VIRTUAL TOUR MEDIA PRODUCTION FOR PUBLIC RELATIONS KOH LARN

จัดทำโดย นิติศักดิ์ อินทิแสง;เจตนันท์ นิพรรัมย์;ณัฐนนท์ บุญธรรม และ ชัชชานนท์ เสียงแจ้ว

หลักสูตร เทคโนโลยีมัลติมีเดีย

ปีการศึกษา 2560


บทคัดย่อ

ปริญญานิพนธ์เรื่องนี้เป็นการศึกษาการผลิตสื่อนำชมเสมือนจริงเพื่อการประชาสมพันธ์สถานที่ท่องเที่ยวเกาะล้าน โดยมีวัตถุประสงค์ของการศึกษา เพื่อการประชาสัมพันธ์สถานที่ท่องเที่ยวเกาะล้านในรูปแบบสื่อนาชมเสมือนจริง เพื่อศึกษาระดับคุณภาพของสื่อนำชมเสมือนจริงของผู้เชี่ยวชาญ เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของสื่อนำชมเสมือนจริงของกลุ่มตัวอย่าง

วิธีการศึกษาทำโดย ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการผลิตสื่อนำชมเสมือนจริงและข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวเกาะล้าน กำหนดพื้นที่และรูปแบบการนำเสนอ โดยนำเสนอบริเวณหาดต่าง ๆ บนสถานที่ท่องเที่ยวเกาะล้าน โดยรูปแบบภาพพาโนรามา เริ่มจากนำภาพพาโนรามาที่ถ่ายจากกล้อง GEAR 360 มาตกแต่งแล้วนำภาพที่ได้มาต่อกันให้สมบูรณ์ รวมทั้งเนื้อหาและองค์ประกอบต่าง ๆ มาสร้างสื่อนำชมเสมือนจริง ต่อมาก็ทำการทดสอบการทำงานเพื่อหาข้อผิดพลาด และนำมาปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่อง ลำดับต่อมานำสื่อที่เสร็จสมบูรณ์ไปประเมินระดับคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด 6 ท่าน โดยแบ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อนำชมเสมือนจริงจำนวน 3 ท่าน และผู้เชี่ยวชาญด้านกราฟิกจำนวน 3 ท่าน และนำไปวัดผลกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นบุคคลทั่วไปที่มีอายุ 21-30 ปี จานวน 40 คน โดยใช้การสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling)

ผลการศึกษาสรุปว่า ผลการวิเคราะห์ระดับคุณภาพของสื่อจากผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อนำชมเสมือนจริง ในด้านภาพพาโนรามา ในด้านการออกแบบ ในด้านเสียง และในด้านการใช้งาน อยู่ระดับคุณภาพ มาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.97 ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของสื่อจากผู้เชี่ยวชาญด้านกราฟิก ในด้านภาพพาโนรามา ในด้านการออกแบบ ในด้านเสียง และในด้านการใช้งาน อยู่ระดับความพึงพอใจมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.25 และผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจที่มีต่อสื่อจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 40 คน ในด้านภาพพาโนรามา ด้านการออกแบบ และด้านการใช้งาน อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.25

คำสาคัญ : สื่อนาชมเสมือนจริง, การประชาสัมพันธ์, สถานที่ท่องเที่ยวเกาะล้าน


วัตถุประสงค์ของการศึกษา

  1. เพื่อออกแบบสื่อการนาชมเสมือนจริง ประชาสัมพันธ์สถานที่ท่องเที่ยวเกาะล้าน
  2. เพื่อศึกษาระดับคุณภาพที่มีต่อสื่อการนาชมเสมือนจริงสถานที่ท่องเที่ยวเกาะล้านจากผู้เชี่ยวชาญ
  3. เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจจากกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อสื่อการนาชมเสมือนจริงสถานที่ท่องเที่ยวเกาะล้าน

