Music Video Production by Stop Motion Technique

จัดทำโดย รัชนาพร ธนะนิมิตร และประภาพร พงษ์สุวรรณ

ปีการศึกษา 2554


บทคัดย่อ (Abstract )

ปริญญานิพนธ์เล่มนี้มีจุดประสงค์ เพื่อศึกษาการผลิตมิวสิควีดีโอ โดยการใช้เทคนิค STOP MOTION เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวผ่านทางตัวละครที่เป็นดินนามันและฉากที่เปลี่ยนไปตามเนื้อเรื่อง

การศึกษาครั้งนี้ได้ผลิตมิวสิควีดีโอเพลงเธอคือของขวัญ โดยการถ่ายทำด้วยกล้อง Nikon D 80 เพื่อทดลองฉายให้กลุ่มตัวอย่างดูทั้งหมด 3 กลุ่ม ทำการประเมินผลเกี่ยวกับการแสดงความคิดเห็น ที่ได้รับชมมิวสิควีดีโอเพลงเธอคือของขวัญ โดยการใช้เทคนิค Stop Motion ในมิวสิควิดีโอแก่ผู้ชม พร้อมกับวิเคราะห์ร่วมกับแนวทฤษฏีที่ได้ใช้ในการศึกษาเพื่ออภิปรายและสรุปผลในการศึกษาและสรุปผลด้วยค่าสถิติแบบหาค่าเฉลี่ยร้อยละ และค่ากลางเลขคณิต (Mean)

ผลการศึกษาพบว่า การผลิตมิวสิควีดีโอโดยการใช้เทคนิค Stop Motion ในมิวสิควิดีโอเพื่อ สื่อความหมายที่สัมพันธ์กับเนื้อหานั้น สามารถสื่อความหมายได้เป็นอย่างดี มีความคิดสร้างสรรค์ใน การน้าเสนอ ถ้ามีโอกาสในการท้าครั้งต่อไป ควรค้านวณให้ชัดเจนมากขึ้น การจัดองค์ประกอบภาพ เน้นให้ตรงกับการสื่อความหมายของเพลง ไม่ว่าจะเป็นขนาดภาพแบบใด เอามาใช้เพื่อเพิ่มเติมความ น่าสนใจในมิวสิควิดีโอ กลุ่มผู้ชมมีความรู้และความเข้าใจในมิวสิควิดีโอ


วัตถุประสงค์ของการศึกษา

  1. เพื่อผลิตมิวสิควิดีโอโดยใช้การใช้เทคนิค Stop Motion
  2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชนและบุคคลทั่วไป มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีที่มีต่อมิวสิควิดีโอ

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ได้มิวสิควิดีโอ เพลง “เธอคือของขวัญ” ศิลปิน สิงโต นำโชค โดยการใช้เทคนิค Stop Motion
  2. ได้แนวทางความคิดของการใช้เทคนิค Stop Motion

ขอบเขตในการศึกษา

การศึกษาครั้งนี้เป็นการผลิตมิวสิควิดีโอโดยการใช้เทคนิค Stop Motion โดยผ่านเรื่องราวมิวสิควิดีโอเพลง “เธอคือของขวัญ” ศิลปิน “สิงโตนำโชค” ความยาว 3 นาที 37 วินาที โดยใช้วัสดุดินน้ำมันปั้นเป็นตัวนักแสดง และใช้ฉากจำลอง ถ่ายทำโดยใช้กล้อง Nikon D80 ลำดับภาพ แล้วตัด ต่อภาพใส่เอฟเฟคท์ และเสียงบนคอมพิวเตอร์ PC ระบบปฏิบัติการ Windows 7 แล้วบันทึกลงใน แผ่น DVD จากนั้นนำมาทดสอบเพื่อประมวลผลโดยมีจำนวน 33 คน โดยแบ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน 3 คน นักศึกษาคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน สาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย จำนวน 20 คน และกลุ่มทั่วไปจำนวน 10 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ


สรุปผลการศึกษา/ข้อเสนอแนะ

การศึกษาการผลิตมิวสิควีดีโอ โดยการใช้เทคนิค Stop Motion ซึ่งงานที่ศึกษาในครั้งนี้ จะเป็นการผลิตมิวสิควีดีโอเพลง “เธอคือของขวัญ” การผลิตมิวสิควีดีโอโดยใช้เทคนิค Stop Motion โดยการทำแบบประเมินแบบสอบถามกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 30 คน และผู้เชี่ยวชาญทางด้าน Editor 1 คน ด้าน Graphic 1 คน และด้านการดำเนินภาพ อีก 1 คน รวมจำนวน 3 คนหลังจากที่ได้เข้าชมมิวสิควีดีโอเพลง “เธอคือของขวัญ” ซึ่งสามารถสรุปผลการศึกษาดังนี้

ในการดำเนินการวิจัยจะสอบถามจากลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญจากบุคคลทั่วไป จำนวน 30 คน และทำการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน ดังนี้

  1. คุณวันชัย แก้วดี ผู้เชี่ยวชาญด้าน Editor
  2. คุณวิษณุพร อรุณลักษณ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการดำเนินภาพ
  3. คุณมนูญ คุณโอษฐ์ ผู้เชี่ยวชาญด้าน Graphic

สรุปผลการศึกษา

จากการประเมินกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ 30 คน มีเพศหญิง 12 คน และเพศชาย 18 คน ซึ่งจำนวนที่ประเมินไม่ได้แตกต่างกันมาก

จากการประเมินกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ 30 คน มีกลุ่มอายุ 19 ปี จำนวน 12 คน อายุ 20 ปี 12 คน และอายุ 21 ปี จำนวน 6 คน พฤติกรรมการตอบสนองต่อการติดต่อสื่อสารจากการสำรวจข้อมูลกลุ่มผู้ที่มีอายุไม่แตกต่างกัน

จากการประเมินกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ 30 คน มีกลุ่มระดับปริญญาตรี จำนวน 30 คน

จากการประเมินกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ 30 คน โดยมีคณะสื่อสารมวลชน 20 คน คณะศิลปกรรมศาสตร์ 4 คน และคณะอื่น ๆ อีก 6 คน

