The study of composite technique to show space and time in short film movie

จัดทำโดย วสุวัชร์ วสุวัชรพงศ์ และ หลักทรัพย์ ปัญญาชื่น

สาขา เทคโนโลยีการถ่ายภาพและภาพยนตร์

ปีการศึกษา 2558


บทคัดย่อ (Abstract)

การศึกษาเทคนิคการซ้อนภาพ (Composite) ผู้ศึกษาผลิตภาพยนตร์สั้น ความยาว 2 นาทีด้วยกล้อง Canon 6D หลังจากได้ทำการถ่ายทำเสร็จแล้ว ก็ได้นำฟุตเทจมาตัดต่อด้วยโปรแกรม Adobe After Effects CS6 และได้ศึกษาเทคนิคการซ้อนภาพ (Composite) จากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อนำเทคนิคมาใช้ในภาพยนตร์สั้น ให้สอดคล้องตามความต้องการของผู้ผลิตสามารถใช้เทคนิคการซ้อนภาพ (Composite) เพื่อแสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงสถานที่นั้น ๆ

โดยจัดฉายให้นักศึกษาสาขาเทคโนโลยีการถ่ายภาพและภาพยนตร์ จำนวน 15 คน และกลุ่มนักศึกษาคณะเทคโนโลยีสื่อสื่อมวลชน จำนวน 15 คน ชมภาพยนตร์แล้วทำการประเมินผลโดยใช้แบบสอบถามแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการใช้เทคนิคการซ้อนภาพ (Composite) ร่วมกับการนำเสนอของภาพยนตร์สั้นแล้วเปรียบเทียบค่าสถิติเป็นร้อยละ

ผลการศึกษาพบว่า การผลิตภาพยนตร์หนังสั้นมีผลประเมินประสิทธิภาพการใช้เทคนิคการซ้อนภาพ (Composite) ร่วมกับการนำเสนอเนื้อหาของภาพยนตร์สั้นได้อย่างสอดคล้องและเหมาะสมตรงตามวัตถุประสงค์การผลิตของผู้จัดทำ


วัตถุประสงค์ของการศึกษา

เพื่อศึกษาการใช้เทคนิค Compositeหรือการซ้อนภาพลงในฉากภาพเคลื่อนไหวด้วยโปรแกรม Adobe Photoshop CS6 และใส่เทคนิคพิเศษด้วยโปรแกรม Adobe After Effects CS6 และทำการตัดต่อ File video ด้วยโปรแกรม Final Cut Pro แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงสถานที่

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. สามารถใช้เทคนิคการซ้อนภาพเพื่อให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงสถานที่
  2. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคนิคการซ้อนภาพ (Composite)ได้อย่างถูกต้อง

ขอบเขตการศึกษา

การศึกษาเรื่องการใช้เทคนิคพิเศษการซ้อนภาพครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้ถ่ายทำภาพยนตร์สั้นเรื่อง “มือถือวิเศษ” ความยาว 2 นาที ให้เสมือนมีการเปลี่ยนแปลงสถานที่ โดยการบันทึกด้วยกล้อง Canon 6D แล้วนำภาพนิ่งที่ได้มาแต่งโดยใช้โปรแกรม Adobe Photoshop CS6 แล้วจึงนำไปซ้อนลง File video ที่ทำการบันทึกไว้ ทำการเพิ่มเติมเทคนิคพิเศษและซ้อนภาพโดยใช้โปรแกรม Adobe After Effects CS6 ทำการตัดต่อด้วยโปรแกรม Final Cut Pro บันทึกในรูปแบบ DVD-ROM จากนั้นทำการจัดฉายให้กลุ่มนักศึกษาสาขาเทคโนโลยีการถ่ายภาพและภาพยนตร์ จำนวน 15 คนและนักศึกษาคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชนที่เป็นสาขาอื่น จำนวน 15 คน แล้วทำการประเมินแบบสอบถามหลังการชมภาพยนตร์โดยคิดเป็นร้อยละและค่าเฉลี่ย และสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านการทำเทคนิคพิเศษในภาพยนตร์เกี่ยวกับคุณภาพของสื่อที่ผลิต


