Short film by the color grading techniques

จัดทำโดย ภุชงค์ เที่ยงธรรม, จริยา โป๊ะอ้น และ ธีระพันธ์ วงศ์ละม้าย

ปีการศึกษา 2555


บทคัดย่อ (Abstract)

ปริญญานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ ศึกษาการใช้เทคนิคการย้อมสีภาพ ในการผลิตภาพยนตร์สั้นโดยใช้เทคนิคการย้อมสีภาพ เพื่อใช้ในการทดลอง

การศึกษาเรื่อง การผลิตภาพยนตร์สั้น โดยใช้เทคนิคการย้อมสีภาพ โดยศึกษาจากการถ่ายทำภาพยนตร์สั้น เรื่อง “ The Siren” ความยาว 25 นาที มีเนื้อหาเกี่ยวกับการมีสัมผัสที่ 6 ของชายคนหนึ่ง วิธีการศึกษา ผู้ศึกษาได้ถ่ายทำด้วยกล้อง DSLR (Digital Single Lens Reflex) CANON รุ่น 600D บันทึกลงคอมพิวเตอร์ นำมาตัดต่อลงบนชุดคอมพิวเตอร์พื้นฐาน Microsoft Windows 8 และย้อมสีภาพด้วยโปรแกรม Adobe Premiere CS6 ใช้โปรแกรม Adobe Audition CS6 ในการปรับแต่งเสียง และใช้โปรแกรม Adobe After Effect ในการทำ Credit ของภาพยนตร์ แล้วจึงนำมาบันทึกลงบนแผ่น DVD จากนั้นนำมาทดสอบเพื่อประเมินผลกับกลุ่มตัวอย่าง ที่มีอายุตั้งแต่ระหว่าง 18-20 ปี จำนวน 30 คน โดยใช้วิธีเลือกแบบบังเอิญ

ผลการศึกษาพบ การผลิตภาพยนตร์สั้นโดยการใช้เทคนิคการย้อมสีภาพ สามารถช่วยให้ผู้ชมเกิดอารมณ์ร่วมและยังทำให้ภาพยนตร์มีความน่าสนใจ กลุ่มเป้าหมายมีความคิดเห็นดังนี้ การเรียบเรียงเนื้อหาอยู่ในระดับ “ดี” (arithmetic mean = 4.47) ความเหมาะสมของเนื้อหาอยู่ในระดับ (arithmetic mean = 4.57) ภาษาได้ถูกต้องเหมาะสมในระดับ “ดี” (arithmetic mean = 4.40) ความน่าสนใจของเทคนิคที่ใช้ในการนำเสนออยู่ในระดับ “ดี” ( arithmetic mean= 4.23) การย้อมสีภาพเพื่อสื่ออารมณ์ของภาพยนตร์อยู่ในระดับ “ดี” (arithmetic mean=4.42) ความเหมาะสมของเวลาอยู่ในระดับ “ดี” (arithmetic mean = 4.63) เสียงดนตรีประกอบของสื่ออยู่ในระดับ “ดี” (arithmetic mean = 4.60) ความสมจริงของสื่ออยู่ในระดับ “ดี” (arithmetic mean = 4.62) ความชัดเจนในการอธิบายเนื้อหาอยู่ในระดับ “ดีมาก” (arithmetic mean = 4.63) คุณภาพของภาพยนตร์สั้นอยู่ในระดับ “ดี” (arithmetic mean = 4.10)


วัตถุประสงค์ของการศึกษา

  1. เพื่อผลิตภาพยนตร์สั้นเรื่อง The Siren สัญญาณมรณะ โดยใช้เทคนิคการย้อมสีภาพ
  2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อภาพยนตร์สั้น

ขอบเขตของการศึกษา

การศึกษาเรื่อง การผลิตภาพยนตร์สั้น โดยใช้เทคนิคการย้อมสีภาพ โดยศึกษาจากการถ่ายทำภาพยนตร์สั้น เรื่อง “ The Siren” ความยาว 25 นาที มีเนื้อหาเกี่ยวกับการมีสัมผัสที่ 6 ของชายคนหนึ่ง วิธีการศึกษา ถ่ายทำด้วยกล้อง DSLR (Digital Single Lens Reflex) CANON รุ่น 600D บันทึกลงคอมพิวเตอร์ นำมาตัดต่อลงบนชุดคอมพิวเตอร์พื้นฐาน Microsoft Windows 8 และย้อมสีภาพด้วยโปรแกรม Adobe Premiere CS6 ใช้โปรแกรม Adobe Audition CS6 ในการปรับแต่งเสียง และใช้โปรแกรม Adobe After Effect ในการทำ Credit ของภาพยนตร์ แล้วจึงนำมาบันทึกลงบนแผ่น DVD จากนั้นนำมาทดสอบเพื่อประมวลผลกลับกลุ่มผู้ชม ที่มีอายุตั้งแต่ระหว่าง 18-20 ปี จำนวน 30 คน กับกลุ่มที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านสื่อสารมวลชน/นิเทศสาสตร์ จำนวน 3 ท่าน

