Television Documentary Production By Using The Techniques of Colour Grading, Hyperlapse, and Double Exposure To Increase The Viewing Aesthetic

จัดทำโดย พิสิสชัย วิริยะคุณาภรณ์, พชร หลักชัย และลัทธนันท์ สวัสชัย

ปีการศึกษา 2559


บทคัดย่อ (Abstract)

ปริญญานิพนธ์เล่มนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อการศึกษาการผลิตการผลิตรายการสารคดีทางโทรทัศน์โดย ใช้เทคนิคการย้อมสีภาพ เทคนิค Hyperlapse และเทคนิค Double Exposure เพื่อเพิ่มอรรถรสในการรับชม

การผลิตรายการสารดีทางโทรทัศน์โดยใช้เทคนิคการย้อมสีภาพ เทคนิค Hyperlapse และเทคนิค Double Exposure เพื่อเพิ่มอรรถรสในการรับชม มีวิธีการศึกษาคือ ทำการผลิตรายการ สารคดีทางโทรทัศน์เกี่ยวกับกรุงเทพมหานครในชื่อ “Bangkok” ความยาวประมาณ 5 นาที ถ่ายทำโดยใช้กล้อง Canon EOS 70D จำนวน 2 ตัว จากนั้นนำมาทดสอบเพื่อประเมินผลกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นบุคคลทั่วไปอายุ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 100 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ โดยการทำแบบประเมิน และทำการประเมินเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านสื่อสารมวลชน จำนวน 3 ท่าน ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านสารคดี, ผู้เชี่ยวชาญด้านการถ่ายทำ และผู้เชี่ยวชาญด้านการตัดต่อ พร้อมวิเคราะห์ร่วมกับแนวคิดทฤษฎีที่ใช้ในการศึกษา เพื่อสรุปผลและอภิปรายผลในการศึกษา

ผลการศึกษาสรุปได้ว่า การผลิตรายการสารดีทางโทรทัศน์โดยใช้เทคนิคการย้อมสีภาพ เทคนิค Hyperlapse และเทคนิค Double Exposure นั้น สามารถเพิ่มอรรถรสในการรับชมให้แก่รายการสารดีทางโทรทัศน์ชิ้นนี้ได้ โดยเป็นไปตามแนวคิดและทฤษฏีที่กล่าวไว้ในบทที่ 2 และจากการที่ผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ด้านได้ทำการอธิบาย ซึ่งตรงกับผลการประเมินที่ทำการประเมินจากกลุ่มตัวอย่าง


วัตถุประสงค์

  1. เพื่อศึกษาการใช้เทคนิคการย้อมสีภาพ และนำไปปรับใช้กับงานสารคดีให้มีความน่าสนใจยิ่งขึ้น
  2. เพื่อศึกษาการใช้เทคนิคการถ่ายภาพย่นระยะเวลาแบบเคลื่อนไหวกล้อง และนำไปปรับใช้กับงานสารคดีให้มีความน่าสนใจยิ่งขึ้น
  3. เพื่อศึกษาการใช้เทคนิคการซ้อนภาพและนำไปปรับใช้กับงานสารคดีให้มีความน่าสนใจยิ่งขึ้น

ประโยชน์ที่คำดว่าจะได้รับ

  1. ได้รู้และเข้าใจวิธีการผลิตรายการสารคดีทางโทรทัศน์โดยใช้เทคนิคในการถ่ายทำและตัดต่อในรูปแบบต่าง ๆ นอกเหนือจากสารคดีเพื่อให้งานเกิดความน่าสนใจและแปลกใหม่ยิ่งขึ้น
  2. ได้รู้และเข้าใจวิธีการการใช้เทคนิคการย้อมสีภาพเพื่อนำไปปรับใช้กับรายการสารคดีทางโทรทัศน์ให้มีความน่าสนใจและแปลกใหม่ยิ่งขึ้น
  3. ได้รู้และเข้าใจการใช้เทคนิคการถ่ายภาพย่นระยะเวลาแบบเคลื่อนไหวกล้อง เพื่อนำไปปรับใช้กับรายการสารคดีทางโทรทัศน์ให้มีความน่าสนใจและแปลกใหม่ยิ่งขึ้น
  4. ได้รู้และเข้าใจการใช้เทคนิคการซ้อนภาพเพื่อนำไปปรับใช้กับรายการสารคดีทางโทรทัศน์ให้มีความน่าสนใจและแปลกใหม่ยิ่งขึ้น

ขอบเขตการศึกษา

การผลิตรายการสารคดีทางโทรทัศน์เกี่ยวกับกรุงเทพมหานคร โดยใช้เสียงบรรยายในการนำเสนอเนื้อหาทั้งหมดโดยไม่มีผู้ด าเนินรายการ และใช้เทคนิคการย้อมสีภาพ เทคนิคการถ่ายภาพย่นระยะเวลาแบบเคลื่อนไหวกล้อง (Hyperlapse) และเทคนิคการซ้อนภาพ (Double Exposure) โดยมีความยาว 5 นาที 25 วินาที บันทึกภาพด้วยกล้อง DSLR Canon 70D ก่อนจะนำไปตัดต่อด้วยโปรแกรม Adobe Premiere Pro CC และ Adobe After Effect CS6 แล้วบันทึกลงบน External Hard Drive ก่อนนำไปประเมินผลและใช้วิธีการศึกษา โดยกลุ่มแรกใช้วิธีประเมินผลด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มเป้าหมายเป็นบุคคลทั่วไป อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี ไม่จำกัดเพศ จำนวน 100 คน โดยใช้หลักการการคำนวณขนาดตัวอย่างด้วยวิธีของ Taro Yamane มาทำการตอบแบบสอบถามตาม คำถามที่กำหนดเพื่อประเมินผลงานของกลุ่มผู้ศึกษา และกลุ่มที่ 2 ใช้การประเมินผลด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการเชิญผู้เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ มาประเมินผลงานและให้ความคิดเห็นทั้งหมด 3 ด้าน ได้แก่ 1. ผู้เชี่ยวชาญในด้านสารคดี 2. ผู้เชี่ยวชาญในด้านการถ่ายภาพ 3. ผู้เชี่ยวชาญในด้านการตัดต่อ หลังจากนั้นจึงนำผลการประเมินมาทำการสรุปแบบประเมินและรายงานผลการประเมิน

นิยามศัพท์เฉพาะ

Hyperlapse หมายถึง เทคนิคการถ่ายวีดีโอย่นย่อระยะเวลาแบบเคลื่อนไหวกล้อง เช่น ถ่ายวีดีโอในช่วงกลางวันไปจนถึงกลางคืนเป็นระยะเวลา 8 ชั่วโมง แต่นำมารวบรวมแล้วแสดงผลในระยะเวลาสั้น ๆ เช่น 10 วินาทีหรือ 30 วินาที คล้ายกับ Timelapse แต่ต่างกันที่ Hyperlapse มีการเคลื่อนไหวของกล้องด้วย Double Exposure หมายถึง เทคนิคการถ่ายภาพตั้งแต่ 2 ภาพขึ้นไปแล้วนำภาพที่ได้มาซ้อนกัน