ขอบเขตการศึกษา

  1. ขอบเขตด้านเนื้อหา
    ผู้ศึกษาจะนำเสนอสถานที่ท่องเที่ยวเกาะล้านเฉพาะส่วนพื้นที่ชายหาด รวมถึงสถานที่สาคัญทั้งหมด 8 ตำแหน่ง แบ่งเป็น 123 จุด ใช้อุปกรณ์กล้องถ่ายภาพ 360 องศา เป็นตัวถ่ายโดยไม่ทำภาพที่มีความละเอียดสูง (HDR) และการนำเสนอสื่อนำชมเสมือนจริง ด้วยขนาด 1920 x 1080 พิกเซล เท่านั้น ไม่มีการเพิ่มลดขนาดของสื่อนำชมเสมือนจริง
  2. ขอบเขตด้านโปรแกรมพัฒนา
    โปรแกรมที่ใช้ในการจัดทำและออกแบบสื่อนำชมเสมือนจริง สถานที่ท่องเที่ยวเกาะล้านประกอบด้วยโปรแกรมดังนี้

    1. โปรแกรม Samsung Gear 360
    2. โปรแกรม Pano 2QTVA
    3. โปรแกรม Tourweaver Professional Edition
    4. โปรแกรม Adobe Photoshop
    5. โปรแกรม Adobe Illustrator
    6. โปรแกรม Adobe Premiere Pro
    7. โปรแกรม Adobe After Effects
    8. โปรแกรม Autodesk Maya

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

  1. ประชากร
    ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคคลทั่วไปที่มีช่วงอายุ 21-30 ปี
  2. กลุ่มตัวอย่าง
    กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ กลุ่มบุคคลทั่วไปที่มีช่วงอายุ 21-30 ปี จำนวน 40 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
  3. ผู้เชี่ยวชาญ
    ในการประเมินผลงานสื่อนำชมเสมือนจริงสถานที่ท่องเที่ยวเกาะล้าน โดยแบ่งผู้เชี่ยวชาญในการประเมิน 2 กลุ่มดังต่อไปนี้

    1. ผู้เชี่ยวชาญในด้านสื่อนำชมเสมือนจริงจำนวน 3 ท่าน โดยคัดเลือกจากผู้ที่ประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับงานด้านสื่อนาชมเสมือนจริงที่มีประสบการณ์ไม่น้อยกว่า 1 ปี
    2. ผู้เชี่ยวชาญในด้านกราฟิกจำนวน 3 ท่าน โดยคัดเลือกจากผู้ที่ประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับงานด้านกราฟิกที่มีประสบการณ์ไม่น้อยกว่า 1 ปี

นิยามศัพท์เฉพาะ

  1. ภาพพาโนรามา หมายถึง ภาพถ่ายที่ถ่ายเป็นชุดมาเรียงต่อ ๆ กันรวมเป็นภาพใหญ่ภาพเดียว
  2. สื่อนาชมเสมือนจริง หมายถึง สื่อมัลติมีเดียหรือสื่อผสม ทาภาพเป็น 3 มิติ อาจเป็นภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหวก็ได้ดูภาพได้ทุกทางอาจมีเสียงคาบรรยายประกอบ หรือเป็นวีดีทัศน์สั้น ๆ ให้ผู้ชมรู้สึกเสมือนอยู่ในสถานที่จริง
  3. การประชาสัมพันธ์ (Public Relation) หมายถึง การส่งข้อมูลไปยังกลุ่มเป้าหมายและต้องคำนึงถึงความสำคัญของข้อมูลที่ส่งกับมาจากกลุ่มเป้าหมายในรูปแบบความคิดเห็น การยอมรับ และความร่วมมือในเรื่องต่าง ๆ แล้วนำกลับมาประยุกต์ใช้
  4. สื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์ (Media For Public Relation) หมายถึง เครื่องมือหรือตัวกลางที่ใช้ในการนำเรื่องราวจากผู้ส่งไปยังผู้รับสาร ในปัจจุบันสื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์มีมากมายและหลากหลาย อันเป็นผลเนื่องมาจากการพัฒนาด้านเทคโนโลยีของโลก

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ได้รับรู้ถึงกระบวนการผลิตสื่อนาชมเสมือนจริงเพื่อการประชาสัมพันธ์สถานที่ท่องเที่ยว เกาะล้าน
  2. ได้รับรู้ถึงระดับคุณภาพของสื่อนาชมเสมือนจริงสถานที่ท่องเที่ยวเกาะล้าน จากผู้เชี่ยวชาญ
  3. ได้รับรู้ถึงระดับความพึงพอใจของสื่อนาชมเสมือนจริงสถานที่ท่องเที่ยวเกาะล้าน จากกลุ่มตัวอย่าง

สรุปผลระดับคุณภาพของสื่อจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อนำชมเสมือนจริง

