The study of students’ learning achievement through different enrollment methods of faculty of Architecture, Rajamangala university of technology Thanyaburi
โดย บุญสิตา ทองสุข
ปี 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิธีการรับเข้าศึกษาของนักศึกษาระบบโควตา ระบบสอบตรง และระบบกลาง Admission ปีการศึกษา 2559 ของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ 2) ศึกษาผลการเรียนของนักศึกษาระบบโควตา ระบบสอบตรง และระบบกลาง Admission ปีการศึกษา 2559 ของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ 3) เปรียบเทียบผลการเรียนของนักศึกษาที่รับเข้าศึกษาทุกระบบปีการศึกษา 2559 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ประชากรเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่ผ่านการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ของปีการศึกษา 2559 ได้แก่ สาขาวิชาสถาปัตยกรรม และสาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน ทั้งหมดจำนวน 133 คน โดยการเก็บข้อมูลจากค่าระดับคะแนนแต่ละรายวิชา และข้อมูลผลการเฉลี่ยสะสมของนักศึกษาแต่ละคน ในปีการศึกษา 2559 และนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้โปรแกรมทางคอมพิวเตอร์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รวมทั้งการใช้แบบสอบถามเพื่อศึกษาลักษณะการเข้าศึกษาของนักศึกและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ที่อาจส่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้กับนักศึกษา ได้ว่ามีความพึงพอใจมากน้อยเพียงใด
ผลการวิจัยพบว่า การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของที่รับเข้าศึกษาโดยวิธีที่ต่างกัน ทั้ง 3 วิธี ระหว่างระบบโควตา ระบบสอบตรง และระบบกลาง Admission ด้วยโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์ เนื่องจากการเข้าศึกษาที่แตกต่างกันและความสนใจในรายวิชาที่แตกต่างกัน พบว่านักศึกษาสาขาวิชาสถาปัตยกรรม มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 และสาขาสถาปัตยกรรมภายใน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่มีผลนำไปสู่ความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ กล่าวคือ ผลการเรียนมีความแตกต่างกันไม่ว่าจะเปรียบเทียบในสาขาเดียวกันหรือประเภทการรับเข้าศึกษาในภาพรวมของคณะ นักศึกในระบบกลาง Admissions มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมากที่สุดซึ่งแตกต่างจากประเภทอื่นอย่างชัดเจน