช้แบบสอบถามแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการซ้อนภาพ


สรุปผลการศึกษา

จากผลการศึกษาพบว่า ผู้เชี่ยวชาญทั้ง 4 ท่านเห็นตรงกันว่า ในจากการศึกษาเรื่องการศึกษาการถ่ายทำภาพยนตร์เทคนิค Mirror Flashback จากภาพยนตร์เรื่อง Contact ทำออกมาได้ดีแต่ควรปรับปรุงในด้านการถ่ายทำด้วยเทคนิค Chroma Key และทำในขั้นตอนการซ้อนภาพด้วยเทคนิค Masking ด้วยการใช้โปรแกรมตัวอื่นในการเข้ามาช่วยจะได้ทำให้งานออกมาดียิ่งขึ้น

ซึ่งสามารถสรุปได้ว่า การใช้เทคนิค Mirror Flashback ในการถ่ายทำนั้นสามารถสร้างสรรค์ฉากที่ไม่สามารถถ่ายทำได้จริงให้มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น ให้คนดูรู้สึกต่อเนื่องในการรับชมและเป็นเทคนิคที่สามารถนำมาประยุกต์ในเนื้อหาอื่น ๆ ให้เกิดความน่าสนใจมากยิ่งขึ้นในวงการภาพยนตร์และภาพยนตร์โฆษณา ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผู้ศึกษาได้ทำการวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นในการศึกษาการถ่ายทำภาพยนตร์เทคนิค Mirror Flashback จากภาพยนตร์เรื่อง Contact ออกเป็น 3 ส่วนดังนี้

  1. ปัญหาที่เกิดขึ้นในขั้น Pre-Production Planning
    • ในการศึกษาภาพยนตร์เรื่อง Contact ในตัวอย่างของซีนที่เราต้องการ มีข้อมูลของการถ่ายทำที่น้อยมากทำให้ค่อนข้างที่จะหาที่มาที่ไปและข้อมูลที่ถูกต้องได้ยากและเกิดความล่าช้า
    • สถานที่ในการถ่ายทำถูกจากัดด้วยงบประมาณ ทำให้ได้สถานที่ที่ยากลำบากในการถ่ายทำและเวลาที่ค่อนข้างน้อย
    • การคัดเลือกนักแสดงมีกำหนดการการถ่ายทำที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาทำให้เกิดความล่าช้าและไม่เป็นไปตามกำหนดการ
  2. ปัญหาที่เกิดขึ้นในขั้นตอน Production
    • ในส่วนของการถ่ายทำเนื่องด้วยสถานที่มีความแคบและชันรวมถึงช่างภาพไม่ค่อยชำนาญกับสถานที่ทำให้เกิดความผิดพลาดในการถ่ายทำและล่าช้าอย่างมากไม่ตรงตามตารางการถ่ายทำ การถ่ายต้องเป็นการถ่ายแบบ Day for Night เราจึงต้องทำการจัดแสงให้เป็นกลางคืน และเลียนแบบในซีนให้ได้มากที่สุด จึงทำให้เสียเวลาในการจัดแสง รวมถึงคิวของช่างภาพและทีมไฟทำให้ต้องแข่งกับเวลาทำให้ไม่สามารถประดิษฐ์มุมภาพได้เท่าที่ควร
    • เนื่องด้วยมีการถ่ายทำที่มากถึง 60 เทคในช็อตเดียวทำให้ช่างภาพเหนื่อยล้าจากการควบคุมสเตดิแคมและต้องหยุดการถ่ายทำเป็นระยะ แต่ก็ยังไม่ได้ช็อตที่ต้องการ
    • การโฟกัสเป็นแบบ Wireless แต่ไม่มีมอนิเตอร์สำหรับโฟกัส ทาให้การโฟกัสมีการเอาท์โฟกัสบ้างในบางช็อต
    • การถ่ายกรีนสกรีนมีการจัดไฟที่มากเกินไปทำให้สีเขียวของกรีนสกรีนซีดลงอย่างมากรวมถึงอริยาบทของนักแสดงในการวิ่งเข้ามาเปิดตู้ดูไม่เป็นธรรมชาติ
  3. ปัญหาที่เกิดขึ้นในขั้น Post-Production
    • ไฟล์ของกรีนสกรีนนั้นไม่เขียวพอที่จะดูดสีเขียวได้เพราะความใกล้เคียงกับสีตัวอื่นและยังกินพื้นที่ของส่วนที่เป็นมือและแขน
    • การคัดเลือกไฟล์มาเพื่อแมทต์มีความลาบากมากเพราะไม่สามารถนามาแมทต์กันได้อย่างลงตัว
    • ไฟล์ที่พร้อมฉายมีสัญญาณรบกวนในช่วงแรก ๆ เกิดจากการที่แสงไม่เพียงพอและมีการตั้งค่า ISO สูงจนเกินไป

สรุปผลการแก้ปัญหาหลังการถ่ายทำในการศึกษาการถ่ายทำภาพยนตร์จากภาพยนตร์เรื่อง Contact

เทคนิค Mirror Flashback

ในการศึกษาการถ่ายทำภาพยนตร์เทคนิค Mirror Flashback จากภาพยนตร์เรื่อง Contact โดยในการถ่ายทำนั้นสามารถสร้างสรรค์ฉากที่ไม่สามารถถ่ายทำได้จริงให้มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น ซึ่งในฉากที่ต้องถ่ายทำในพื้นที่จำกัด และเวลาที่จากัดถ่ายโดยการจัดแสงให้กลางวันเป็นการคืน ทำให้การควบคุมกล้องและไฟเป็นเรื่องยากแต่สามารถถ่ายทำไปได้ด้วยดี ด้วยการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและเลือกช็อตที่ดีที่สุด และการแก้ปัญหาในขั้นตอนของ Post-Production เข้ามาช่วย

ข้อเสนอแนะ

  1. การศึกษาการถ่ายทำภาพยนตร์เทคนิค Mirror Flashback ควรที่จะศึกษาควบคู่ไปกับเรื่องการแมตท์ การคอมโพสิต และการเคลื่อนกล้องโดยใช้สเตดิแคม
  2. ระยะเวลาในการถ่ายทำและสถานที่ถ่ายทำควรมีการฝึกซ้อมอุปกรณ์ การควบคุมกล้องให้มีความชำนาญและคล่องแคล่วมากยิ่งขึ้น
  3. การถ่ายกรีนสกรีนควรใช้ผ้าที่ใช้สาหรับการถ่ายทำกรีนสกรีนไม่ควรใช้กระดาษเพราะจะทำให้เกิดรอยยับง่าย
  4. การถ่ายทำเทคนิค Mirror Flashback สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับภาพยนตร์ต่าง ๆ ได้

รับชมผลงาน