Earnings Quality of Listed Companies in the Stock Exchange of Thailand in Property and Construction Industry Group

โดย สุดารัตน์ แจ้งใจดี

ปี 2559

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณภาพกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างโดยใช้ระดับรายการคงค้างที่อยู่ในดุลยพินิจของผู้บริหาร เป็นตัวแทนของคุณภาพกำไร ตามแบบจำลอง Modified Jones (1991) 2) เปรียบเทียบคุณภาพกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างก่อนและหลังปี พ.ศ. 2555 และ 3) เปรียบเทียบคุณภาพกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง ในแต่ละหมวดธุรกิจ ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

กลุ่มตัวอย่างที่นำมาศึกษาคือบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 – พ.ศ. 2557 จำนวน 89 บริษัท โดยเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากรายงานทางการเงินของบริษัทในฐานข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ออนไลน์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ Dependent Sample t-test และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

ผลการศึกษาพบว่า ระดับรายการคงค้างที่อยู่ในดุลยพินิจของผู้บริหาร มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงข้ามกับคุณภาพกำไรและปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพกำไรมากที่สุดคือการเปลี่ยนแปลงของรายได้ซึ่งตรงตามแนวคิดของ Modified Jones (1991) และคุณภาพกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างก่อนและหลังปี พ.ศ. 2555แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เนื่องมาจากการปรับปรุงมาตรฐานการบัญชีในปี พ.ศ. 2552 ซึ่งมีผลบังคับใช้สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มต้นในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 และพบว่าคุณภาพกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างในแต่ละหมวดธุรกิจ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

This study aimed to 1) examine the earnings quality of listed companies in property and construction industry group in the Stock Exchange of Thailand by using levels of the discretionary accruals as the representative of earnings quality which was based on Modified Jones Model (1991), 2) compare the earnings quality of the listed companies before and after the year 2012, and 3) compare the earnings quality of the listed companies according to their particular business sectors.

The samples of this study were 89 companies listed in property and construction industry group in the Stock Exchange of Thailand from 2010 to 2014. The secondary data were collected through each company’s financial statement report on the database of the Stock Exchange of Thailand. Descriptive statistics were used to analyzed the data collected and inferential statistics including Dependent Sample t- test and Multiple Linear Regression Analysis were used to test the hypotheses at the statistical significance level of 0.05.

The results showed that levels of discretionary accruals of the companies in the property and construction industry group had negative correlation with the earnings quality, and the factor that mostly affected the earnings quality was the change in revenue. This revealed directly support to the Modified Jones Model (1991). In addition, their earnings quality before and after the year 2012 had statistically significant difference. The primary reason was the amendments of accounting standards in 2009 for putting emphasis on the effectiveness of the accounting periods which started on or after January 1, 2011. However, the earnings quality in particular business sectors did not have any statistically significant difference at the level of 0.05.

Download : Earnings Quality of Listed Companies in the Stock Exchange of Thailand in Property and Construction Industry Group