ผลสรุประดับคุณภาพของสื่อนำชมเสมือนจริงสถานที่ท่องเที่ยวเกาะล้าน (Virtual Tour Media Production for Public Relations Koh Larn) จำนวน 3 ท่าน สำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อนำชมเสมือนจริง และด้านกราฟิกได้มีการแบ่ง 4 หัวข้อ ซึ่งได้สรุปในแต่ละส่วนดังนี้

  1. ผลสรุปการประเมินระดับคุณภาพด้านภาพพาโนรามา
    ผลการประเมินของผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคสื่อนำชมเสมือนจริงในด้านภาพพาโนรามา พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.50 และมีค่าเบี่ยงเบนอยู่ที่ 0.81 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ความต่อเนื่องของภาพในการนำเสนอมีความเหมาะสม อยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.00 และค่าเบี่ยงเบนอยู่ที่ 0 รองลงมา จุดกึ่งกลางของภาพที่มีความเหมาะสมกับระดับสายตา อยู่ในระดับ ปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.33 และค่าเบี่ยงเบนอยู่ที่ 0.57
  2. ผลสรุปการประเมินระดับคุณภาพด้านการออกแบบ
    ผลการประเมินของผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคสื่อนำชมเสมือนจริงในด้านการออกแบบ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.05 และมีค่าเบี่ยงเบนอยู่ที่ 0.26 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า รูปแบบของแผนที่มีความเหมาะสมกับสื่อ อยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.33 และมีค่าเบี่ยงเบนอยู่ที่ 0.57 รองลงมา สีสันในการออกแบบสื่อมีความเหมาะสม อยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.00 และมีค่าเบี่ยงเบนอยู่ที่ 0.00
  3. ผลสรุปการประเมินความพึงพอใจด้านเสียง
    ผลการประเมินของผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคสื่อนำชมเสมือนจริง ในด้านเสียง พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.44 และมีค่าเบี่ยงเบนอยู่ที่ 0.57 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ความชัดเจนของเสียงดนตรีประกอบ อยู่ในระดับ มากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.66 และค่าเบี่ยงเบนอยู่ที่ 0.57 รองลงมา ความน่าสนใจของเสียงดนตรีประกอบ อยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.33 และมีค่าเบี่ยงเบนอยู่ที่ 0.57
  4. ผลสรุปการประเมินความพึงพอใจด้านการใช้งาน
    ผลการประเมินของผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคสื่อนำชมเสมือนจริงในด้านการใช้งาน พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.91 และค่าเบี่ยงเบนอยู่ที่ 0.42 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าคู่มือการใช้งานเข้าใจง่าย อยู่ในระดับ มากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.66 และมีค่าเบี่ยงเบนอยู่ที่ 0.57 รองลงมา การปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกับผู้ใช้ อยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.00 และมีค่าเบี่ยงเบนอยู่ที่ 0.00

สรุปผลระดับคุณภาพของสื่อจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านกราฟิก

ผลสรุประดับคุณภาพของสื่อนำชมเสมือนจริงสถานที่ท่องเที่ยวเกาะล้าน (Virtual Tour Media Production for Public Relations Koh Larn) จำนวน 3 ท่าน ด้านกราฟิกได้มีการแบ่ง 3 หัวข้อ ซึ่งได้สรุปในแต่ละส่วนดังนี้

  1. ผลสรุปการประเมินระดับคุณภาพด้านภาพพาโนรามา
    ผลการประเมินของผู้เชี่ยวชาญด้านกราฟิกในด้านภาพพาโนรามา พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.41 และมีค่าเบี่ยงเบนอยู่ที่ 0.28 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ความต่อเนื่องของภาพในการนำเสนอมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.66 และมีค่าเบี่ยงเบนอยู่ที่ 0.57 รองลงมา จุดกึ่งกลางของภาพที่มีความเหมาะสมกับระดับสายตา อยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.33 และมีค่าเบี่ยงเบนอยู่ที่ 0.57
  2. ผลสรุปการประเมินระดับคุณภาพด้านการออกแบบ
    ผลการประเมินของผู้เชี่ยวชาญด้านกราฟิกด้านการออกแบบ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.11 และมีค่าเบี่ยงเบนอยู่ที่ 0.47 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า สีสันในการออกแบบสื่อมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.33 และมีค่าเบี่ยงเบนอยู่ที่ 0.57 รองลงมา รูปแบบของตัวอักษรมีความเหมาะสมกับสื่อ อยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.33 และมีค่าเบี่ยงเบนอยู่ที่ 0.57
  3. ผลการประเมินของผู้เชี่ยวชาญด้านกราฟิกในด้านการใช้งาน พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.25 และมีค่าเบี่ยงเบนอยู่ที่ 0.42 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกับผู้ใช้ อยู่ในระดับ มากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.66 และมีค่าเบี่ยงเบนอยู่ที่ 0.57 รองลงมา ความเหมาะสมของการผสมผสานสื่อต่าง ๆ เข้าด้วยกัน อยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.00 และมีค่าเบี่ยงเบนอยู่ที่ 0.00