ขั้นตอนในการศึกษา

  1. ศึกษาวิธีการทำภาพยนตร์สั้น
  2. วางแผนการดำเนินงาน
  3. เขียนบทภาพยนตร์
  4. เสนออาจารย์ที่ปรึกษา
  5. คัดเลือกนักแสดง
  6. หาสถานที่ในการถ่ายทำภาพยนตร์
  7. ดำเนินการถ่ายภาพยนตร์
  8. ตัดต่อ
  9. ทดลอง
  10. สรุปผล

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ผู้ชมได้รับความเพลิดเพลินในการรับชมและได้แง่คิดที่แฝงอยู่ในภาพยนตร์
  2. เพื่อเป็นทางเลือกหนึ่งให้กับผู้ที่สนใจหนังสั้นและเป็นการตีแผ่อีกหนึ่งเรื่องราวที่เกิดขึ้นในสังคม
  3. เพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้ทีต้องการผลิตภาพยนตร์สั้น ได้ศึกษาแนวทางและปัญหาที่พบเพื่อเป็นแนวในการพัฒนาต่อไป

สรุปผลการศึกษา

จากผลการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็น นักศึกษาที่อายุระหว่าง 18 – 25 ปี จำนวน 30 คน แบ่งเป็นเพศชาย 20 คน เพศหญิง 10 คน และกำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้น ชั้นปีที่ 2 จำนวน 5 คน ชั้นปีที่ 3 จำนวน 2 คน ชั้นปีที่ 4 จำนวน 23 คน จากผลการประเมินพบว่าปริญญานิพนธ์เรื่องการผลิตภาพยนตร์สั้นโดยใช้เทคนิคการย้อมสี (Short film by the color grading techniques) กลุ่มตัวอย่างได้แสดงความคิดเห็นในแต่ละหัวข้อซึ่งประกอบไปด้วย การเรียบเรียงเนื้อหาที่เข้าใจง่าย ความเหมาะสมของเนื้อหา ใช้ภาษาได้ถูกต้องเหมาะสม ความน่าสนใจของเทคนิคที่ใช้ในการนำเสนอ ความเหมาะสมของเวลา เสียงดนตรีประกอบ ความสมจริง ประโยชน์ที่ได้รับ คุณภาพของโครงการโดยคะแนนเฉลี่ยของปริญญานิพนธ์นั้นอยู่ในเกณฑ์ “ดี”

ภาพยนตร์สั้นเรื่องนี้มีความน่าสนใจเพราะมีการใช้เทคนิคในการย้อมสีภาพและเสียงประกอบที่ช่วยให้ผู้ชมเกิดอารมณ์ร่วมกับภาพยนตร์ ทั้งยังถ่ายทำด้วยการใช้มุมกล้องที่หลากหลายและการตัดต่อภาพยนตร์ที่ทำให้ผู้ชมได้ตื่นเต้น และลุ้นระทึกตลอดการรับชมภาพยนตร์

อภิปรายผลการศึกษา

เรื่อง การผลิตภาพยนตร์สั้นโดยใช้เทคนิคการย้อมสี (Short film by the color grading techniques) พบว่า การใช้เทคนิคการย้อมสีภาพ สามารถช่วยให้ผู้ชมเกิดอารมณ์ร่วมและยังทำให้ภาพยนตร์มีความน่าสนใจ โดยสังเกตได้จากการประเมินผลจากการสำรวจจากกลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่ที่ชื่นชอบภาพยนตร์และให้เสียงตอบรับที่รวมถึงสังเกตจากยอดการเข้าชมใน www.youtube.com

ข้อเสนอแนะ

  1. มุมกล้องของภาพยนตร์ควรมีความหลากหลายมากกว่านี้ เพื่อช่วยให้ภาพยนตร์มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น วิธีแก้ไขคือ ตัดภาพให้แคบลงเพื่อเพิ่มมุมมองและช่วยให้เห็นอารมณ์ของนักแสดงที่ชัดเจน
  2. ควรคำนึงถึงเรื่องของสี และรายละเอียดของตัวละครต้องยังคงเห็นรายละเอียดได้ชัดเจน
    เพราะถ้าไม่เห็นรายละเอียดผู้ชมก็จะไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น วิธีการแก้ไขคือ ควรย้อมสีในแต่ละซีนให้มีความชัดเจน เพื่อช่วยให้ผู้ชมเข้าใจมากยิ่งขึ้น
  3. การบันทึกเสียงนอกสถานที่ยังมีเสียงรบกวนอยู่บ้างวิธีการแก้ไขอาจใช้วัสดุ เช่น รีเฟล็กซ์ มากั้นทิศทางที่เสียงรบกวนจะเข้ามา

รับชมผลงาน