จากกลุ่มเป้าหมายจำนวน 30 คนได้ผลประเมินดังต่อไปนี้

  1. ด้านเนื้อเรื่องสามารถเข้าใจได้ง่าย พบว่า กลุ่มเป้าหมายที่ทำการสำรวจ ร้อยละ 73.30 มี ความเห็นว่า เนื้อเรื่องสามารถเข้าใจได้ง่ายของผู้ชมอยู่ในเกณฑ์มาก (3.87) ซึ่งอยู่ในระดับความคิดเห็น “มาก” ซึ่งตรงกับแนวความคิดของ ชิษณุชา คงไว้ลาภ, (2547: 29) ได้กล่าวว่า มิวสิควิดีโอจะต้องสามารถสร้างความสนใจหรือกระตุ้นเร้าให้ผู้ชมมีส่วนร่วมมีอารมณ์คล้อยตามอย่างมีแนวทางและรูปแบบ เสริมอารมณ์ให้กับเพลงและสามารถสร้างอิทธิพลต่อคนดูได้ โดยต้องคำนึงผู้ชมแต่ละคน แต่ละครอบครัวพร้อม ๆ กัน
  2. ด้านการถ่ายทอดความหมายของมิวสิควีดีโอ พบว่า กลุ่มเป้าหมายที่ทำการสำรวจ ร้อยละ 60 มีความเห็นด้านการถ่ายทอดความหมายของมิวสิควีดีโออยู่ในเกณฑ์มาก (3.73) ซึ่งอยู่ในระดับความคิดเห็น “มาก” ซึ่งตรงกับแนวความคิดของ อมรรัตน์ ทิพย์เลิศ,(2004: 444 – 447) อ้างถึงใน Human.lru.ac.th, Website, 2008 ได้กล่าวว่า มิวสิควิดีโอจะมีอารมณ์ทางดนตรี คำและภาพ ผสมผสานกันก่อให้เกิดอารมณ์ความคุ้นเคย ความรัก และความอิสระ มีการบอกโครงเรื่องเล่าที่มีขอบเขตของเวลาที่เกิดขึ้นในเรื่องอย่างชัดเจน มีการใช้จินตนาการและการบรรยายเหตุการณ์ในอดีต ประกอบเพลง คำว่า มิวสิควิดีโอ
  3. ด้านเนื้อเรื่องสามารถดึงดูดความสนใจ พบว่า กลุ่มเป้าหมายที่ทำการสำรวจ ร้อยละ 83.30 มีความเห็นด้านเนื้อเรื่องสามารถดึงดูดความสนใจอยู่ในเกณฑ์ (3.90) ซึ่งอยู่ในระดับความคิดเห็นมาก ซึ่งตรงกับแนวความคิดของ ชิษณุชา คงไว้ลาภ, (2547: 29) กล่าวว่า จากความหมายและความสำคัญของมิวสิควิดีโอทำให้มองเห็นภาพที่แท้จริงของมิวสิควิดีโอจะต้องสร้างเนื้อเรื่องที่สามารถ ดึงดูดความสนใจ หรือกระตุ้นเร้าให้ผู้ชมมีส่วนร่วม มีอารมณ์คล้อยตามอย่างมีแนวทางและรูปแบบ เสริมอารมณ์ให้กับเพลง และสามารถสร้างอิทธิพลต่อคนดูได้ โดยต้องคำนึงถึงผู้ชมแต่ละคน แต่ละ ครอบครัวพร้อม ๆ กันไปเป็นจำนวนมาก
  4. ด้านเนื้อเพลงมีความเหมาะสมกับเทคนิคการย้อมสีภาพ พบว่า กลุ่มเป้าหมายที่ทำการ สำรวจ ร้อยละ 80 มีความเห็นเนื้อเพลงมีความเหมาะสมกับเทคนิค การย้อมสีภาพอยู่ในเกณฑ์ มาก (4.00) ซึ่งอยู่ในระดับความคิดเห็นมาก ซึ่งตรงกับแนวความคิดของ ประวิทย์ แต่งอักษร, (2542 : 51) กล่าวว่า สี เป็นองค์ประกอบที่ทำงานในระดับจิตใต้สำนึกของผู้ชม โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวโยงกับการชักจูงอารมณ์ (Emotional) และแต่งแต้มบรรยากาศ (Atmospheric) มากกว่าเพื่อทีจะใช้บอกความคิดหรือสื่อความหมายในเชิงสัญูลักษณ์เพื่อการตีความ นักจิตวิทยาพบว่า คนส่วนใหญ่มักจะพยายามตีความเส้นสายองค์ประกอบภาพในเชิงรุก (Active) แต่พวกเขากลับยอมรับสีที่ปรากฏให้เห็นในเชิงรับ (Passive) ยินยอมให้มันเป็นตัวกำหนดอารมณ์มากกว่าจะบอกถึงรูปทรงของวัตถุ ถ้าหากจะเปรียบการใช้เส้นสายในภาพเป็นเหมือนกับคำนาม สีก็เป็นคุณศัพท์ที่คอยทำหน้าที่ขยายอารมณ์ของคำถามนั้น ๆ ทั้งเส้นและสีบอกความหมายแต่ด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตามในการค้นหาความหมายของสี ผู้ชมจำเป็นต้องนำไปพิจารณาร่วมกับองค์ประกอบอื่น ๆ มากกว่าจะเป็นการตีความการใช้สีนั้น ๆ แต่เพียงลำพัง
  5. ด้านความต่อเนื่องมิวสิควีดีโอ พบว่า กลุ่มเป้าหมายที่ทำการสำรวจ ร้อยละ 80 มีความเห็นด้านความต่อเนื่องของมิวสิควีดีโอ อยู่ในเกณฑ์ (3.87) ซึ่งอยู่ในระดับความคิดเห็นมาก ซึ่งตรงกับแนวความคิดของ นิอร รัตนาวรรณสิทธิ์, (2547: 7) ได้กล่าวว่า การจะผลิต มิวสิควิดีโอแต่ละเพลงนั้นจะต้องมีการวางแผนวางคอนเซ็ปต์และความต่อเนื่องของมิวสิควิดีโออย่างละเอียดรอบคอบเพราะมิวสิควิดีโอนั้นมีความสำคัญอย่างมากต่อวงการเพลง ไม่ได้ผลิตขึ้นให้ดูเพื่อความเพลิดเพลินหรือเพื่อให้คนดูได้รู้จักหน้าตาท่าทางของศิลปินเท่านั้นแต่ยังมีบทบาทสำคัญในด้านอื่น ๆ อีกด้วย
  6. ด้านเนื้อหาของมิวสิควีดีโอ พบว่า กลุ่มเป้าหมายที่ทำการสำรวจ ร้อยละ 86.70 มีความเห็นด้านเนื้อหาของมิวสิควีดีโออยู่ในเกณฑ์ “มาก” (3.87) ซึ่งอยู่ในระดับความคิดเห็นมาก ซึ่งตรงกับแนวความคิดของ ชิษณุชา คงไว้ลาภ, (2547: 29) กล่าวว่า จากความหมายและความสำคัญของมิวสิควิดีโอทำให้มองเห็นภาพที่แท้จริงของมิวสิควิดีโอว่า เนื้อหาในมิวสิควิดีโอควรจะเสนอในแนวทางความคิดสร้างสรรค์ที่เป็นศิลปะ อาจจะมีความหมายที่เหมือนหรือเป็นไปอีกด้านหนึ่ง ของเนื้อเพลงก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของบทเพลงและปัจจัยต่าง ๆ อาจใช้การนำเสนอที่แปลกใหม่ไม่ซ้ำแบบใครเพื่อดึงดูดความสนใจหรือสร้างความประทับใจแก่ผู้ชม
  7. ด้านการลำดับภาพ พบว่า กลุ่มเป้าหมายที่ทำการสำรวจ ร้อยละ 76.70 อยู่ในเกณฑ์ “มาก” (3.83) ซึ่งอยู่ในระดับความคิดเห็นมาก ซึ่งตรงกับ Kapook Website, 2008 กล่าวว่า มิวสิควิดีโอ คือ ความต่อเนื่องด้วยภาพเคลื่อนไหวมีเรื่องราวเป็นสีสันส่วนเติมเต็มช่วยให้เข้าใจเนื้อหาของเพลงนั้น ๆ ได้มากขึ้น โดยมีค่าเฉลี่ยรวมของการประเมิน ดังต่อไปนี้ ค่ากลางเลขคณิต (X) ได้ 3.90 ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน (S.D) ได้ 0.182 และมีระดับความคิดเห็นอยู่ในเกณฑ์ “มาก”