สรุปผลความพึงพอใจต่อสื่อจากกลุ่มตัวอย่าง

ผลสรุปการศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อสื่อนำชมเสมือนจริงเพื่อการประชาสัมพันธ์สถานที่ท่องเที่ยวเกาะล้าน จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นบุคคลทั่วไปที่มีอายุตั้งแต่ 21-30 ปี จำนวน 40 คน โดยการใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) มีการแบ่ง 3 หัวข้อ ซึ่งได้สรุปในแต่ละส่วนดังนี้

  1. ผลสรุปการประเมินความพึงพอใจด้านภาพพาโนรามา
    ผลการประเมินของกลุ่มตัวอย่างในด้านภาพพาโนรามา พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับความพึงพอใจ มาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.20 และมีค่าเบี่ยงเบนอยู่ที่ 0.60 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ความสวยงามของภาพพาโนรามา อยู่ในระดับความพึงพอใจ มาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.30 และ ค่าเบี่ยงเบนอยู่ที่ 0.51 รองลงมา การเชื่อมต่อภาพมีความสมบูรณ์ อยู่ในระดับความพึงพอใจ มาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.27 และค่าเบี่ยงเบนอยู่ที่ 0.67
  2. ผลสรุปการประเมินความพึงพอใจด้านการออกแบบ
    ผลการประเมินของกลุ่มตัวอย่างในด้านการออกแบบพบว่า โดยรวมอยู่ในระดับความพึงพอใจ มาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.27 และมีค่าเบี่ยงเบนอยู่ที่ 0.68 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การสื่อความหมายของสัญลักษณ์ (Icon) ปุ่มกด อยู่ในระดับความพึงพอใจ มากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.50 และ ค่าเบี่ยงเบนอยู่ที่ 0.75 รองลงมา รูปแบบของแผนที่มีความเหมาะสมกับสื่อ อยู่ในระดับความพึงพอใจ มาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.40 และค่าเบี่ยงเบนอยู่ที่ 0.70
  3. ผลสรุปการประเมินความพึงพอใจด้านการใช้งาน
    ผลการประเมินของกลุ่มตัวอย่างในด้านการใช้งานพบว่า โดยรวมอยู่ในระดับความพึงพอใจ มาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.30 และมีค่าเบี่ยงเบนอยู่ที่ 0.65 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า คู่มือการใช้งานเข้าใจง่าย อยู่ในระดับความพึงพอใจ มาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.40 และค่าเบี่ยงเบนอยู่ที่ 0.67 รองลงมา ความเหมาะสมของการผสมผสานสื่อต่าง ๆ เข้าด้วยกัน อยู่ในระดับความพึงพอใจ มาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.37 และค่าเบี่ยงเบนอยู่ที่ 0.62

ปัญหาและอุปสรรค

การผลิตสื่อนาชมเสมือนจริงเพื่อการประชาสัมพันธ์สถานที่ท่องเที่ยวเกาะล้าน ตลอดจนการประเมินระดับคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญและประเมินระดับความพึงพอใจจากกลุ่มตัวอย่าง ได้พบปัญหาและอุปสรรคดังนี้

  1. สถานที่ในการถ่ายทำค่อนข้างมีนักท่องเที่ยวจำนวนมากทำให้ยากต่อการถ่ายทำ
  2. ในการทำสื่อในแต่ละขั้นตอนต้องใช้เวลาในการทาค่อนข้างมาก
  3. เนื่องจากตัวงานมีขนาดใหญ่ทาให้ต้องใช้คอมพิวเตอร์ที่มีสเปกค่อนข้างสูงถึงจะเพียงพอในการทำงาน
  4. สถานที่ท่องเที่ยวเกาะล้านมีขนาดใหญ่ ในการถ่ายทำจึงต้องใช้เวลาค่อนข้างมาก
  5. เนื่องจากภาพพาโนรามาที่ได้ถ่ายทำมามีจานวนมากจึงใช้เวลาในการรีทัชนาน