สรุปผลและอภิปรายผลการศึกษา

การศึกษาการผลิตรายการสารคดีทางโทรทัศน์โดยใช้เทคนิคการย้อมสีภาพ เทคนิค Hyperlapse และ เทคนิค Double Exposure เพื่อเพิ่มอรรถรสในการรับชม โดยใช้กล้อง Digital Single Lens Reflex (DSLR) ในการถ่ายท า จากนั้นน ามาตัดต่อด้วยโปรแกรม Adobe Premiere Pro CC 2015 ความยาวผลงาน 5 นาที 25 วินาที การประเมินคุณภาพของผลงานการศึกษาการผลิตรายการสารคดีทางโทรทัศน์โดยใช้ เทคนิคการย้อมสีภาพ เทคนิค Hyperlapse และเทคนิค Double Exposure เพื่อเพิ่มอรรถรสในการรับชมจัดทำโดยการสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ จากประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 100 คนและจากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากผู้มีความรู้หรือผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 3 คน คือ

  1. ผู้เชี่ยวชาญในด้านสารคดี 1 คน
  2. ผู้เชี่ยวชาญในด้านการถ่ายทำ 1 คน
  3. ผู้เชี่ยวชาญในด้านการตัดต่อ 1 คน

สรุปและอภิปรายจากกลุ่มบุคคลทั่วไป

ผลจากการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการผลิตรายการสารคดีทางโทรทัศน์โดยใช้เทคนิค การย้อมสีภาพ เทคนิค Hyperlapse และ เทคนิค Double Exposure เพื่อเพิ่มอรรถรสในการรับชม จากกลุ่มประชากรบุคคลทั่วไปอายุ 15 ปีขึ้นไป จ านวน 100 คน เป็นดังนี้ต่อไปนี้

