E-learning Quality of Community Development Department Civil Servants: A Case Study of Community Development Offices in 32 Districts in Nakhonratchasima Province

โดย ปุริมปรัชญ์ ญาติกลาง

ปี 2559

บทคัดย่อ

การค้นคว้าอิสระนี้ศึกษาเรื่องคุณภาพการเรียนรู้ผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ของข้าราชการกรมการพัฒนาชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพหลังการเรียนรู้ผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบการเรียนรู้ผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมการพัฒนาชุมชนประชากรที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้เป็น ข้าราชการกรมการพัฒนาชุมชน จำนวน 132 คน สถิติที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Independent Samples t-test และOne-way ANOVA

ผลการประเมินคุณภาพการเรียนรู้ พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.67-4.18ได้แก่ ด้านความง่ายต่อการเรียนรู้การใช้ระบบ ด้านประสิทธิภาพของระบบ ด้านความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบและมีการประเมินคุณภาพในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย 3.29-3.32 ได้แก่ ด้านความสามารถในการจัดการข้อผิดพลาดด้วยตนเอง และด้านความสามารถในการจดจำ การใช้ระบบ

ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า มีปัจจัยส่วนบุคคลในด้านตำแหน่ง และอายุการทำงานมีผลต่อคุณภาพการเรียนรู้ผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่แตกต่างกัน และปัจจัยเกี่ยวกับการทำงานด้านคอมพิวเตอร์ในด้านจำนวนครั้งในการเข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรด้านคอมพิวเตอร์ และจำนวนครั้งในการเข้าเรียนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ต่อสัปดาห์ มีผลต่อคุณภาพการเรียนรู้ผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่แตกต่างกัน ผลจากการศึกษาสามารถนำรูปแบบการเรียนรู้ไปใช้โดยให้แยกตามกลุ่มข้าราชการที่มีประสบการณ์การใช้งานคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างกัน ตลอดจนตำแหน่งและประสบการณ์ที่แตกต่างกัน และมีการสัมภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวกับคุณภาพในแต่ละด้าน

The purpose of this independent study was to examine e-learning quality for a guideline in developing the e-learning system of the Community Development Department. The samples consisted of 132 civil servants from the Community Development Department. Statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, the Independent Samples t-test, and One-way ANOVA.

The learning quality evaluation results revealed that they were mostly at a high level witha mean range of 3.67-4.18. Those aspects were system application easiness, system effectiveness, and users’ satisfaction. The learning quality evaluation was at a medium level with a mean range of 3.29-3.32. The aspects were error self-management and system application memorization.

The hypothesis test results showed that the personal factors of the job position and thejob duration affected the e-learning quality differently. The computer work factors of the number of attending a computer training and the weekly attendance for the e-learning affected the e-learning differently. The results were later applied by separating civil servants with different computer experience including the job position and duration. The in-depth interview about the quality of each aspect were also applied.

Download : E-learning Quality of Community Development Department Civil Servants: A Case Study of Community Development Offices in 32 Districts in Nakhonratchasima Province