Relationship of Courageous Followership, Organizational Citizenship Behavior and Employee Efficiency

โดย นิตยา แหยมเจริญ

ปี 2559

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนบุคคลของพนักงานที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานที่ดีของพนักงาน 2) รูปแบบภาวะผู้ตามที่กล้าหาญของพนักงานพฤติกรรมการในเป็นสมาชิกที่ดีของพนักงานต่อองค์กร และประสิทธิภาพการปฏิบัติงานที่ดีของพนักงาน 3) ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบภาวะผู้ตามที่มีความกล้าหาญของพนักงานกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงาน และ 4) ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการในเป็นสมาชิกที่ดีของพนักงานกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงาน กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ คือพนักงานธนาคารธนชาติ จำกัด (มหาชน) อาคารสำนักงานกรุงเทพมหานคร จำนวน 345 คน สถิติที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 25-33 ปี สถานภาพแต่งงานระดับการศึกษาปริญญาตรี อายุการทำงาน 6-10 ปี ซึ่งเป็นพนักงานในระดับปฏิบัติการผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานจำแนกตามเพศระดับการศึกษา สถานภาพสมรส และตำแหน่งงาน ไม่แตกต่างกัน ยกเว้นประสิทธิภาพของพนักงานจำแนกตามอายุ และอายุการทำงานแตกต่างกัน นอกจากนี้พบว่ารูปแบบภาวะผู้ตามที่มีความกล้าหาญมีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงาน และพฤติกรรมในการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การมีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงาน

The purpose of this study was to investigate 1) the personal factors of employees affecting their efficiency 2) the courageous followership, organizational citizenship behavior and employee efficiency 3) the relationships between courageous followership and employee efficiency and 4) the relationships between organizational citizenship behavior and employee efficiency. The samples used in this study were 345 employees of Thana chart Bank Public Company Limited, working at the office building in Bangkok. The statistics used in this study were percentage, mean and standard deviation. The hypothesis testing was analyzed by t-test, one-way ANOVA and Pearson’s product moment correlation coefficient. The study result found that most samples were married females, 25-33 years old with the bachelor’s degree and with 6-10 years of working period who work at the operational level. The hypothesis testing found that there were no differences of the level of employee efficiency categorized by sex, educational level, marital status and work position, except the level of employee efficiency categorized by age and working period. The courageous followership had positive relationships with employee efficiency and organizational citizenship behavior had positive relationship with employee efficiency.

Download : Relationship of Courageous Followership, Organizational Citizenship Behavior and Employee Efficiency