  1. ด้านเนื้อหาของรายการ
    1. ความน่าสนใจในเนื้อหาของสารคดี คิดค่าเฉลี่ยกลางได้ 4.47 อยู่ในระดับ “มาก” ซึ่งอธิบายได้จากแนวคิดของ ธีรภาพ โลหิตกุล (2552 : 136-137) ที่กล่าวไว้ว่า สารคดีเป็นสื่อหนึ่งของความบันเทิง หากแต่เป็นความบันเทิงที่สอดแทรกสาระความรู้ควบคู่กันไป ผู้เขียนสารคดีจึงพึงตระหนักว่า จะสร้างสรรค์กลวิธีการนำเสนอหรือจะร้อยเรียงข้อมูลความรู้อย่างไรให้ผู้อ่าน ผู้ฟัง ผู้ชม ได้รับอรรถรสอันเพลิดเพลินจากการ “เสพ” ผลงานสารคดีของเรา ซึ่งจากผลงานชิ้นนี้ ผู้ศึกษาได้ใช้รูปแบบ การถ่ายทำและตัดต่อในรูปแบบที่ต้องการให้มีความทันสมัยและฉับไว เพื่อสร้างความน่าสนใจของเนื้อหาซึ่งสามารถทำได้ในระดับที่แสดงให้เห็นจากค่าเฉลี่ยกลางในการประเมิน จึงเป็นไปตามแนวคิดที่กล่าวมาข้างต้น
    2. ความเข้าใจในเนื้อหาของรายการของผู้ชม คิดค่าเฉลี่ยกลางได้ 4.40 อยู่ในระดับ “มาก” ซึ่งอธิบายได้จากแนวคิดของ อังธิดา ลิมป์ปัทมปาณี (2548 : 18) ซึ่งกล่าวไว้ว่า สารคดี เป็นเรื่องที่มีข้อเท็จจริงและความคิดเห็น แต่จะเน้นข้อเท็จจริงมากกว่าความคิดเห็น (จินตนาการ) ให้ผลทาง อารมณ์และความรู้สึกมากกว่างานวารสารศาสตร์อื่น ๆ เมื่อเปรียบเทียบกับงานเขียนประเภทอื่น ๆ สารคดี (Feature) จะมีความโดดเด่นและมีความเฉพาะตัวมีทั้งเหมือนข่าว คือ อยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงและเหมือนบทความที่แสดงความคิดเห็นหรือจินตนาการได้มากกว่าข่าว เพียงแต่สารคดีจะให้ข้อเท็จจริงหรือข้อมูล ให้อารมณ์และความรู้สึกหรือแสดงความคิดเห็นผ่านข้อมูล ต่างจากบทความที่ผู้เขียนต้องแสดงทัศนะหรือความคิดเห็น ซึ่งจากผลงานชิ้นนี้ ผู้ศึกษาได้เขียนบทในรูปแบบที่อ้างอิงถึงข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงเชิงสถิติ ผสมกับการใส่อารมณ์ร่วมลงไปในบทหรือข้อมูล เพื่อสร้างความเข้าใจในเนื้อหาของรายการแก่ผู้ชม ซึ่งสามารถทำได้ในระดับที่แสดงให้เห็นจากค่าเฉลี่ยกลางใน การประเมิน โดยเป็นไปตามแนวคิดที่กล่าวมาข้างต้น
  2. ด้านการตัดต่อ
    1. ความต่อเนื่องในการตัดต่อ คิดค่าเฉลี่ยกลางได้ 4.62 อยู่ในระดับ “มากที่สุด” ซึ่งอธิบายได้จากแนวคิดของ วิลาวัลย์ สมยาโรน (2557 : 6) ที่กล่าวไว้ว่า การตัดต่อ หมายถึง การลำดับภาพหลายภาพมาประกอบกัน โดยเรียงร้อยตามสคริปท์ ไม่ให้ภาพขัดกับความรู้สึก หรือมีเหตุการณ์ซ้ำซ้อนกัน จากนั้นใช้เทคนิคการตัดต่อให้ภาพและเสียงมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน โดยรักษาคุณภาพของภาพและเสียงให้กลมกลืนกัน ซึ่งจากผลงานชิ้นนี้ ผู้ศึกษาได้ทำการตัดต่อโดยมีการเรียงลำดับภาพที่มีจำนวนมากมาต่อกัน โดยเรียงตามบทของรายการ และทำการเชื่อมต่อภาพกับเสียงบรรยายให้ตรง และสอดคล้องกันเพื่อไม่ให้ขัดกับความรู้สึก เพื่อสร้างความต่อเนื่องในงาน ซึ่งสามารถทำได้ในระดับที่แสดงให้เห็นจากค่าเฉลี่ยกลางในการประเมิน ดังแนวคิดที่กล่าวมา
    2. ความชัดเจนในการเล่าเรื่องจากการตัดต่อ คิดค่าเฉลี่ยกลางได้ 4.54 อยู่ในระดับ “มากที่สุด” ซึ่งอธิบายได้จากแนวคิดของ สุชาติ พรหมปัญญา (2547 : 38) ที่กล่าวไว้ว่า การตัดต่อเป็นกระบวนการคัดเลือก ปรับแต่ง และเรียงลำดับ Shot พร้อมกับการจัดวางเสียงให้เหมาะสม โดยการ สื่อสารด้วยภาพแต่ละ Shot จะต้องนำมาต่อกันให้เป็น Scene Scene หลาย ๆ Scene นำมาต่อกันเป็นเรื่องราวหนึ่งตอน เรียกว่า Sequence ซึ่ง Sequence หลาย ๆ Sequence มารวมกันจึงได้เป็นหนึ่งเรื่อง ทุกส่วนที่นำมาตัดต่อกันจะต้องมีจุดมุ่งหมายและมีความสัมพันธ์ที่ชัดเจน ภาพทุก Shot และเสียงทุกเสียงที่วางลงไปจะต้องมีเหตุผล แต่ละ Shot จะต้องสัมพันธ์กับ Shot ก่อนหน้าและ Shot ที่ตามมา เสียงทุกเสียงจะต้องสัมพันธ์กับภาพที่เห็น ทุกอย่างต้องประสานกันเพื่อให้การเล่าเรื่องน่าสนใจ ซึ่งจากผลงานชิ้นนี้ ผู้ศึกษาได้ทำการคัดเลือกภาพที่ถ่ายมาแต่ละ Shot และนำมาใช้ให้เหมาะสมกับบทของรายการหรือเสียงบรรยาย เพื่อความชัดเจนในการเล่าเรื่อง ซึ่งสามารถทำได้ในระดับที่แสดงให้เห็นจากค่าเฉลี่ยกลางในการประเมิน โดยเป็นไปดังแนวคิดที่กล่าวมา