ข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญ

เลือกใช้ฉากได้เหมาะสมแต่ยังดูแบ่งแยกกันอยู่ระหว่างกระดาษสีกับดินน้ำมัน ลืมนึกถึงในการนำกระดาษสีและดินน้ำมันมาผสมกันให้อยู่ในฉากเดียวกันและยังสามารถนำดินน้ำมันมาใช้ในการนำเสนอชื่อเรื่องและปิดท้ายเรื่องให้ดูมีสีสันและเป็น concept เดียวกัน การเลือกใช้สีฉากแนะนำในฉากกลางคืนให้เปลี่ยนจากสีดำให้เป็นสีน้ำเงิน เป็นต้น เพื่อให้ดูไม่หดหู่เกินไป ในเรื่องของ Graphic ที่นำมาใช้นั้นเลือกได้เหมาะสมกับระยะเวลาและฉากของมิวสิควิดีโอที่ต้องการสื่อ Graphic ออกมา ในการถ่ายภาพที่เข้าใกล้ฉากให้ระวังในเรื่องของเงา แต่มีอยู่ส่วนน้อยของงานมิวสิควิดีโอนี้ และองค์ประกอบในฉากบางฉากที่ยังดูโล่งเกินไป ความคิดสร้างสรรค์ในการนำเสนอดี แต่เรื่องเฟรมในการขยับยังน้อยอยู่ ถ้ามีโอกาสในการทำครั้งต่อไป ควรคำนวณให้ชัดเจนให้ดีกว่านี้


รับชมผลงาน