สรุปผลการศึกษา

จากการศึกษาเรื่องการใช้เทคนิคการซ้อนภาพ (Composite) เพื่อแสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงสถานที่ ผู้ศึกษาสรุปผลการประเมินได้ว่า การเลือกใช้เทคนิคพิเศษในภาพยนตร์สั้นนั้นมีความสำคัญมากสามารถสร้างสรรค์ให้ดูน่าติดตามและน่าสนใจมากขึ้น ในการทำภาพยนตร์สั้นนั้นนอกจากเทคนิคพิเศษแล้วการเขียนบทก็สำคัญเช่นกัน บทภาพยนตร์ต้องมีเนื้อเรื่องที่น่าติดตามและน่าสนใจ เมื่อผู้ชมรับชมแล้วทำให้ไม่น่าเบื่อ เทคนิคพิเศษก็สามารถทำให้ผู้รับชมมีความคล้อยตามและรู้สึกเหมือนมีการเปลี่ยนแปลงสถานที่จริง ๆ ดังนั้นเทคนิคพิเศษจึงมีบทบาทสำคัญในการผลิตภาพยนตร์สั้นเป็นอย่างมาก

อภิปรายผลการศึกษา

จากผลการศึกษาพบว่า การใช้เทคนิคการซ้อนภาพ (Composite) เพื่อแสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของสถานที่ ความคิดสร้างสรรค์ในการนำเสนอเนื้อหาต้องมีความน่าสนใจต่อผู้รับชม รวมถึงการใช้ดนตรีประกอบ การใช้เทคนิคพิเศษ ทั้งหมดนี้ล้วนสอดคล้องกันในการนำเสนอกับคำกล่าวว่า

  1. การใช้สีของ Effects ในภาพยนตร์สั้นมีมากน้อยเพียงใด
  2. ระยะเวลาของ Effects ในภาพยนตร์สั้นมีมากน้อยเพียงใด
  3. ชนิดของ Effects ในภาพยนตร์สั้นมีมากน้อยเพียงใด
  4. ตำแหน่งของ Effect ในภาพยนตร์สั้น มีมากน้อยเพียงใด
  5. การใช้เทคนิค Composite (การซ้อนภาพ) มีความกลมกลืนมากน้อยเพียงใด
  6. การใช้เทคนิค Composite (ซ้อนภาพ) มีความน่าสนใจมากน้อยเพียงใด
  7. ความคิดสร้างสรรค์ของการนำเสนอ

สมาน งามสนิท (2539:826) กล่าวว่า เทคนิคพิเศษมีความสำคัญต่อภาพยนตร์หลายประการ ทั้งนี้เนื่องจากว่า เทคนิคพิเศษเข้ามาเกี่ยวข้องในงานสร้างสรรค์ภาพยนตร์ตั้งแต่ต้นจนจบ เกี่ยวข้องกับทุกฉาก ทุกขั้นตอน เริ่มตั้งแต่งานเขียนบท ผู้เขียนเริ่มมองว่า ในแต่ละฉากแต่ละตอนควรมีผลวิเศษอะไรบ้าง ถึงตอนวางแผนการผลิตจะมีการวางแผนว่า ฉากในแต่ละฉากจะมีเทคนิคพิเศษอะไรบ้างจึงจะทำให้ภาพดูสมจริง และประหยัดเวลาในขั้นตอนการตัดต่อ เทคนิคพิเศษจึงมีความสำคัญต่อการสร้างภาพยนตร์ โดยสรุปดังนี้

  1. สร้างเหตุการณ์ให้ดูสมจริง
  2. สร้างสถานการณ์ให้เร้าใจ
  3. ลดอันตรายแก่ผู้แสดง
  4. สร้างสิ่งที่อยู่เหนือจริงให้ยอมรับได้

จันจิรา ขจรไพศาล (2539:5) กล่าวว่า การสร้างเทคนิคพิเศษมีความสำคัญต่อภาพยนตร์หลายประการ เช่น การสร้างเหตุการณ์ให้ดูสมจริง สามารถสร้างฉากธรรมดาให้กลายเป็นฉากที่ตื่นเต้นได้ สร้างสิ่งเหมือนจริงให้ยอมรับได้ ลดอันตรายให้แก่ผู้แสดง และสามารถประหยัดงบประมาณในการสร้างภาพยนตร์อีกด้วย

ข้อเสนอแนะ

กวี พรมหู (สัมภาษณ์ , 29 มิถุนายน 2559) ในการวางแผนก่อนการถ่ายทำต้องมีการวางแผนให้รอบคอบและวางเป้าหมายไว้ การกำหนดวันเวลาในการปฏิบัติงานก็ควรปฏิบัติให้ตรงตามที่กำหนดไว้ หากมีการคลาดเคลื่อนอาจทำให้การวางแผนในการทำงานล่าช้าและชิ้นงานอาจไม่สมบูรณ์แบบ