    3. การดึงดูดความสนใจจากการตัดต่อ คิดค่าเฉลี่ยกลางได้ 4.61 อยู่ในระดับ “มากที่สุด” ซึ่งอธิบายได้จากแนวคิดของ ดารา รัชนิวัต (2547 : 265) ที่กล่าวไว้ว่า การตัดต่อลำดับภาพเป็นการตัดเอาส่วนที่เริ่มต้นและตอนท้ายของช็อตที่ซ้อนกันอยู่ (Overlap) ออก ตัดการแสดง (Action) และเทค (Take) หรือตัดฉาก (Scene) ที่ไม่ดีและฟุ่มเฟือยออกมา จนเหลือเฉพาะส่วนที่จะนำมาเรียงต่อกัน ได้อย่างเหมาะสมและสัมพันธ์กันทั้งภาพและเสียง ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสวยงามเชื่อมโยง ต่อเนื่องกันอย่างมีคุณภาพและได้คุณค่าทั้งเนื้อหาสาระและอารมณ์ จนสามารถโน้มน้าวจิตใจคนให้มี ความสนใจตั้งแต่ต้นจนจบความสำคัญของการตัดต่อภาพ ซึ่งจากผลงานชิ้นนี้ ผู้ศึกษาได้ทำการตัดต่อ โดยเรียงลำดับภาพให้มีความเชื่อมโยงต่อกัน และทำการตัดภาพในบางส่วนของแต่ละ Shot ที่มีการสั่นไหวหรือซ้อนทับกันกับ Shot ต่อไปออก เพื่อทำให้ภาพมีความสวยงาม โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อดึงดูด ความน่าสนใจ และทำได้ในระดับที่แสดงให้เห็นจากค่าเฉลี่ยกลางของการประเมิน ซึ่งเป็นไปตามแนวคิดที่กล่าวมา
  3. ด้านเสียงบรรยาย
    1. ความเหมาะสมของเสียงบรรยายสารคดี คิดค่าเฉลี่ยกลางได้ 4.03 อยู่ในระดับ “มาก” ซึ่งอธิบายได้จากแนวคิดของ สุมน อยู่สิน, เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์ และนภาภรณ์ อัจฉริยะกุล (2546 : 61) ที่กล่าวไว้ว่า สิ่งสำคัญของเสียงพูด คือ การคัดเลือก การควบคุม การกำกับเสียงให้เสียงมีความชัดเจนในการฟัง ไม่ว่าจะเป็นเสียงประเภทใด ต้องมีความชัดเจนที่ทำให้ผู้ฟังบ่งบอกและแบ่งแยกได้ว่า เสียงที่ได้ยินนั้นเป็นเสียงของเพศใด อายุเท่าไร หรือแม้กระทั่งระบุได้ว่ารูปร่าง ลักษณะนิสัย หรือ สภาพร่างกายและจิตใจในตอนนั้นเป็นอย่างไร ซึ่งทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรูปแบบและเนื้อหาของรายการด้วย แต่ไม่ว่าจะเป็นการเสนอเสียงในรายการรูปแบบใด เสียงนั้นต้องมีความชัดเจนที่สามารถบ่งบอกและแบ่งแยกได้จากเสียงอื่น ๆ เพื่อการรับข่าวสาร ข้อมูล ความบันเทิงที่ถูกต้อง และไม่สับสน ซึ่งจากผลงานชิ้นนี้ กลุ่มผู้ศึกษาได้ทำการบันทึกเสียงแยกโดยเฉพาะ และตัดต่อด้วยการใช้ระดับเสียงที่แตกต่างกันของเสียงบรรยายและเสียงดนตรีที่เป็นพื้นหลังจนผู้ชมสามารถแยกออกได้ ซึ่งทำให้ผู้ชม สามารถแบ่งแยกเสียงบรรยายออกจากเสียงอื่น ๆ เพื่อจะได้มีความเหมาะสบกับรายการสารคดี เพราะผู้ชมสามารถที่จะสามารถรับฟังข้อมูลพร้อมกับเสียงดนตรีประกอบอย่างไม่สับสนได้ โดยทำได้ในระดับที่แสดงให้เห็นจากค่าเฉลี่ยกลางของการประเมิน โดยเป็นไปดังแนวคิดที่กล่าวมาข้างต้น
    2. ความดึงดูดและน่าสนใจของเสียงบรรยาย คิดค่าเฉลี่ยกลางได้ 4.00 อยู่ในระดับมาก ซึ่ง อธิบายได้จากแนวคิดของ อรรณพ เธียรธาวร, ชยพล สุทธิโยธิน, ไพบูรณ์ คะเชนทรพรรค์ และ ธีรารักษ์ โพธิสุวรรณ (2546 : 85) ที่กล่าวว่า เสียง เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของรายการ วิทยุโทรทัศน์ เสียงมีบทบาทสำคัญในการช่วยเสริมความเข้าใจเพิ่มเติมจากภาพที่มีอยู่ เสียงช่วยสร้างอารมณ์และความรู้สึกให้แก่เรื่องที่นำเสนอ และโน้มนำอารมณ์ของผู้ชมให้คล้อยตาม ซึ่งจากผลงานชิ้นนี้ กลุ่มผู้ศึกษาได้ใช้เสียงบรรยายในการนำเสนอบทของรายการเพิ่มเติมจากภาพที่ถ่ายมา ซึ่งสามารถสร้างอารมณ์ให้แก่ผู้ชมและโน้มนำอารมณ์ของผู้ชมให้คล้อยตามได้ในระดับที่แสดงให้เห็นจากค่าเฉลี่ยกลางของการประเมินดังแนวคิดที่กล่าวมาข้างต้น
  4. ด้านเสียงดนตรีประกอบ
    1. ความเหมาะสมของดนตรีประกอบกับสารคดี คิดค่าเฉลี่ยกลางได้ 4.19 อยู่ในระดับ “มาก” โดยอธิบายได้จากแนวคิดของ สมสุข หินวิมาน และคณะ (2557 : 105) ที่กล่าวไว้ว่า เสียงดนตรีเป็นส่วนประกอบที่สำคัญสำหรับการเล่าเรื่องทุกรูปแบบ เช่น ละคร ภาพยนตร์ รวมถึงสารคดีด้วย หน้าที่ของดนตรี คือ ควบคุมอารมณ์ของเรื่องที่เล่าในขณะนั้น และเสียงดนตรีสามารถช่วยเพิ่มอรรถรส และช่วยให้ผู้ชมสารคดีเกิดอารมณ์คล้อยตามเรื่องราวที่นำเสนอ การเลือกเพลงหรือเสียงดนตรีที่เหมาะสม จะช่วยให้สารคดีสื่อความหมายได้ตรงกับที่ผู้ผลิตต้องการ ทั้งนี้ต้องเลือกใช้เสียงดนตรีที่หลากหลายเข้ากับประเด็นของเรื่อง และเหมาะสมกับทุกยุคสมัยของเหตุการณ์หรือบุคคลที่นำเสนอ ซึ่งจากผลงานชิ้นนี้กลุ่มผู้ศึกษาเลือกใช้ดนตรีประกอบที่มีจังหวะสนุก ดนตรีมีความทันสมัย และมีการผ่อนหรือเร่งตามจังหวะของบท เพื่อให้เหมาะกับประเด็นของบทและเนื้อหา ดังที่แสดงให้เห็นจากค่าเฉลี่ยกลางของการประเมินตามแนวคิดที่กล่าวมาข้างต้น
    2. ความดึงดูดและน่าสนใจของดนตรีประกอบ คิดค่าเฉลี่ยกลางได้ 3.89 อยู่ในระดับมาก โดยอธิบายได้จากแนวคิดของ มนตรี ศุภมันตา (ม.ป.ป. : 7) ที่กล่าวว่า ดนตรีเป็นเรื่องของสุนทรียศาสตร์ที่ว่าด้วยความไพเราะ และเป็นเรื่องของอารมณ์ ดนตรีเป็นการระบายสีสันของเสียงที่มีการแสดงออกทางอารมณ์ ซึ่งประกอบด้วยอารมณ์ของผู้ประพันธ์ อารมณ์ของผู้บรรเลง และส่งผลกระทบต่อผู้ฟัง คือ ทำให้เกิดจินตนาการตามอารมณ์นั้น ซึ่งจากผลงานชิ้นนี้ กลุ่มผู้ศึกษาได้ใช้ดนตรี ประกอบเป็นเพลงแนว Electronic ที่ไม่ได้เป็นกระแสหลัก ทำให้ส่งผลกระทบต่อผู้ชมโดยมีทั้งผู้ชมที่รู้สึกว่า ดนตรีประกอบมีความดึงดูดน่าสนใจและดนตรีประกอบไม่มีความดึงดูดและน่าสนใจ ซึ่งเป็นเรื่องของอารมณ์หรือสุนทรียศาสตร์ของแต่ละบุคคลดังแนวคิดที่กล่าวมาข้างต้น
