Development of printed media with augmented reality technology for corporate communication for Rajamangala University of Technology Thanyaburi.

โดย ณัฐชา กีรติกำจร

ปี 2559

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาสื่อสิ่งพิมพ์ด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมเพื่อการสื่อสารองค์กร 2) เพื่อประเมินคุณภาพสื่อสิ่งพิมพ์ด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมเพื่อการสื่อสารองค์กร 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจสื่อสิ่งพิมพ์ด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมเพื่อการสื่อสารองค์กร 4) เพื่อศึกษาการยอมรับสื่อสิ่งพิมพ์ด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมเพื่อการสื่อสารองค์กรสำหรับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญในการประเมินคุณภาพสื่อจำนวนรวม 10 ท่าน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาความพึงพอใจ และ ศึกษาการยอมรับ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2559 ซึ่งคำนวณขนาดของตัวอย่าง จากสูตรของ Taro Yamane ที่ระดับความเชื่อมั่นที่ 0.05 คำนวณได้ 392 ตัวอย่าง และสำรองเผื่อความคลาดเคลื่อนไว้ 8 ตัวอย่าง จะได้เท่ากับ 400 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบประเมินคุณภาพสื่อ แบบสอบถามความพึงพอใจ และแบบสอบถามการยอมรับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการประเมินคุณภาพสื่อ ด้านเนื้อหาในภาพรวมอยู่ในระดับดี ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและด้านสื่อในภาพรวมอยู่ในระดับดี 2) ความพึงพอใจสื่อสิ่งพิมพ์ด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมเพื่อการสื่อสารองค์กรโดยรวมอยู่ในระดับมาก และ 3) การยอมรับสื่อสิ่งพิมพ์ด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมเพื่อการสื่อสารองค์กรสำหรับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีโดยรวมอยู่ในระดับมาก

Download: การพัฒนาสื่อสิ่งพิมพ์ด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมเพื่อการสื่อสารองค์กรสำหรับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี