The development of an augmented reality book for broadcast course for undergraduate students in Faculty of communication arts, eastern ASIA University

โดย ศักดินนท์ พุ่มพฤกษ์

ปี 2559 


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพหนังสือความจริงเสริม วิชา การกระจายเสียงและแพร่ภาพ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักศึกษาที่เรียนด้วยหนังสือความจริงเสริม วิชา การกระจายเสียงและแพร่ภาพ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะนิเทศศาสตร์ ที่มีต่อหนังสือความจริงเสริม วิชา การกระจายเสียงและแพร่ภาพ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน ได้มาโดยวิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ หนังสือความจริงเสริม วิชา การกระจายเสียงและแพร่ภาพ แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และการทดสอบค่าที (t-test) แบบ dependent

ผลการวิจัยพบว่า หนังสือความจริงเสริม วิชา การกระจายเสียงและแพร่ภาพ มีคุณภาพด้านสื่อในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.52 และด้านเนื้อหาอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.93 และมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์เท่ากับ 81.50/82.83 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 14.60 มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 17.57 การทดสอบค่าที มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อหนังสือความจริงเสริม อยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.63


Abstract

The research aimed to 1) develop and achievement of augmented reality book for broadcast course undergraduate students at The Faculty of Communication Arts, Eastern Asia University, 2) compare the pretest and posttest results using the augmented reality book, and 3) study the students’ satisfaction on the use of augmented reality book.

The sample group was consisted of 30 undergraduate students in the Faculty of Communication Arts, Eastern Asia University selected via purposive sampling method. The research instrument used for collecting data were the developed augmented reality book for broadcast course, the quality assessment form, the academic achievement tests, and the students’ satisfaction questionnaires. The data were analyzed using mean and dependent sample t-test.

The research found that 1) the overall quality of the augmented reality book for broadcast course was at the highest level with the average score of 4.52 and the quality of the contents was at the highest level with the average score of 4.93 and the E1/E2 efficiency index of the augmented reality book was 81.50/82.83, 2) The pretest average score was 14.60 while the posttest average score was 17.57 at a significant level of 0.05, and 3) the students’ satisfaction on the augmented reality book was at a high level with the average score of 4.63.

 

Downloadการพัฒนาหนังสือความจริงเสริม วิชา การกระจายเสียงและแพร่ภาพสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย