The rich man animation cartoon for raise goodness, unity and kindness

จัดทำโดย พลอยเพชร กำเหนิดเพชร และ เพ็ญนภา น้อยสอาด

ปีการศึกษา 2552


บทคัดย่อ (Abstract)

ปริญญานิพนธ์ฉบับนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการสร้างภาพยนตร์การ์ตูนแอนิเมชั่น เรื่อง “ลูกชายเศรษฐี” เพื่อส่งเสริมคุณธรรมด้านความสามัคคีและความมีน้ำใจ ความยาว 11 นาที มีวิธีการดำเนินงานดังนี้ กำหนดวัตถุประสงค์ของงาน เขียนโครงเรื่อง ออกแบบตัวละครและฉาก โดยมีแนวคิดในการสร้างชิ้นงานมาจากการเล่านิทานคติสอนใจ ซึ่งถือว่าเป็นการสื่อสารที่เข้าใจได้อย่างรวดเร็วและเผยแพร่ได้ง่ายเข้าถึงทุกเพศทุกวัย จากนั้นนำมาดำเนินการผลิตบนคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรมสร้างภาพเคลื่อนไหว ในการสร้างตัวละครและองค์ประกอบต่าง ๆ รวมถึงกำหนดบทบาทการเคลื่อนไหวให้กับตัวละครด้วยจากนั้นนำมาตัดต่อภาพและเสียงบันทึกลงแผ่นดีวีดี นำไปทดสอบเพื่อประเมินผลกับกลุ่มตัวอย่างโดยมีการสุ่มแบบบังเอิญไม่เจาะจงโดยเลือกจากชั้นประถมศึกษาปีที่ 4, 5 และ6 ที่มีอายุระหว่าง 8-12 ปี โรงเรียนวัดหนองพันท้าว จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 30 คน และทดสอบกับผู้เชี่ยวชาญ 2 ด้าน คือ ด้านการผลิตสื่อและด้านเทคนิคการสร้างการ์ตูนแอนิเมชั่นจากนั้นนำมาสรุปผล

จากผลการศึกษาสรุปได้ว่า การสร้างภาพยนตร์การ์ตูนแอนิเมชั่น เรื่อง “ลูกชายเศรษฐี” เพื่อส่งเสริม คุณธรรมด้านความสามัคคีและความมีน้ำใจ ประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ เนื่องจากสามารถทำให้ผู้ชมเกิดความสนใจและเข้าใจในเรื่องราวได้ การออกแบบตัวละคร และองค์ประกอบต่าง ๆ มีความเหมาะสม การดำเนินเรื่องมีความต่อเนื่อง สามารถสื่อให้ผู้ชมเข้าใจถึงความสามัคคี ความมีน้ำใจ และสามารถนำไปปฏิบัติในชีวิตจริงได้


วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างภาพยนตร์การ์ตูนแอนิเมชั่นเรื่อง “ลูกชายเศรษฐี” เพื่อส่งเสริมคุณธรรมด้านความสามัคคีและความมีน้ำใจ

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ได้สื่อเพื่อปลูกจิตสำนึกของคนไทยให้เกิดความสามัคคีและความมีน้ำใจต่อกัน
  2. ได้สื่อเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคุณธรรมด้านความสามัคคีและความมีน้ำใจ

ขอบเขตการดำเนินงาน

การสร้างภาพยนตร์การ์ตูนแอนิเมชั่น เรื่อง “ลูกชายเศรษฐี” เพื่อส่งเสริมคุณธรรมด้านความสามัคคีและความมีน้ำใจ ความยาว 11 นาที มีวิธีการดำเนินงานดังนี้ กำหนดวัตถุประสงค์ของงาน เขียนโครงเรื่อง ออกแบบตัวละครและฉาก โดยมีแนวคิดในการสร้างชิ้นงานมาจากการเล่านิทานคติสอนใจ ซึ่งถือว่าเป็นการสื่อสารที่เข้าใจได้อย่างรวดเร็วและเผยแพร่ได้ง่ายเข้าถึงทุกเพศทุกวัย จากนั้นนำมาดำเนินการผลิตบนคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรมสร้างภาพเคลื่อนไหว ในการสร้างตัวละครและองค์ประกอบต่าง ๆ รวมถึงกำหนดบทบาทการเคลื่อนไหวให้กับตัวละครด้วยจากนั้นนำมาตัดต่อภาพและเสียงบันทึกลงแผ่นดีวีดี นำไปทดสอบเพื่อประเมินผลกับกลุ่มตัวอย่างโดยมีการสุ่มแบบบังเอิญไม่เจาะจงโดยเลือกจากชั้นประถมศึกษาปีที่ 4, 5 และ6 ที่มีอายุระหว่าง 8-12 ปี โรงเรียนวัดหนองพันท้าว จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 30 คน และทดสอบกับผู้เชี่ยวชาญ 2 ด้าน คือ ด้านการผลิตสื่อ และด้านเทคนิคการสร้างการ์ตูนแอนิเมชั่น จากนั้นนำมาสรุปผล

ขั้นตอนการดำเนินงาน

  1. กำหนดเนื้อหาและขอบเขตของงาน
  2. ศึกษาและรวบรวมข้อมูล
  3. ออกแบบโครงเรื่อง
  4. ออกแบบตัวละคร
  5. ออกแบบฉาก
  6. เขียน Shooting Script
  7. เขียน Story Board
  8. สร้างพร้อมลงสีตัวละครและฉาก
  9. สร้างการเคลื่อนไหวให้ตัวละคร
  10. พากย์เสียงและตัดต่อ
  11. ประมวลผลและบันทึกลงดีวีดี-รอม
  12. สรุปและประเมินผล

