THE CONSTRUCTION OF WEBSITE FOR PUBLIC RELATION TEMPLE IN RATCHABURI

จัดทำโดย สหกันต์ ลาสิงห์;จีรัชญ์ แพทอง;ภคมน ภูริกมลมาศ และ ศรัณย์พร โรจน์สังวรณ์

หลักสูตร เทคโนโลยีมัลติมีเดีย

ปีการศึกษา 2560


บทคัดย่อ

ปริญญานิพนธ์เล่มนี้ มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการผลิตเว็บไซต์เพื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยววัดจังหวัดราชบุรี เพื่อประเมินคุณภาพของเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยววัดจังหวัดราชบุรี และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ที่เข้าใช้เว็บไซต์ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยววัดจังหวัด

การศึกษางานวิจัยครั้งนี้ได้ผลิตเว็บไซต์เพื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยววัดจังหวัดราชบุรี โดยใช้โปรแกรมโปรแกรมอะโดบี มิวส์ ซีซี (Adobe Muse CC) แล้วจึงนำเว็บไซต์ที่ได้ไปให้ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้านประเมินคุณภาพ แล้วจึงนำกลับมาปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาความพึงพอใจของผู้ที่เข้าใช้เว็บไซต์ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยววัดจังหวัดราชบุรี คือ ประชาชนทั่วไปภายในจังหวัดราชบุรี อายุตั้งแต่ 21-40 ปี จานวน 40 คน จากวิธีการสุ่ม โดยให้กลุ่มตัวอย่างทำแบบสอบถามหลังจากที่ได้เข้าใช้เว็บไซต์เพื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยววัดจังหวัดราชบุรี แล้วทำการวิเคราะห์ผล และสรุปผลด้วยค่าสถิติแบบหาค่าเฉลี่ย และการหาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

จากผลการวิจัยพบว่าสรุปได้ว่า การผลิตเว็บไซต์เพื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยววัดจังหวัดราชบุรี เมื่อทำการประเมินคุณภาพของเว็บไซต์โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ในภาพรวมทางด้านเนื้อหาอยู่ในระดับ ดี (?̅= 4.33, S.D. = 0.21) ภาพรวมทางด้านกราฟิกและการออกแบบเว็บไซต์อยู่ในระดับ ดีมาก (?̅= 4.52, S.D. = 0.38) และภาพรวมทางด้านเทคนิคอยู่ในระดับ ดีมาก (?̅= 4.67, S.D. = 0.58) เมื่อทำการประเมินความพึงพอใจโดยกลุ่มตัวอย่างจำนวน 40 คน พบว่า ในภาพรวมทางด้านเนื้อหาอยู่ในระดับ พึงพอใจมาก (?̅= 3.98, S.D. = 0.07) ภาพรวมทางด้านการออกแบบอยู่ในระดับ พึงพอใจมาก (?̅= 4.13, S.D. = 0.08) และภาพรวมทางด้านภาพรวมของเว็บไซต์อยู่ในระดับ พึงพอใจมาก (?̅= 4.16, S.D. = 0.07)

คำสาคัญ : พารัลแลกซ์สกอร์ลิ่ง, ประชาสัมพันธ์, การท่องเที่ยว, วัดในจังหวัดราชบุรี


วัตถุประสงค์ของการวิจัย

  1. เพื่อผลิตเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยววัดจังหวัดราชบุรี
  2. เพื่อประเมินคุณภาพของเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยววัดจังหวัดราชบุรี
  3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ที่เข้าใช้เว็บไซต์ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยววัดจังหวัดราชบุรี

ขอบเขตการวิจัย

  1. ขอบเขตด้านเนื้อหา
    การวิจัยครั้งนี้ทาการศึกษาครอบคลุมพื้นที่เฉพาะในจังหวัดราชบุรี เพื่อศึกษาการท่องเที่ยวและผลิตเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยววัดของจังหวัดราชบุรี ได้แก่

    1. วัดถ้ำน้ำ
    2. วัดป่าพุทธาราม (ถ้าสติ)
    3. วัดเขาค่าง
    4. วัดมหาธาตุวรวิหาร
    5. วัดขนอน
    6. วัดคงคาราม
    7. วัดหนองหอย
    8. วัดพระศรีอารย์
    9. วัดถ้ำสิงโตทอง (พิพิธภัณฑ์มงคลนาวิน)
  2. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
    1. ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
      ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ประชาชนทั่วไปภายในจังหวัดราชบุรี อายุตั้งแต่ 21-40 ปี
    2. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
      กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ประชาชนทั่วไปภายในจังหวัดราชบุรี อายุตั้งแต่ 21-40 ปี จำนวน 40 คน