  5. ด้านเทคนิค Hyperlapse
    1. เทคนิค Hyperlapse สามารถทำให้เห็นการเปลี่ยนแปลงระยะเวลามากน้อยเพียงใด คิดค่าเฉลี่ยกลางได้ 4.63 อยู่ในระดับ “มากที่สุด” โดยอธิบายได้จากแนวคิดของ รุจโรจน์ แก้วอุไร (2556 : เว็บไซต์) ที่กล่าวไว้ว่า วิดีโอที่ย่นย่อระยะเวลา คือ สิ่งที่มีการดำเนินการไปอย่างช้า ๆ โดยเพิ่มความเร็วให้เร็วขึ้น เพื่อให้เห็นการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง ในเวลาอันสั้นสำหรับการรับชม เช่น การถ่ายภาพดอกไม้ผลิบานอย่างช้า ๆ ทำให้เห็นภาพดอกไม้บานในระยะเวลาอันสั้นได้รวดเร็วขึ้น การถ่ายย่นระยะเวลาเป็นเทคนิคที่ทำให้เราสามารถศึกษารายละเอียดของกระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างช้า ๆ เกินกว่าที่ตาคนเราจะสังเกตเห็นได้ เช่น การเคลื่อนที่ของดาว, การเคลื่อนที่ของเมฆ, การก่อสร้าง, การเคลื่อนไหวของฝูงชน เป็นต้น ซึ่งจากผลงานชิ้นนี้ ผู้ศึกษาได้ทำการถ่ายภาพ Hyperlapse ของสถานที่ต่าง ๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงของเวลาที่ช้ามาไว้ในระยะเวลาอันสั้น เช่น ภาพพระอาทิตย์ตกดิน โดยเห็นการเปลี่ยนผ่านเวลาจากกลางวันเป็นกลางคืน โดยทำให้ภาพมีการเปลี่ยนแปลงชนิดที่สายตามนุษย์ปกติไม่สามารถมองเห็นได้ ดังแนวคิดที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่งทำได้ในระดับที่แสดงให้เห็นจากค่าเฉลี่ยกลางของการประเมิน
    2. เทคนิค Hyperlapse เพิ่มความน่าสนใจในการรับชมได้มากน้อยเพียงใด คิดค่าเฉลี่ยกลางได้ 4.70 อยู่ในระดับ “มากที่สุด” โดยอธิบายได้จากแนวคิดของ สมาน งามสนิท (2533 : 825-834) ที่กล่าวไว้ว่า การถ่ายภาพเหตุการณ์ที่ใช้เวลานานกว่าจะเกิดขึ้นจนครบวงจร เช่น ภาพการสร้างตึกสูง อาจใช้เวลา 1 ปีจึงจะสร้างเสร็จ สามารถให้เราเห็นตึกค่อยขึ้นจากที่ดินว่างเปล่าจึงเป็นตึกได้ในเวลา 1 นาที หรือย่อเวลาจากชั่วโมงจากวันให้เป็นนาที ซึ่งเป็นภาพที่ให้ผลพิเศษ ซึ่งจากผลงานชิ้นนี้ ผู้ศึกษาได้ทำการถ่ายภาพ Hyperlapse เพื่อสร้างความน่าสนใจจากการที่ผู้ชมสามารถมองเห็นการย่น ระยะเวลาจากเวลาจริงที่นานมาแสดงให้เห็นได้ในระยะเวลาที่สั้น เช่น ภาพการจราจรตอนกลางคืนที่ยาวนานโดยเห็นแสงของไฟจากรถยนต์วิ่งเป็นเส้น เป็นต้น ซึ่งเป็นไปตามแนวคิดที่กล่าวมาข้างต้น โดยสามารถสร้างความน่าสนใจในการรับชมได้ในระดับที่แสดงให้เห็นจากค่าเฉลี่ยกลางของการประเมิน
    3. เทคนิค Hyperlapse มีความเหมาะสมกับรายการมากน้อยเพียงใด คิดค่าเฉลี่ยกลางได้ 4.69 อยู่ในระดับ “มากทีสุด” โดยอธิบายได้จากแนวคิดของ ปิยกุล เลาวัณย์ศิริ (2529 : 164) ที่กล่าวไว้ว่า การถ่ายย่นระยะเวลา คือ เทคนิคในการถ่ายภาพแบบเร็วมาก ๆ โดยสามารถทำให้ภาพที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือภาพที่มีการเคลื่อนไหวภาพอย่างช้า ๆ ชนิดที่สายตามนุษย์ไม่สามารถมองเห็นได้ เช่น ภาพกุหลาบบาน ภาพก้อนเมฆลอยผ่านดวงจันทร์ การเจริญเติบโตของต้นไม้ ภาพการงอกของเมล็ดพืช เป็นต้น ให้ปรากฏบนจอด้วยระยะเวลาอันสั้นได้ซึ่งจากผลงานชิ้นนี้ ผู้ศึกษาได้ทำการถ่ายภาพ Hyperlapse ที่เป็นการเปลี่ยนผ่านช่วงเวลาอย่างช้า ๆ ดังแนวคิดที่กล่าวมาข้างต้น และนำมาปรับใช้แทนการใช้ภาพ Footage ธรรมดาให้มีความเหมาะสมกับรายการ ซึ่งทำได้ในระดับที่แสดงให้เห็นจากค่าเฉลี่ยกลางของการประเมิน
  6. ด้านเทคนิค Double Exposure
    1. เทคนิค Double Exposure สามารถทำให้ภาพดูแปลกตาได้มากน้อยเพียงใด คิดค่าเฉลี่ยกลางได้ 4.39 อยู่ในระดับ “มาก” โดยอธิบายได้จากแนวคิดของสำนักพิมพ์ Photo & Life (2538: 16) ที่กล่าวไว้ว่า Double Exposure มีความหมายตรงตัว คือ การเปิดรับแสงสองครั้ง นั้นคือการถ่ายภาพสองครั้งลงในภาพเฟรมเดียวกันหรือเรียกว่า การถ่ายภาพซ้อนนั่นเอง โดยการถ่ายภาพซ้อนเป็นเทคนิคง่าย ๆ ที่สามารถสร้างสรรค์ภาพให้ดูแปลกตาและสวยงามยิ่งขึ้น ซึ่งจากผลงานชิ้นนี้ผู้ศึกษาได้ทำการนำภาพของตึกรามบ้านช่อง, วัด และสิ่งต่าง ๆ เข้าไปซ้อนอยู่ในตัวแบบซึ่งเป็นตัวละครในงาน เพื่อทำให้ภาพเกิดความแปลกตาและสวยงามยิ่งขึ้น ซึ่งทำได้ในระดับที่แสดงให้เห็นจากค่าเฉลี่ยกลางของการประเมิน โดยเป็นไปดังแนวคิดที่กล่าวมาข้างต้น
    2. เทคนิค Double Exposure ทำให้รายการมีความน่าสนใจมากน้อยเพียงใด คิดค่าเฉลี่ยกลางได้ 4.42 อยู่ในระดับ “มาก” โดยอธิบายได้จากแนวคิดของ ประสิทธิ์ จันเสรีกร (2544 : 188) ที่ กล่าวไว้ว่า การถ่ายภาพซ้อนเป็นเทคนิคพิเศษอย่างหนึ่งซึ่งสามารถน ามาใช้สร้างสรรค์ภาพให้น่าสนใจได้ กล้อง SLR (และกล้องคอมแพคท์ราคาแพง) ในปัจจุบันจึงมักจะมีระบบถ่ายภาพซ้อนได้มากกว่า 1 ภาพลงบนเฟรมเดียวกัน เทคนิคการบันทึกภาพซ้อนสามารถนำมาใช้สร้างเทคนิคพิเศษได้อย่างมากมาย โดยทั่วไปแล้วการถ่ายภาพซ้อนให้ได้ผลดีไม่ควรเกิน 2-3 ครั้งในเฟรมเดียวกันเพราะหากถ่ายมากกว่านั้นภาพที่ออกมาจะดูสับสนแทนที่จะเป็นภาพสร้างสรรค์ ซึ่งจากผลงานชิ้นนี้ผู้ศึกษาได้ใช้การซ้อนภาพหรือ Double Exposure เพื่อสร้างสรรค์ภาพให้เกิดความน่าสนใจ โดยใช้ภาพที่ซ้อนกันจำนวน 2-3 ครั้ง ประกอบไปด้วยตัวแบบ ภาพที่ใช้เจาะลงในตัวแบบ และการจำลอง Light Leak ลงบนภาพ ซึ่งสามารถสร้างความน่าสนใจให้แก่รายการได้ระดับที่แสดงให้เห็นจากค่าเฉลี่ยกลางของการประเมินโดยเป็นไปตามแนวคิดที่กล่าวมา
  7. ด้านการย้อมสีภาพ
    1. เทคนิคการย้อมสีภาพช่วยสร้างอารมณ์ของสารคดีมากน้อยเพียงใด คิดค่าเฉลี่ยกลางได้ 4.59 อยู่ในระดับ “มากที่สุด” ซึ่งอธิบายได้จากแนวคิดของ ปวีณา มีป้อง, นวอร แจ่มขำ, ธิติมา ทองทับ, สิญาพัฒน์ ใจบ้านเอื้อม และ อภิชญา สุทธิประภา (2551 : 112) ที่กล่าวไว้ว่า สีสันบนภาพส่งผลให้อารมณ์และความรู้สึกที่มีต่อภาพแตกต่างกันไป การปรับสีภาพจะมีวัตถุประสงค์ต่าง ๆ กันไป เช่น หากถ่ายภาพในช่วงเย็น ภาพจะออกมาเป็นโทนสีส้มแดงก็ต้องปรับสมดุลสีตรงกับภาพมากขึ้น หรือเปลี่ยนภาพสีให้ออกมาเป็นโทนสีต่าง ๆ เช่น ภาพขาวดำ ภาพซีเปีย เป็นต้น เพื่อให้ภาพดูเก่าและเพิ่มอายุให้ภาพทำให้ภาพดูคลาสสิคยิ่งขึ้น หรือปรับความสดของสีภาพ เช่น ภาพ อาหาร ขนมหรือผลไม้ เพื่อให้มีสีสันสดใสดูน่ารับประทานยิ่งขึ้น เป็นต้น ซึ่งจากผลงานชิ้นนี้ผู้ศึกษาได้มีการย้อมสีภาพโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยสร้างอารมณ์และความรู้สึกของผู้ชมแก่รายการสารคดี โดยสามารถทำได้ในระดับที่แสดงให้เห็นจากค่าเฉลี่ยกลางของการประเมิน ซึ่งเป็นไปดังแนวคิดที่กล่าวมาข้างต้น
    2. เทคนิคการย้อมสีภาพมีความน่าสนใจหรือเพิ่มอรรถรสมากน้อยเพียงใด คิดค่าเฉลี่ยกลางได้ 4.41 อยู่ในระดับ “มาก” โดยอธิบายได้จากแนวคิดของจีราวุธ วารินทร์ (2552: 355-356) ที่กล่าวไว้ว่า ภาพที่ดูธรรมดา ๆ แต่หากใช้สีที่เหมาะสมแล้ว ภาพนั้น ๆ สามารถดูโดดเด่นขึ้นมาได้ ยกตัวอย่างง่าย ๆ บางคนแค่เอามือจุ่มกระป๋องสีแล้วไปแปะ ๆ ที่ภาพก็ได้ภาพสีฉูดฉาดที่ผู้คนต่างพากันดู มาชมเชยว่าเป็นศิลปะ แต่บางภาพที่ถ่ายมาจากกล้องราคาหลายหมื่นกลับดูไม่เข้าท่า มองกี่ครั้งก็ไม่สวย ภาพบางภาพที่องค์ประกอบศิลป์ดี ๆ ถูกต้องถามตำราทุกประการ แต่สีที่อยู่ในภาพมีปัญหา เช่น สีเพี้ยน สีจืด หรือฉูดฉาดเกินไปก็ย่อมส่งผลให้ภาพนั้น ๆ ดูด้อยค่าลงกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งจากข้างต้น คงเป็นหนึ่งในหลาย ๆ เหตุผลที่เราจำเป็นต้องปรับสีให้เหมาะสมกับภาพแต่ละภาพ ซึ่งจากผลงานชิ้นนี้ ผู้ศึกษาได้ทำการนำภาพธรรมดาที่ได้จากการถ่ายด้วยกล้อง DSLR มาแก้ไขสีให้เหมาะสมกับแต่ละภาพและทำให้สีสันมีความฉูดฉาดยิ่งขึ้น เพื่อทำให้ภาพธรรมดาที่ถ่ายมาดูโดดเด่นและสร้างความ น่าสนใจให้แก่ผู้ชมมากยิ่งขึ้น รวมถึงเพิ่มอรรถรสในการรับชม โดยสามารถทำได้ในระดับที่แสดงให้เห็นจากค่าเฉลี่ยกลางของการประเมิน ซึ่งเป็นไปตามแนวคิดที่กล่าวมาข้างต้น
    3. เทคนิคการย้อมสีภาพมีความเหมาะสมกับรายการมากน้อยเพียงใด คิดค่าเฉลี่ยกลางได้ 4.50 อยู่ในระดับ “มาก” โดยอธิบายได้จากแนวคิดของ สุชาติ พรหมปัญญา (2546 : 34-36) ที่กล่าวไว้ ว่า การย้อมสีมีจุดมุ่งหมายสองประการ คือ การคืนต้นฉบับของฉากจริง กับการแปลงต้นฉบับใหม่ให้เป็นไปตามความต้องการ การย้อมสีจะสมบูรณ์เมื่อบรรลุจุดมุ่งหมายแรกแล้ว แต่งานบางชนิดก็เจาะจงที่จะแก้สีใหม่ให้ต่างไปจากเดิมเพื่อความกลมกลืนระหว่างภาพ หรือเพื่องานสร้างสรรค์บาง ประเภท การแก้ไขสีจะต้องยึดตามแนวภาพเดิมและสภาพสุดท้ายของภาพนั้นที่อยู่ในโปรแกรมซึ่งจากผลงานชิ้นนี้ ผู้ศึกษาได้ทำการปรับแก้สีของภาพให้เป็นโทนสีส้มและฟ้า ซึ่งเป็นการการเปลี่ยนสีให้เป็นไปตามความต้องการและเจาะจงแก้สีทั้งหมดใหม่ให้กลมกลืนเหมาะสมกับรายการดังแนวคิดที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่งสามารถทำได้ในระดับที่แสดงให้เห็นจากค่าเฉลี่ยกลางของการประเมิน

สรุปผลและอภิปรายผลจากผู้เชี่ยวชาญ

ผลจากการประเมินและข้อคิดเห็นที่มีต่อการผลิตรายการสารคดีทางโทรทัศน์โดยใช้เทคนิคการย้อมสีภาพ เทคนิค Hyperlapse และเทคนิค Double Exposure เพื่อเพิ่มอรรถรสในการรับชมจากผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ด้าน คือ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสารคดี ผู้เชี่ยวชาญในด้านการถ่ายทำ และผู้เชี่ยวชาญในด้านการตัดต่อ เป็นดังต่อไปนี้

  1. ผู้เชี่ยวชาญในด้านสารคดี
    งานชิ้นนี้เป็นงานที่ดูเท่และแปลกใหม่ แต่กลับดูเนือยในเวลาเดียวกัน เมื่อวิเคราะห์ดูแล้วจะพบว่า ความเท่และแปลกใหม่นั้นเกิดจาก Visual ในงานและความเนือยนั้นเกิดมาจากเสียงบรรยายที่ใช้ซี่งต้องมาปรับ Character ให้เข้ากับภาพในงาน เทคนิคที่ใช้ในงานทั้งหมด ได้แก่ Hyperlapse, Double Exposure และการย้อมสีภาพ มีความเหมาะสมกับงานและสามารถเพิ่มอรรถรสในการรับชมได้ แต่ในส่วนของบทยังขาดลีลาและภาษา โดยลีลาหมายถึงการจัดการบริหารโครงสร้างของข้อมูล ว่าจะเล่าเรื่องอะไร แค่ไหน อย่างไร และภาษา คือ บุคลิกหรือ Character ของเสียงบรรยาย จุดแข็งของงานชิ้นนี้ก็คือในส่วนของ Visual หรืองานทางด้านภาพ ซึ่งมีความร่วมสมัยและฉับไว ซึ่งควรต้องปรับภาษาที่ใช้ให้เข้ากับงานที่ดูเป็นเมือง ๆ ซึ่งไม่ได้หมายความว่า เป็นการพูด ภาษาไทยคำอังกฤษคำ แต่หมายถึงวิธีการเล่าเรื่อง ซึ่งตอนนี้มีบุคลิกเหมือนกับคนที่ดูจืดชืดเหมือนที่ได้กล่าวไป เราจึงจำเป็นต้องทำให้คน ๆ นี้มีชีวิตขึ้นมา ทำให้เขารู้สึกเหมือนมาเล่าบางสิ่งให้ฟัง หรือโดยสรุปก็คือปลุกคน ๆ นั้นให้มี Character ของภาษาขึ้นมาให้เหมาะสมและไปกับ Visual ของงานได้ ซึ่งตรงกับแนวคิดของ ธีรภาพ โลหิตกุล (2552 : 136-137) ที่กล่าวไว้ว่า สารคดี คือ การนำเอาข้อมูล หรือข้อเท็จจริงมานำเสนอโดยผ่านกระบวนการสร้างสรรค์ ดังนั้นเมื่อคิดจะเขียน “สารคดี” จึงต้องคำนึงถึงข้อมูลและกลวิธีการนำเสนอในสัดส่วนที่เท่ากัน คือ เนื้อหา (ข้อมูล) 50 : รูปแบบ (กลวิธีการนำเสนอ) 50 และสารคดี มิอาจปั้นแต่งเรื่องราวตัวละครขึ้นเองตาม จินตนาการของผู้เขียน เช่น บทละคร นิยาย หรือเรื่องสั้น แต่สารคดีก็มิใช่ “แบบเรียน” ที่จะต้องนำเสนอข้อมูลอย่างเป็นแบบแผน ตรงไปตรงมา เป็นลำดับขั้นตอนครบทุกกระบวนการ นอกจากนี้ยังอธิบายเสริมได้จากแนวคิดของ ทวีศักดิ์ ญาณประทีป (2548 : 61) ที่กล่าวไว้ว่า สารคดีเป็นร้อยแก้ว ประเภทหนึ่งซึ่งเรื่องที่เขียนขึ้นนั้นมีความจริงมากกว่าจินตนาการ เพื่อไม่ให้ผู้อ่านเกิดความเบื่อหน่าย ในเรื่องที่อ่าน ผู้เขียนจึงพยายามหาวิธีเขียนอันจะทำให้ผู้อ่านได้รับความเพลิดเพลินไปด้วย ฉะนั้น การเขียนสารคดีจึงมีหลายแบบหลายประเภทแต่ก็ยังคงรักษาลักษณะเฉพาะของสารคดีไว้ครบถ้วน แม้ว่าเรื่องที่เขียนขึ้นจะมีลักษณะคล้ายกับบันเทิงคดีก็ตาม
  2. ผู้เชี่ยวชาญในด้านการถ่ายทำ ข้อดีของงาน คือ ภาพที่ถ่ายมาดูมีความเป็นสมัยใหม่เลยท าให้ภาพน่าดูยิ่งขึ้น บวกกับการใช้เทคนิค Hyperlapse ที่ใส่เข้าไปในงาน ยิ่งทำให้ภาพดูน่าสนใจมากขึ้นไปอีก แต่ในงานยังมีข้อบกพร่องตรงบทที่ไม่ทำให้เนื้อหาเป็นก้อนเดียวกัน บทยังกระจายกันอยู่เลยทำให้ภาพที่ถ่ายมามีทั้งส่วนที่สอดคล้องและไม่สอดคล้องกันอยู่ โดยรวมแล้วถือว่า การทำ Hyperlapse ค่อนข้างสมบูรณ์และสามารถเข้าใจได้ เพราะ เทคนิค Hyperlapse เป็นเทคนิคที่มีข้อจำกัดในการใช้งานเยอะ โดยเป็นเทคนิคที่ใช้เวลาถ่ายทำนาน แต่ได้ภาพที่ใช้งานจริงมาเป็นเพียงเวลาสั้น ๆ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะประมาณแค่ 2 – 4 วินาทีต่อภาพ ซึ่งอธิบายได้จากแนวคิดของ ศุภนิต อารีหทัยรัตน์ (2540 : 103) ที่กล่าวไว้ว่า วิธีที่ใช้การถ่ายเร่งหรือย่นเวลา เป็นวิธีการถ่ายที่ต้องการให้เห็นถึงช่วงเวลาที่เกิดขึ้นนานมาก ๆ ซึ่งต้องใช้เวลาเฝ้าคอย และอาจไม่เห็นอาการที่เคลื่อนไหวเลย เป็นอาการเคลื่อนไหวช้าหรือเกิดการเปลี่ยนแปลงช้ามาก
  3. ผู้เชี่ยวชำญในด้านการตัดต่อ การตัดต่อสามารถถ่ายทอดบทได้ดี แต่ภาพเปิดยังไม่สามารถบ่งบอกได้อย่างชัดเจนเท่าไหร่ว่า เป็นเรื่องเกี่ยวกับกรุงเทพมหานคร การลำดับภาพในงานสามารถทำได้ดี มีการใช้ Footage ที่หลากหลาย มีการใช้เทคนิคในการตัดต่อเพื่อทำการเชื่อมต่อแต่ละ Scene โดยเฉพาะที่เชื่อมต่อกับเทคนิคหลักในงานได้ดี โดยอธิบายได้จากแนวคิดของ อรุณี ประดิษฐ์ธีระ (2530 : 17-19) ที่กล่าวไว้ว่า การตัดต่อภาพและการลำดับภาพมีความต่างกันเพียงเล็กน้อย คือ การตัดต่อภาพ หมายถึง การตัดต่อภาพให้มีความต่อเนื่องตามบทละครโทรทัศน์ การลำดับภาพ หมายถึง การลำดับภาพจากภาพหนึ่งไปสู่อีกภาพหนึ่ง รวมความแล้ว จุดประสงค์ของการตัดต่อภาพและการลำดับภาพก็เพื่อต้องการให้คนดูมีความคิดต่อเนื่องไม่สับสนวุ่นวาย การย้อมสีมีความต่อเนื่องชัดเจน ซึ่งอธิบายได้จากแนวคิดของ สุชาติ พรหมปัญญา (2546 : 34-36) ที่กล่าวไว้ว่า การย้อมสีมีจุดมุ่งหมายสองประการ คือ การคืนต้นฉบับของฉากจริง กับการแปลงต้นฉบับใหม่ให้เป็นไปตามความต้องการ การย้อมสีจะสมบูรณ์เมื่อบรรลุจุดมุ่งหมายแรกแล้ว แต่งานบางชนิดก็เจาะจงที่จะแก้สีใหม่ให้ต่างไปจากเดิมเพื่อความกลมกลืนระหว่างภาพ หรือเพื่องานสร้างสรรค์บางประเภท การแก้ไขสีจะต้องยึดตามแนวภาพเดิมและสภาพสุดท้ายของภาพนั้นที่อยู่ในโปรแกรม นอกจากนี้ยังอธิบายเสริมได้จากแนวคิดของ Isaac Kerlow (2009 : 452-453) ที่กล่าวไว้ ว่า การ Color Grading เป็นปัจจัยหลักในการจัดการสีและค่าความสว่างในภาพ โดยการแก้สีในขั้น แรกนั้นจะดูแลในส่วนของการตัดสินใจเลือกใช้สี ในขณะที่การ Color Grading ขั้นที่สองจะใช้ในการ แก้ไขปรับปรุงรายละเอียด ซึ่งสามารถใช้ในการเปลี่ยนแปลงลักษณะของภาพโดยรวมของแต่ละฉาก หรือภาพรวมของภาพยนตร์ทั้งเรื่องได้ การตัดต่อ Double Exposure อยู่ในระดับพอใช้ การดูดสีเพื่อแยกฉาก Green Screen กับตัวแบบมีความเคลียร์ในระดับหนึ่งแต่ยังไม่ทั้งหมด ภาพ Footage ที่ใช้เป็นภาพซ้อนใน Double Exposure มีความหลากหลาย ถ่ายทอดความเป็นกรุงเทพมหานครได้ในระดับค่อนข้างดี ซึ่ง ตรงกับแนวคิดของ Eastman Kodak (1976 : 38) ที่กล่าวไว้ว่า การซ้อนภาพ หรือ Double Exposure คือภาพที่ได้รับการบันทึกลงบนฟิล์มแถบเดียวเป็นจำนวน 2 ครั้งหรือมากกว่า ภาพที่ได้อาจจะทั้งเป็นภาพที่ทับซ้อนกันหรืออยู่คู่กันโดยมีความเชื่อมโยงกัน

สรุปผลการศึกษา

ผลการศึกษาการผลิตรายการสารคดีทางโทรทัศน์โดยใช้เทคนิคการย้อมสีภาพ เทคนิค Hyperlapse และเทคนิค Double Exposure เพื่อเพิ่มอรรถรสในการรับชม จากผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ด้าน และกลุ่มผู้ชมจ านวน 100 คน สามารถสรุปออกมาได้ดังนี้

  1. เทคนิคการย้อมสีภาพ สามารถนำไปปรับใช้กับงานสารคดีให้มีความน่าสนใจและแปลก ใหม่ รวมถึงยังสามารถเพิ่มอรรถรสในการรับชมได้
  2. การใช้เทคนิคการถ่ายภาพย่นระยะเวลาแบบเคลื่อนไหวกล้อง สามารถนำไปปรับใช้กับ งานสารคดีให้มีความน่าสนใจและแปลกใหม่ยิ่งขึ้น รวมถึงยังสามารถเพิ่มอรรถรสในการรับชมได้
  3. การใช้เทคนิคการซ้อนภาพ สามารถนำไปปรับใช้กับงานสารคดีให้มีความน่าสนใจและ แปลกใหม่ยิ่งขึ้น รวมถึงยังสามารถเพิ่มอรรถรสในการรับชมได้

อภิปรายผลการศึกษา

จากการสรุปผลการศึกษาการผลิตรายการสารคดีทางโทรทัศน์โดยใช้เทคนิคการย้อมสีภาพ เทคนิค Hyperlapse และเทคนิค Double Exposure เพื่อเพิ่มอรรถรสในการรับชมจากผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ด้าน และกลุ่มผู้ชมจำนวน 100 คน สามารถอภิปรายได้ดังนี้

