The Temperature of the Drying of the Coating Varnish on Polyvinylchloride Stickers with Screen Printing

โดย สุริยา จันทร์สุข

ปี 2558


บทคัดย่อ (Abstract)

การศึกษาอุณหภูมิการทำแห้งของสารเคลือบวานิชบนสติ๊กเกอร์พีวีซีด้วยระบบการพิมพ์สกรีน มีความสำคัญในการพิมพ์สกรีนที่ทำธุรกิจโรงพิมพ์สกรีนหรือศึกษาเพื่อหาความรู้ทางด้านงานพิมพ์สกรีนสติ๊กเกอร์ งานพิมพ์สกรีนที่เคลือบด้วยวานิชมีอยู่มากในปัจจุบัน ดังนั้นจึงทำการทดลองการพิมพ์สกรีนงานพิมพ์ที่เคลือบด้วยสารวานิชเพิ่มความเงา การเคลือบเงานั้นมีอยู่หลายชนิดการเคลือบที่มีคุณภาพขึ้นอยู่กับการทำงานจึงต้องทำการเรียนรู้ให้เกิดผลที่ดีที่สุดในการทำงานเพื่อไม่ให้เกิดปัญหางานเคลือบมีปัญหาเช่น ภาพหลุด มีรอยขีดข่วน การเคลือบเงาช่วยลดปัญหาเหล่านี้ได้จากการทดสอบ จากการทดลองสรุปได้ว่า การพิมพ์ที่ผ่านการอบอุณหภูมิที่องศาที่แตกต่างกันในการอบที่อุณหภูมิ 45 องศา ค่าความแตกต่าง 2.6 เมื่ออบที่อุณหภูมิ 50 องศา พบว่า ค่าเฉลี่ยความแตกต่างสีใกล้เคียงค่าสีแดง ที่ไม่ผ่านการอบความร้อนที่ 3.4 ค่าความมันเงาในการอบความร้อนที่พิมพ์สีแดง+สารเคลือบ มีค่าที่เพิ่มขึ้นจากสีแดง ค่าความเงา 70 เป็น 95-100 ค่าความหนาที่ได้จากการทดลองมีความหนาที่ 0.22 มิลลิเมตร สีแดง แต่เมื่อพิมพ์สีแดง+สารเคลือบ เมื่อนำไปอบความร้อนความหนาของสีและวานิชเพิ่มขึ้น 0.25-0.30 จากการทดลองการอบความร้อนที่อุณหภูมิ 50 และ 55 องศา มีค่าใกล้เคียงกันและคุณภาพงานดีที่สุด


วัตถุประสงค์

เพื่อการศึกษาการแห้งตัวด้วยการอบความร้อนสี+สารเคลือบ องศาที่ดีที่สุดในการอบความร้อน

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. กำหนดควบคุมระยะเวลา ความร้อนในการแห้งตัวสารเคลือบวานิชที่ดีที่สุด
  2. ตรวจสอบคุณภาพสารเคลือบวานิชมีการทนทานต่อแรงขัดถูมากน้อยเพียงใด
  3. ควบคุมการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการเสียหายในการทำงาน
  4. ทราบถึงการพิมพ์และผ่านขบวนการอบความร้อนในระบบที่แตกต่างกัน ผลกระทบงานพิมพ์ออกมาเป็นอย่างไร

ขอบเขตการศึกษา

  1. ใช้สารเคลือบวานิชและสีแดง พิมพ์ลงวัสดุพิมพ์โดยการกำหนดองศาในการอบความร้อนในระดับที่แตกต่างกัน
  2. ทำการพิมพ์ กำหนดองศา ความเร็วเครื่องอบ เพื่อควบคุมคุณภาพ
  3. ตรวจสอบความหนาของภาพพิมพ์
  4. ตรวจสอบความมันเงา
  5. ตรวจสอบคุณภาพ ฟองอากาศ การแห้งตัว ด้วยสายตา