สรุปผลการศึกษา

จากการศึกษาสรุปได้ว่า การสร้างภาพยนตร์การ์ตูนแอนิเมชั่นเรื่อง “ลูกชายเศรษฐี” เพื่อส่งเสริมคุณธรรมด้านความสามัคคีและมีน้ำใจ ประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ เนื่องจากสามารถทำให้ผู้ชมเกิดความสนใจและเข้าใจในเรื่องราวได้ การออกแบบตัวละคร และองค์ประกอบต่าง ๆ มีความเหมาะสม การดำเนินเรื่องมีความต่อเนื่อง สามารถสื่อให้ผู้ชมเข้าใจถึงความสามัคคีและความมีน้ำใจ และสามารถนำไปปฏิบัติในชีวิตจริง จากการศึกษาและจัดทำปริญญานิพนธ์ เรื่อง การสร้างภาพยนตร์การ์ตูนแอนิเมชั่นเรื่อง “ลูกชายเศรษฐี” เพื่อส่งเสริมคุณธรรมด้านความสามัคคีและมีน้ำใจทำให้ผู้จัดทำได้เรียนรู้ถึงกระบวนการผลิตการ์ตูนแอนิเมชั่น และทำให้เรียนรู้ถึงแนวคิดและทฤษฎีต่าง ๆ เช่น แนวคิดในการออกแบบตัวละคร ฉาก และองค์ประกอบอื่น ๆ ที่เป็นองค์ประกอบของแอนิเมชั่น สามารถนำความรู้และหลักการทำงานที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการทำงานด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้

อภิปรายผลการศึกษาความคิดเห็นที่ได้จากกลุ่มเป้าหมาย

จากผลการศึกษาสามารถสรุปได้ว่า กลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่ เมื่อได้รับชมภาพยนตร์การ์ตูนแอนิเมชั่น เรื่อง“ลูกชายเศรษฐี” เพื่อส่งเสริมคุณธรรมด้านความสามัคคีและมีน้ำใจ แล้วสามารถเข้าใจถึงความหมายของความสามัคคีและความมีน้ำใจ เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าใจการดำเนินเรื่องของตัวละครและการทำกิจกรรมต่าง ๆของตัวละคร การใช้สีมีความเหมาะสมและสามารถดึงดูดความสนใจของผู้ชมได้ การวางลำดับเรื่องราวมีความต่อเนื่อง เข้าใจง่าย เนื้อหาชัดเจน และผู้ชมจะสามารถนำสิ่งที่ได้จากภาพยนตร์การ์ตูนแอนิเมชั่นเรื่องนี้ ไปใช้ในชีวิตจริงได้

อภิปรายผลการศึกษาความคิดเห็นที่ได้จากผู้เชี่ยวชาญ

  1. ด้านการผลิตสื่อ
    จากการวิเคราะห์ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญทางด้านการผลิตสื่อ พบว่า มีความคิดเห็นในทางบวก และมีความสอดคล้องกัน จึงสามารถสรุปได้ว่า สื่อแอนิเมชั่นเรื่องนี้เป็นสื่อที่ดีการเลือกใช้สื่อแอนิเมชั่นมาใช้ในการนำเสนอ เรื่องการส่งเสริมคุณธรรมด้านความสามัคคีและความมีน้ำใจ มีความเหมาะสมมาก และสื่อการ์ตูนแอนิเมชั่น เรื่องนี้มีความเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย สามารถทำให้ผู้ชมเกิดความเพลิดเพลินและได้รับความรู้ไปในตัว เพราะเนื้อหาจัดทำมาได้ดี เข้าใจง่าย ทำให้เกิดการจดจำไปปฏิบัติตามได้
  2. ด้านเทคนิคการผลิตการ์ตูนแอนิเมชั่น
    จากการวิเคราะห์ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคนิคการผลิตการ์ตูนแอนิเมชั่น พบว่า มีความคิดเห็นในระดับปานกลาง จึงสามารถสรุปได้ว่า การ์ตูนแอนิเมชั่นเรื่องนี้ มีการลำดับภาพได้ดี ชัดเจน เทคนิคและการนำเสนอภาพมีความน่าสนใจดี การใช้ภาพมีความสอดคล้องกับเนื้อหาเหมาะสมกับเด็กในช่วงอายุ 8 – 12 ปี ควรซูมภาพเข้าหรือซูมภาพออกให้มากยิ่งขึ้นเพื่อที่จะทำให้ภาพดูน่าสนใจ และดูราบรื่นกว่าเดิม ควรมีเสียงบรรยากาศ

ข้อเสนอแนะ

  1. การเคลื่อนไหวของตัวละครบางช่วงยังไม่ค่อยเหมือนจริงและไม่ต่อเนื่องเพิ่มจังหวะการ
    เคลื่อนไหวให้มากขึ้นเพื่อทำให้ตัวละครมีความต่อเนื่อง
  2. การเน้นการพูดและการกระพริบตาของตัวละครมากเกินไปควรมีการขยับแขนและขาบ้างเพื่อความสมจริง
  3. ตัวละครควรมีการแสดงสีหน้าและอารมณ์ให้มากขึ้น จะช่วยทำให้ผู้ชมสามารถเข้าถึง
    อารมณ์และบทบาทของตัวละครได้
  4. ควรซูมภาพเข้าหรือซูมภาพออกให้มากยิ่งขึ้นเพื่อที่จะทำให้ภาพดูน่าสนใจ และดูราบรื่นกว่าเดิม
  5. การบรรยายเสียงควรเพิ่มอารมณ์ให้สมจริงมากกว่านี้
  6. เรื่องการใช้สีควรศึกษาจากกลุ่มเป้าหมายว่ามีความต้องการแบบใด

รับชมผลงาน