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

  1. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากผู้เชี่ยวชาญ
    1. ข้อเสนอแนะด้านคุณภาพของภาพพาโนรามา
      ในส่วนของความคมชัดของภาพพาโนรามาทาออกมาได้อยู่ในเกณฑ์ดี แต่จะพบว่า เกือบทุกภาพพาโนรามามีปัญหาในส่วนของการรีทัชภาพเหนือศีรษะ และภาพใต้จุดที่ยืนอยู่ โดยจะเป็นเนินเส้นประเล็ก ๆ สีดา แสดงถึงว่า ภาพต่อกันไม่สนิท หรือในหลาย ๆ ภาพส่วนของพื้นยังต่อกันได้ไม่เนียน รวมทั้งมีลักษณะเหมือนภาพถูกรวบดึงไว้กึ่งกลางของภาพ
    2. ข้อเสนอแนะด้านการเชื่อมโยงพาโนรามา
      โครงการนี้ใช้การเชื่อมโยงผ่านแผนที่ และไม่ได้มีการใช้งานเรดาร์เพื่อแสดงทิศทาง ทำให้ผู้รับชมไม่ทราบว่า ขณะที่กาลังหมุนภาพอยู่นั้น กาลังหันไปในทิศทางใด ถ้ามีการประยุกต์ใช้เรดาร์บนแผนที่ ก็น่าจะได้ประโยชน์ในเรื่องของการบอกทิศทาง รวมทั้งความเกี่ยวเนื่องกับภาพรวมของแผนที่ทั้งหมด ในส่วนของ Hotspot มีการใช้งานในการเปิดดูข้อมูลคำอธิบายของแต่ละจุด และในบางจุดใช้ในการเชื่อมโยงไปยังจุดอื่น ๆ ในบริเวณใกล้ ๆ กัน แต่ไม่มีการเชื่อมโยงระหว่างจุดบนแผนที่ ทำให้ขาดความต่อเนื่องของเรื่องราว ผู้ชมจะไม่รับรู้ความสัมพันธ์ระหว่างแต่ละจุด รวมทั้งไม่มีการเชื่อมโยงเรื่องราวว่า ทำไมต้องมาที่จุดนี้ ทำไมจากจุดนี้ไปยังอีกจุดหนี่ง ดังนั้น ความรู้สึกในภาพรวมจะรู้สึกว่า เป็นโครงการที่รวมภาพพาโนรามาในจุดที่ผู้ทำอยากให้ดูเท่านั้น แต่ไม่ได้มีเรื่องราวที่ต่อเนื่องกัน เหมือนหนังสือที่มีหลายบท และแต่ละบทไม่เกี่ยวกัน
    3. ข้อเสนอแนะด้านขนาดของตัวอักษรและสัญลักษณ์
      ขนาดของตัวอักษรมีขนาดพอใช้ แต่อาจจะเล็กไปนิดสาหรับผู้สูงอายุ ทำให้ดูลำบาก อ่านไม่สบายตา ส่วนสัญลักษณ์ที่ใช้นำทางนั้นทำออกมาได้ดี แต่สัญลักษณ์ที่เป็นจุดเชื่อมโยงในภาพ (Hotspot) ไม่ใช่สัญลักษณ์ที่สื่อความหมาย ควรออกแบบให้สื่อความหมาย เพราะไอคอน หรือสัญลักษณ์พวกนี้แทนคำยาว ๆ หรือแทนความหมายของส่วนต่าง ๆ เช่น ถ้าเราเดินทางท่องเที่ยวไปในบางสถานที่ เราจะพบว่า อาจจะมีบูธ มีซุ้ม หรือมีอาคาร ที่มีสัญลักษณ์ ตัว I ที่มาจากคำว่า Information ซึ่งเป็นที่รู้กันว่า ถ้าเราเข้าไปที่นั่นก็จะสามารถสอบถามหรือได้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสถานที่นั้น ๆ ได้ หรือบางสถานที่มีไอคอนเหมือนรูปคนครึ่งตัวใส่หมวกตำรวจ เราก็จะเดาได้ว่า นั้นอาจจะเป็นป๋อมหรือสถานีตารวจ เป็นต้น สรุปว่า ควรออกแบบสัญลักษณ์ให้สื่อ หรือให้แทนความหมาย และควรเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้กันเป็นสากล คือ ดูแล้วเดาได้ หรือรู้ความหมายได้ในทันที