  1. เทคนิคการย้อมสีภาพในงานสามารถทำได้ดีในแง่ของการควบคุมความต่อเนื่องของสี โดยอธิบายได้จากการประเมินของผู้ชมจำนวน 100 คน ที่พบว่า ค่าเฉลี่ยของแบบประเมินที่เกี่ยวข้องกับการย้อมสีอยู่ในระดับที่มาก และจากบทสัมภาษณ์ของผู้เชี่ยวชาญในด้านการตัดต่อ คือ คุณซัมมิต เกตุใหม่ ที่กล่าวว่า การย้อมสีมีความต่อเนื่องชัดเจน และความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญในด้านสารคดี คือ คุณคริสโตเฟอร์ วอชิงตัน ที่กล่าวว่า ในส่วนของการย้อมสีภาพ มีความสวยงาม โทนสีของงานทั้งหมดดูแล้วโอเค ซึ่งในขั้นตอนการทำสีภาพนั้นถือเป็นเรื่องยาก โดยเฉพาะการที่ถ่ายงาน Outdoor มาจากหลาย ๆ สถานที่ ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่เมื่อนำภาพมารวมกันแล้วมักจะเกิดการที่สีไม่ ตรงกัน แต่งานชิ้นนี้สามารถคุมโทนสีของภาพได้ทั้งหมด ไม่มีภาพไหนที่ดูแล้วรู้สึกโดด ซึ่งในขั้นตอน Post Production ของงานชิ้นนี้ถือว่าเอาอยู่และทำได้ดี จึงทำให้ออกมาแล้วมีความเหมาะสมกับงาน และสามารถเพิ่มอรรถรสในการรับชมได้
  2. การใช้เทคนิคการถ่ายภาพย่นระยะเวลาแบบเคลื่อนไหวกล้อง สามารถสร้างความแปลก ใหม่และเพิ่มอรรถรสได้อย่างชัดเจนที่สุดจากเทคนิคที่ผู้ศึกษาได้ท าการทดลองมาทั้งหมด 3 เทคนิค โดยสามารถอธิบายได้จากค่าเฉลี่ยของแบบประเมินที่อยู่ในเกณฑ์มากที่สุดในทุก ๆ ข้อ และจากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ด้าน ที่ให้ความสนใจในเทคนิคนี้มากเป็นพิเศษ โดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านสารคดี คือ คุณคริสโตเฟอร์ วอชิงตัน กล่าวว่า ในส่วนของ Hyperlapse สามารถถ่ายทำได้ในระดับดีมาก มีความสวยงาม และผู้เชี่ยวชาญทางด้านการถ่ายทำ คือ คุณสุรวัส ยุติธรรมกล่าวว่า เทคนิค Hyperlapse ในงานมีความเหมาะสม โดยเฉพาะการใช้เทคนิคนี้ในลักษณะกับสถานที่ที่เป็นเมืองหรือสถาปัตยกรรม ซึ่งการจะตัดสินใจเลือกว่าจะใช้การ Hyperlapse เข้าไปยังสถานที่นั้น ๆ หรือ เคลื่อนไหวรอบสิ่งใดนั้นจำเป็นต้องทำการวางแผนมาก่อนว่า จะใช้ตรงไหน อย่างไร เพื่อที่จะให้ภาพมีความเหมาะสมกับเนื้อเรื่องและไม่ติดขัด ซึ่งในส่วนนี้ถือว่า ทำได้ดี ส่วนผู้เชี่ยวชาญในด้านการตัดต่อ คุณซัมมิต เกตุใหม่ กล่าวว่า การตัดต่อภาพ Hyperlapse ทำได้ดี มีความสวยงาม และสามารถผสม Footage ที่เป็นเทคนิค Hyperlapse เข้ากับ Scene ภาพปกติได้ดีจากการใช้เทคนิคในการ Transition โดยเฉพาะการ Zoom In หรือ Zoom Out อย่างรวดเร็วจาก Scene ปกติไปยังภาพ Hyperlapse
  3. การใช้เทคนิคการซ้อนภาพ ยังไม่สามารถถ่ายทำและตัดต่อได้อย่างสมบูรณ์ โดยสามารถอธิบายได้จากแบบประเมินจากกลุ่มผู้ชม 100 คน ที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับที่มาก ซึ่งยังไม่ใช่ในระดับที่ มากที่สุด และจากผู้เชี่ยวชาญในด้านสารคดี คุณคริสโตเฟอร์ วอชิงตัน ที่กล่าวว่า เทคนิค Double Exposure ดูแล้วสามารถเข้าใจได้ว่าต้องการนำมาเป็นตัวสรุปเนื้อหา แต่ยังเกิดการให้ความรู้สึกเหมือนเป็นสิ่งที่กำลังจะส่งต่อบทไปยังอีกบทหนึ่ง ซึ่งอาจจะเกิดจากการที่บทที่ผ่านมาไม่ได้ถูกส่งมาให้ใช้ Double Exposure เป็นส่วนจบหรือ Outro นี้ เลยทำให้เกิดความรู้สึกว่า ยาวเกินไปเล็กน้อย จึง ทำให้สามารถมองเห็นความผิดพลาดของเทคนิคได้จนเห็นชัด จึงอาจควรทำให้ตัวระยะเวลาของเทคนิคนั้นสั้นลงมาเล็กน้อยเพื่อที่จะทำให้เทคนิคมีความเหมาะสมมากขึ้น แต่โดยรวมถือว่าโอเคที่ใส่ เข้ามาในตอนท้ายเพราะเป็นการเพิ่มมิติของงานได้ดี ไม่เช่นนั้นตัวเนื้อหาอาจจะเป็นการเล่าแบบทางเดียว ซึ่งถือว่า นำเทคนิคนี้มาใช้ได้ดี และจากผู้เชี่ยวชาญในด้านการตัดต่อ คุณซัมมิต เกตุใหม่ ที่กล่าวว่า การตัดต่อ Double Exposure อยู่ในระดับพอใช้ได้ การดูดสีเพื่อแยกฉาก Green Screen กับตัวแบบมีความเคลียร์ในระดับหนึ่งแต่ยังไม่ทั้งหมด ภาพ Footage ที่ใช้เป็นภาพซ้อนใน Double Exposure มีความหลากหลาย ถ่ายทอดความเป็นกรุงเทพมหานครได้ในระดับค่อนข้างดี และถ้าหาก จะวางภาพ Double Exposure ไว้ใช้ในตอนจบ ก็ควรจะมีการสื่ออารมณ์ของตัวแบบให้ชัดเจนมากกว่านี้ เช่น ตัวแบบรู้สึกมีความสุขหลังจากได้ไปในสถานที่ต่าง ๆ เป็นต้น

ข้อเสนอแนะ

จากการศึกษาการผลิตรายการสารคดีทางโทรทัศน์โดยใช้เทคนิคการย้อมสีภาพ เทคนิค Hyperlapse และเทคนิค Double Exposure เพื่อเพิ่มอรรถรสในการรับชม กลุ่มผู้ศึกษาได้มีข้อเสนอแนะเพื่อเป็นประโยชน์ในการนำผลงานชิ้นนี้ไปทำการต่อยอดในการศึกษาต่อไป ดังนี้

  1. การทำ Hyperlapse โดยไม่ใช้การวัดระยะโดยละเอียดและไม่ใช้อุปกรณ์เสริมอย่าง Motor Slider สามารถทำในลักษณะ Dolly In หรือ Out ได้ง่ายกว่าการทำในลักษณะหมุนรอบสถานที่หรือวัตถุ ทั้งนี้เกิดจากการเคลื่อนกล้องในลักษณะเป็นเส้นตรงสามารถกำหนดจุดตั้งของวัตถุที่ถ่ายได้ง่ายกว่าการหมุนรอบสิ่งนั้น
  2. การจัดแสง Double Exposure ควรใช้ภาพที่เจาะลงไปให้มีสีดำหรือภาพที่มี Contrast จากตัวแบบสูง เพื่อที่จะสามารถทำให้ภาพมองเห็นได้ชัดเจนกว่าภาพที่มี Contrast ต่ำ