นิยามศัพท์เฉพาะ

  1. เว็บไซต์แบบพารัลแลกซ์สกอร์ลิ่ง หมายถึง เว็บไซต์ที่จะทำให้ผู้ใช้ได้มีปฏิสัมพันธ์กับเว็บได้มากที่สุด เพราะเราสามารถเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ไปตามการเคลื่อนที่ของเมาส์ โดยการใช้เทคนิคของการเลื่อนเมาส์ ทำให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์ให้ความสนใจกับเรื่องราวที่เราต้องการนำเสนอมากขึ้น และรู้สึกสนุกไปกับการท่องเว็บไซต์ ซึ่งเป็นการดึงดูดให้ผู้พบเห็นเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราได้มากยิ่งขึ้น
  2. ประชาสัมพันธ์ หมายถึง การติดต่อสื่อสารจากองค์การไปสู่สาธารณชนที่เกี่ยวข้องรวมถึงรับฟังความคิดเห็นและประชามติจากสาธารณชนที่มีต่อองค์การ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเชื่อถือ ภาพลักษณ์ ความรู้ และแก้ไขข้อผิดพลาดในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
  3. การท่องเที่ยว หมายถึง หมายถึงการเดินทางเพื่อพักผ่อนหย่อนใจหรือเพื่อความสนุกสนานตื่นเต้นหรือเพื่อหาความรู้ องค์กรการท่องเที่ยวของสหประชาชาติ (World Tourism Organization) กาหนดไว้ว่า การท่องเที่ยวหมายถึงการเดินทาง โดยระยะทางมากกว่า 40 กิโลเมตรจากบ้าน เพื่อจุดประสงค์ในการพักผ่อนหย่อนใจ
  4. วัดในจังหวัดราชบุรี คือ สถานที่ทางพระพุทธศาสนาภายในจังหวัดราชบุรีที่นำมาเสนอในเว็บไซต์ ซึ่งประกอบด้วย วัดถ้ำน้ำ วัดป่าพุทธาราม (ถ้ำสติ) วัดเขาค่าง วัดมหาธาตุวรวิหาร วัดขนอน วัดคงคาราม วัดหนองหอย วัดพระศรีอารย์ วัดถ้ำสิงโตทอง (พิพิธภัณฑ์มงคลนาวิน)

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. เว็บไซต์ที่ผลิตขึ้นช่วยในการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมภาพลักษณ์การท่องเที่ยววัดในจังหวัดราชบุรี
  2. เว็บไซต์นำเสนอรายละเอียดและข้อมูลที่ตั้งของสถานที่ท่องเที่ยว
  3. เว็บไซต์สามารถเป็นแนวทางใหม่ให้กับเว็บประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวได้

สรุปผลการประเมินคุณภาพของเว็บไซต์เพื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยววัดจังหวัดราชบุรี

จากผลการวิจัยพบว่า เมื่อทาการประเมินคุณภาพของเว็บไซต์โดยผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ท่าน สามารถแบ่งออกเป็น 3 ด้านได้แก่

ด้านเนื้อหา แบ่งออกได้เป็น 6 หัวข้อย่อย คือ ความถูกต้องของเนื้อหา ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.33 ความครบถ้วนของเนื้อหา ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.33 ความชัดเจนของเนื้อหา ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.33 ความน่าสนใจในการนำเสนอเนื้อหา ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.33 ความเหมาะสมของปริมาณเนื้อหาแต่ละหน้า ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.67 และความถูกต้องของภาษาที่ใช้ ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.00 โดยเมื่อนำคะแนนการประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาทั้งหมดมาเฉลี่ยรวมแล้วจะได้ค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับ ดี หรือค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.33

ด้านกราฟิกและการออกแบบเว็บไซต์ แบ่งออกได้เป็น 7 หัวข้อย่อย คือ ความเหมาะสมของการจัดรูปแบบในเว็บไซต์ง่ายต่อการใช้งาน ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.33 ความเหมาะสมของสีในการออกแบบเว็บไซต์ ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.33 ความเหมาะสมของขนาด สีและรูปแบบของตัวอักษร ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 5.00 การสื่อความหมายของภาพกราฟิกที่ใช้ ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.33 ความเหมาะสมในการจัดวางองค์ประกอบของหน้าเว็บไซต์ ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.67 ความสอดคล้องของภาพและเนื้อหา ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 5.00 และความเหมาะสมของการใช้สีพื้นหลัง ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.00 โดยเมื่อนำคะแนนการประเมินคุณภาพด้านกราฟิกและการออกแบบเว็บไซต์ทั้งหมดเฉลี่ยรวมแล้วจะได้ค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับ ดีมาก หรือค่าเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 4.52

ด้านเทคนิค แบ่งออกได้เป็น 2 หัวข้อย่อย คือ ความแปลกใหม่และความน่าสนใจในการนำเสนอ ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.67 และความต่อเนื่องในการใช้เทคนิคเพื่อแสดงข้อมูลในเว็บไซต์ ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.67 โดยเมื่อนำคะแนนการประเมินคุณภาพด้านเทคนิคทั้งหมดมาเฉลี่ยรวมแล้วจะได้ค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับ ดีมาก หรือค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.67