  1. เสียง Effects
    เสียงที่ใช้ประกอบหนังสั้น เลือกใช้เสียงดึงอารมณ์ให้หนังดูน่าพิศวงดี ส่วนเรื่อง Sound Effects ที่ประกอบกับช่วงซีน Visual Effects นั้น ยังจับจังหวะเสียงกับภาพไม่ตรงกันในบางจังหวะ แต่โดยรวมมีความเข้าใจในการใส่เสียงกับภาพซีน Climax เสียงยังนิ่งไป ไม่ชวนให้ตื่นเต้น หรือดูให้รู้ว่านี้ คือ ซีนสำคัญ Sound Effects ที่ใช้ช่วงข้ามมิติไปที่ต่าง ๆ นั้น ควรจะเปลี่ยนเสียงบรรยากาศให้สอดคล้องกับสถานที่นั้น ๆ ด้วยก็จะดี ทำให้งาน มีความสมเหตุสมผลมากขึ้นสรุป เสียงโดยรวมการเลือกเสียงไปกับอารมณ์ของหนังได้ดีระดับหนึ่ง แต่ยังขาดการวางเสียงตามจังหวะสำคัญ ๆ ของหนังอยู่
  2. ระยะเวลาในการใช้ Effects
    ในช่วงที่หนังกำลังจะเข้าซีนข้ามมิติควรมีซีนมารองรับ หรือเพิ่มซีนส่งเพื่อจะเข้าสู่การข้ามมิติ เพื่อให้จังหวะไม่ขาดตอน แล้วก่อนที่จะเข้าซีนข้ามมิติ ควรมีซีนที่ค่อย ๆ ปรากฏ Effects ส่งตัวละครก่อน แล้วเข้าไปที่ซีนข้ามมิติ ระยะเวลาการใช้ Effects สั้นไปและตัดเร็วไปหน่อย ควรมีการไล่ระดับขึ้นลงเพื่อความ Smooth และความเป็นธรรมชาติ จังหวะ Transition จับจังหวะได้ดีกับเสียง Effects
  3. การ Keying การ Composite
    การ Keying Green Screen ตัวละครเคลียร์ดี แต่ปัญหาที่พบ คือ ไม่ได้มีการวางเฟรม หรือดีไซน์ไว้ ทำให้ดูหลอกตาเหมือนภาพตัดแปะ การ Composite ไม่ได้มีการปรับสีตัวละครไปกับสถานที่ต่าง ๆ เช่น ไปที่ซีน ป่า ก็ต้องมีการปรับสี ใส่แสง เลียนแบบบรรยากาศนั้น ๆ ปรับสีให้กลมกลืนให้ดูเสมือนจริงมากที่สุด เป็นต้น
  4. การใช้เทคนิค Composite
    การเลือกใช้เทคนิค Composite นั้น จะต้องคำนึงถึงเนื้อเรื่อง การวางสตอรี่ที่ชัดเจน
    เพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพ การ Design ภาพ การจัดองค์ประกอบ การวางซีนต่อซีน จะต้องมีการรับส่งของภาพที่ดี เพราะเราจะต้องหลอกคนดูให้ได้ว่า มันเสมือนมีอยู่จริง
  5. ความคิดสร้างสรรค์
    โดยรวมมีความตั้งและการเล่าเรื่องได้ดี แต่ยังขาดการวางแผน การ Design การปะติดปะต่อเรื่องราวให้มีความน่าสนใจกว่านี้ แต่มองความตั้งใจดี มีความพยายามที่ดี สามารถพัฒนาได้ควรศึกษาเทคนิคและดูงานเยอะ ๆธราทิพย์ พวงมณี ( สัมภาษณ์ , 29 มิถุนายน 2559 ) เสียงเอฟเฟคตัดเข้าเร็วเกินไป บางครั้งใช้เสียงเอฟเฟคมากเกินไปทำให้ไม่ได้ยินเสียงพูดเรียงลำดับภาพได้ดี การใช้เทคนิคต่าง ๆ ถือว่า พอใช้ได้ในระดับหนึ่งเริ่มเรื่องมาดี แต่ไม่ได้มีเฉลยว่า ทำไมใช้มือถือแล้วถึงทำให้แก่ลง เพราะว่า เรื่องรวบรัดเร็วเกินไป

รับชมผลงาน