    4. ข้อเสนอแนะด้านการผสานสื่อ
      ในโครงการนี้มีการใช้สื่อมัลติมีเดียชนิดภาพนิ่งและเสียง ควรจะเติมสื่อมัลติมีเดีย ชนิดอื่น ๆ เข้าไปเพื่อเพิ่มความรู้ ช่วยให้เกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น เช่น มีวิดีโอเล่าเรื่องราว ความเป็นมาของสถานที่นั้น ๆ เล่าจุดที่น่าสนใจ หรือเกร็ดสั้น ๆ ที่จะช่วยเพิ่มมูลค่าของภาพในแต่ละสถานที่ ไม่ใช่แค่หมุนดูเพื่อรับชมความสวยงามเท่านั้น แต่ควรจะสามารถสื่อสารความหมายได้ เพราะเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เราเอามาประยุกต์ไช้ในโปรเจ็กต์ ควรจะตอบสนองวัตถุประสงค์ในการเป็นเทคโนโลยีเพื่อการสื่อสาร ดังนั้น ถ้าเพิ่มสื่อชนิดอื่น ๆ เช่น วิดีโอเล่าเรื่อง เสียงคำบรรยายสถานที่ หรือแอนิเมชันอธิบายประวัติศาสตร์ ความเป็นมา หรือเหตุการณ์สาคัญที่เคยเกิดขึ้น ก็จะช่วยให้โครงการนี้น่าสนใจเพิ่มมากขึ้น
    5. ข้อเสนอแนะด้านเนื้อหาในภาพรวม
      ปัญหาสาคัญของโครงการนี้ คือ หลังจากดูแล้วอาจจะยังไม่เข้าใจว่า ผู้พัฒนา ต้องการให้เราทำอะไร เช่น เขานำเราเที่ยว เขาเล่าเรื่องประวัติศาสตร์ หรือเขาพาเราไปตามหาผู้ร้ายที่ประกาศจับจากในภาพเปิดของโครงการ ถ้าจะเป็นเหตุผลสุดท้าย ก็ควรจะมีลักษณะเป็นเกมที่แต่ละจุดให้เราค้นหาผู้ร้ายที่ซ่อนอยู่ในจุดต่าง ๆ แต่ถ้าเป็นการนำชม นำเที่ยว ก็ควรจะมีธีมที่แข็งแรง มีการเล่าเรื่องที่ชวนติดตาม และประกอบด้วยสื่อมัลติมีเดียที่ช่วยขยายความส่วนต่าง ๆ ในแต่ละจุด
  2. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากกลุ่มตัวอย่าง
    1. กลุ่มตัวอย่างไม่มีการให้คาเสนอแนะ
  3. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากผู้วิจัย
    1. การผลิตสื่อนำชมเสมือนจริง มีข้อจำกัดในการใช้งานมักเกิดปัญหาทางด้านโปรแกรม หากไม่ศึกษาความรู้เพิ่มเติมในเรื่องของโปรแกรมที่ใช้ในการทำก็จะทำให้เสียเวลาในการลงโปรแกรมใหม่อยู่บ่อยครั้ง
    2. ควรมีการศึกษาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสื่อนำชมเสมือนจริงใหม่ ๆ อยู่ตลอด เพราะว่า เทคโนโลยีดังกล่าวมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว และให้เหมาะสมกับการใช้งานในยุคปัจจุบัน
    3. การผลิตสื่อนำชมเสมือนจริงต้องมีอุปกรณ์ที่เพียงพอและพอต่อการใช้งาน เพื่อความสะดวกและพร้อมในการถ่ายทำ
  4. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากคณะกรรมการสอบปริญญานิพนธ์
    ผลงานโดยรวมค่อนข้างออกมาดี สามารถสื่อสารได้อาจจะมีความเหลื่อมหรือซ้อนของภาพบ้าง สีสันดูจืดไปหน่อย และตำแหน่งขาตั้งกล้องต่ำเกินไป ทาให้ความสวยงามบางส่วนหายไป