สรุปผลการศึกษา

จากการศึกษา การพิมพ์สติ๊กเกอร์ พีวีซี ด้วยหมึกพิมพ์น้ำมันและพิมพ์สารเคลือบวานิชทับ เมื่อนำไปอบความร้อนควรใช้องศาในการอบความร้อนช่วงไหนดีที่สุด และเกิดผลเสียน้อยที่สุด สรุปได้ว่า การพิมพ์สติ๊กเกอร์พีวีซี ถ้าอบความร้อนที่ 45 องศา ระยะเวลาในการอบ 40 วินาที ทำให้หมึกพิมพ์เกิดการแห้งตัวไม่เต็มที่แห้งตัวไม่สนิททำให้ไม่ผ่านการทดสอบ ปรับมาช่วงที่ 50 องศา ระยะในการอบ 40วินาที ชิ้นงานเกิดการแห้งตัวทันทีหลังอบความร้อนเสร็จชิ้นงานมีสภาพเหมือนตอนก่อนเข้าอบความร้อน ผ่านการทดลอง ทดลองที่ 55 องศาระยะเวลา 35 วินาที หมึกพิมพ์เกิดการแห้งตัวในทันทีและชิ้นงานไม่ผิดปรกติผ่านการทดลอง ทดลองที่ 60 องศาความเร็วในการอบ 35วินาที ชิ้นงานแห้งตัวในทันที ชิ้นงานเกิดการโก่งงอ มีรอยอากาศเกิดขึ้นตามสติ๊กเกอร์ วัสดุพิมพ์เกิดการเสียหาย ทั้งชิ้นงาน ไม่สามารถทำงานพิมพ์สติ๊กเกอร์ พีวีซี ที่ความร้อน ที่ 60องศาได้ การยึดติดและการทดต่อแรงขูดขีด ของวัสดุพิมพ์ พีวีซี มีคุณภาพ ไม่เกิดการเสียหายระหว่างการทดสอบหารยึดติด ไม่เกิดการหลุดลอกออก

จากการวัดค่าการแตกต่างสีระดับการอบความร้อนที่แตกต่างกัน จะส่งผลต่อสีที่ปรากฏในการพิมพ์ที่องศาที่แตกต่างกัน ระดับ 45 องศา ในการอบความร้อน ชิ้นงานไม่แห้งในทันที ผลการวัดค่า ไม่มีความสม่ำเสมอในแผ่นที่1 2 3 จะมีความสว่างมากขึ้น หรือน้อยลง แตกต่างกันไม่ เสมอกัน เมื่อวัดค่าความแตกต่างสี ของ 50 องศา แผ่นที่1 มีความแตกต่างกันอยู่มาก แผ่นที่ 2 และ 3 มีค่าที่ใกล้เคียงกัน ไม่แตกต่างกันมาก เมื่อ ทดสอบการวัดค่าความแตกต่างสีระดับความร้อน 55 องศา ผลปรากฏว่าการให้สีแผ่นที่ 1 และแผ่นที่ 3 มีค่าใกล้เคียงกันไม่ห่างมาก เมื่อทดสอบที่ 60 องศา ชิ้นงานมีความแตกต่างจาก 45-55 องศาเพราะชิ้นงานมีความเปลี่ยนแปลงเกิดจากองศาที่อบและระยะเวลาที่อบความร้อนทำให้วัสดุพิมพ์ เกิดมีรอยพองตัว และผิวหน้าวัสดุพิมพ์เกิดฟองอากาศ ผลสรุปจากการวัดค่าความหนาของชิ้นงาน ที่แตกต่างกันในองศาในการอบความร้อน วัสดุพิมพ์ที่ 45 50 55 องศา มีความหนาที่ไม่ต่างกัน แต่เมื่อ 60 องศาเกิดการเสียหายของวัสดุพิมพ์ทำให้วัสดุพิมพ์เกิดการเสียไม่สามารถใช้งานได้

ผลสรุปการทดลองทั้งหมดสรุปได้ว่า เมื่ออบความร้อนวัสดุพิมพ์พลาสติกประเภท PVC ไม่สามารถพิมพ์ที่ 60 องศาในระยะเวลา 40 วินาที ความเร็วสายพาน 600 วัสดุพิมพ์เกิดการเสียหาย เกิดการโก่งงอ ผิวหน้าวัสดุพิมพ์เกิดฟองอากาศ ด้านหลังวัสดุพิมพ์เกิดการพองตัวเป็นจุด ๆ ทั้งหมด ไม่สามารถใช้งานได้ เมื่อพิมพ์แล้วอบด้วยความร้อน 45 องศา ชิ้นงานพิมพ์เรียบ หมึกพิมพ์ไม่แห้งตัวในทันที ความแตกต่างสีไม่ต่างกันมาก เมื่อพิมพ์ 50-55 องศา ชิ้นงานเรียบ สีพิมพ์แห้ง ค่าสีแตกต่างกันไม่มาก ความหนาไม่ต่างกันมาก สรุปได้ว่า พิมพ์สติ๊กเกอร์ PVC ด้วยความร้อน 50-55 องศา ดีที่สุด เมื่อพิมพ์สีพิมพ์ และสีพิมพ์+สารเคลือบวานิชเฉพาะหน้า

ข้อเสนอแนะ

  1. ควรเปรียบเทียบหลายๆวัสดุพิมพ์ว่าทนความร้อนได้ที่เท่าไรและหมึกพิมพ์จะคงทนต่อความร้อนเท่านั้นไหมและวัสดุพิมพ์จะเกิดการเสียหายหรือผิดรูปหรือไม่
  2. กำหนดหมึกพิมพ์ฐานสกรีนทุกชนิดมาพิมพ์ทุกวัสดุพิมพ์ประเภท วัดความคงทนต่อวัสดุและหมึกว่า ยึดติดได้มากน้อยเท่าไรและมีคุณภาพมากน้อยแค่ไหน