สรุปผลความพึงพอใจของเว็บไซต์เพื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยววัดจังหวัดราชบุรี

จากผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 40 คน เป็นเพศชาย 19 คน เป็นเพศหญิง 21 คน มีอายุระหว่าง 21 – 25 ปี จำนวน 19 คน อายุระหว่าง 26-30 ปี จำนวน 14 คน อายุระหว่าง 31-35 ปี จำนวน 5 คน อายุระหว่าง 36-40 ปี จำนวน 2 คน โดยสามารถสรุปผลของการประเมินความพึงพอใจของเว็บไซต์เพื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยววัดจังหวัดราชบุรี ที่แบ่งออกเป็น 3 หัวข้อหลักได้ดังนี้

ด้านเนื้อหา แบ่งออกได้เป็น 4 หัวข้อย่อย คือ ความเหมาะสมของเนื้อหากับภาพประกอบ ได้ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.02 ความน่าสนใจในการนาเสนอเนื้อหา ได้ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.00 ความสมบูรณ์ของเนื้อหา ได้ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.05 และปริมาณของเนื้อหาในแต่ละหน้า ได้ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.87 โดยเมื่อนำคะแนนการประเมินความพึงพอใจด้านเนื้อหาทั้งหมดมาเฉลี่ยรวมแล้วจะได้ค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับ พึงพอใจมากหรือค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.98

ด้านการออกแบบ แบ่งออกได้เป็น 3 หัวข้อย่อย คือ ความเหมาะสมของกราฟิกและภาพเคลื่อนไหวที่ใช้ประกอบ ได้ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.22 ลักษณะของสีตัวอักษรและความน่าสนใจของภาพที่ใช้ประกอบ ได้ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.12 และรูปแบบและขนาดของตัวอักษรที่ใช้มีความชัดเจน ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.05 โดยเมื่อนำคะแนนการประเมินความพึงพอใจด้านการออกแบบมาเฉลี่ยรวมแล้วจะได้ค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก หรือค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.13

ด้านภาพรวมของเว็บไซต์ แบ่งออกได้เป็น 3 หัวข้อย่อย คือ ความน่าสนใจของเว็บไซต์ ได้ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.25 ความน่าสนใจของสถานที่ท่องเที่ยวที่นำเสนอ ได้ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.15 และความพึงพอใจภาพรวมเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยววัดจังหวัดราชบุรี ได้ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.10 โดยเมื่อนำคะแนนการประเมินความพึงพอใจด้านภาพรวมของเว็บไซต์มาเฉลี่ยรวมแล้วจะได้ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ พึงพอใจมาก หรือค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.16

อภิปรายผลการวิจัย

การผลิตเว็บไซต์เพื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยววัดจังหวัดราชบุรี ในครั้งนี้มีข้อผิดพลาดเรื่องการวางแผนจัดการก่อนลงสถานที่ไปถ่ายทำและเก็บข้อมูลของแต่ละวัด เพราะทางผู้วิจัยไม่ได้ศึกษาข้อมูลของแต่ละวัดอย่างละเอียด ทำให้ต้องเสียเวลาไปกับการเดินหาจุดเด่นของแต่ละวัดรวมถึงต้องหาข้อมูลและประวัติของวัดที่จะนำมาใช้อีกด้วย แต่ในส่วนอื่น ๆ ไม่มีข้อผิดพลาดใด ๆ เพราะทางผู้วิจัยได้แบ่งหน้าที่กันทำและจัดการงานอย่างเป็นระบบ นอกจากนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากอาจารย์ที่ปรึกษาปริญญานิพนธ์ว่า ควรปรับปรุงแก้ไขหรือเพิ่มเติมตรงไหน การเตรียมงานและการวางแผนจัดการงานก่อนการผลิตถือเป็นเรื่องสาคัญและส่งผลต่อคุณภาพของงานเป็นอย่างมาก เนื่องจากการวางแผนทำให้สามารถทำงานได้อย่างเป็นระบบ รอบคอบ รวดเร็ว ทั้งนี้การวางแผนยังทำให้พบกับปัญหาและอุปสรรคน้อยลงไปมากเมื่อถึงเวลาการทำงานจริงอีกด้วย

ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป

  1. ควรทำเว็บไซต์ให้สามารถใช้งานและแสดงผลได้หลากหลายแพลตฟอร์ม

ข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการสอบปริญญานิพนธ์

  1. ควรปรับขนาดของตัวอักษรให้อ่านง่ายขึ้น
  2. ต้องการให้เว็บไซต์แสดงตาแหน่งสถานที่ท่องเที่ยวบริเวณใกล้เคียง

รับชมผลงาน