CREATION OF MOTION GRAPHIC ON PREVENT ALZHEIMER’S DISEASE

จัดทำโดย สถาพร สุขสุวรรณ และ ศิยามล มะโนวงค์

หลักสูตร เทคโนโลยีมัลติมีเดีย

ปีการศึกษา 2560


บทคัดย่อ

ปริญญานิพนธ์เรื่องการผลิตสื่อโมชั่นกราฟิก เรื่อง รู้ทันอัลไซเมอร์ ลดเสี่ยงเลี่ยงได้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ผลิตสื่อโมชั่นกราฟิก เรื่อง “รู้ทันอัลไซเมอร์ ลดเสี่ยงเลี่ยงได้” 2) ศึกษาระดับคุณภาพของสื่อโมชั่นกราฟิกจากผู้เชี่ยวชาญ 3) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นที่มีต่อสื่อโมชั่นกราฟิกจากกลุ่มตัวอย่าง

วิธีการศึกษาการผลิตสื่อโมชั่นกราฟิกเรื่อง รู้ทันอัลไซเมอร์ ลดเสี่ยงเลี่ยงได้ โดยได้นำข้อมูลต่าง ๆ เช่น สถิติผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ อายุ อัตราการเสียชีวิต การทางานของโรค เป็นต้น และนำไปประเมินคุณภาพกับผู้เชี่ยวชาญ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านเนื้อหา ด้านโมชั่น และด้านเสียง รวมถึงได้ประเมินความพึงพอใจจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นบุคคลที่อาศัยอยู่ในชุมชนเคหะรังสิต คลอง 6 ที่มีอายุระหว่าง 40 – 60 ปี จำนวน 50 คน โดยการหาค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลจากการศึกษาพบว่า การผลิตสื่อโมชั่นกราฟิกเรื่อง รู้ทันอัลไซเมอร์ ลดเสี่ยงเลี่ยงได้ มีผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่ ด้านเนื้อหา ด้านการออกแบบกราฟิก ด้านเทคนิคเสียง และด้านเทคนิคการเคลื่อนไหวและตัดต่อ มีค่าเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 4.23 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.44 ซึ่งผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับ ดี และจากการประเมินความพึงพอใจจากกลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยด้านเนื้อหา ด้านการออกแบบ ด้านเทคนิคเสียง มีค่าเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 4.17 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.23 ซึ่งผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับ ดี เช่นเดียวกัน

คำสาคัญ : โมชั่นกราฟิก, โรคอัลไซเมอร์


วัตถุประสงค์ของงานวิจัย

  1. เพื่อผลิตสื่อโมชั่นกราฟิก เรื่อง รู้ทันอัลไซเมอร์ ลดเสี่ยงเลี่ยงได้
  2. เพื่อศึกษาระดับคุณภาพของสื่อโมชั่นกราฟิก เรื่อง รู้ทันอัลไซเมอร์ ลดเสี่ยงเลี่ยงได้
    จากผู้เชี่ยวชาญ
  3. เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นที่มีต่อสื่อโมชั่นกราฟิก เรื่อง รู้ทันอัลไซเมอร์ ลดเสี่ยงเลี่ยงได้ จากกลุ่มตัวอย่าง

ขอบเขตของงานวิจัย

  1. ขอบเขตด้านเนื้อหา
    ผู้วิจัยศึกษากระบวนการจัดทาสื่อโมชั่นกราฟิก เรื่อง รู้ทันอัลไซเมอร์ ลดเสี่ยงเลี่ยงได้ โดยมีความยาว 4 นาที ทั้งนี้ผู้วิจัยได้ศึกษาครอบคลุมประเด็นเรื่อง

    1. สถิติผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์
    2. อายุ
    3. อัตราการเสียชีวิต
    4. พฤติกรรมหรือสาเหตุที่เสี่ยงต่อโรคอัลไซเมอร์
    5. การทางานของโรค
    6. อาการในระยะตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงระยะสุดท้าย
    7. การป้องกันหรือชะละให้เกิดโรคช้าลง
  2. ขอบเขตด้านเทคนิค
    โปรแกรมในการผลิตสื่อสื่อโมชั่นกราฟิก เรื่อง รู้ทันอัลไซเมอร์ ลดเสี่ยงเลี่ยงได้ ประกอบด้วยโปรแกรมดังต่อไปนี้

    1. โปรแกรมสาหรับออกแบบภาพ Adobe illustrator
    2. โปรแกรมสาหรับตัดเสียง Adobe Audition
    3. โปรแกรมสาหรับทาภาพเคลื่อนไหว Adobe After Effect
    4. โปรแกรมสาหรับตัดต่อ Adobe Premiere Pro
  3. ประชากร
    ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยนี้ ได้แก่ บุคคลที่อาศัยอยู่ในชุมชนเคหะรังสิต คลอง 6 อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี
  4. กลุ่มตัวอย่าง
    กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยนี้ ได้แก่ บุคคลที่อาศัยอยู่ในชุมชนเคหะรังสิต คลอง 6 อำเภอธัญบุรี โดยมีอายุระหว่าง 40 – 60 ปี จำนวน 50 คน
  5. ผู้เชี่ยวชาญ
    ในการประเมินผลคุณภาพของสื่อโมชั่นกราฟิก เรื่อง รู้ทันอัลไซเมอร์ ลดเสี่ยงเลี่ยงได้ โดยแบ่งผู้เชี่ยวชาญในการประเมินดังต่อไปนี้

    1. ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเนื้อหา จำนวน 1 ท่าน
    2. ผู้เชี่ยวชาญทางด้านโมชั่น จำนวน 1 ท่าน
    3. ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเสียง จำนวน 1 ท่าน

คำนิยามศัพท์เฉพาะ

โมชั่นกราฟิก หมายถึง การสร้างภาพด้วยกราฟิกให้มีการเคลื่อนไหวได้ในหลากหลายมิติ ซึ่งต่างกับแอนิเมชั่น ตรงที่ไม่มีตัวละครเป็นตัวดำเนินเรื่อง หรือมีบทพูด และการตัดฉากสลับเหมือนภาพยนตร์ แต่จะเป็นการสร้างการเคลื่อนไหวให้กับกราฟิกแทน และใช้การพากย์เสียงบรรยาย
ประกอบ นิยมใช้กับเรื่องราวที่มีข้อมูลเยอะ เข้าใจยาก ให้ออกมาในรูปเเบบที่สนุก และเข้าใจง่าย
มากขึ้น

โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s Disease) หมายถึง อาการสมองเสื่อมชนิดหนึ่งที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ในผู้สูงอายุ ในระยะแรกมีผลทำให้ผู้ป่วยมีอาการหลงลืม หรือสูญเสียความทรงจำระยะสั้น อาการจะลุกลามตามระยะเมื่ออายุมากขึ้น ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาให้หายขาดได้

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ได้ผลิตสื่อสื่อโมชั่นกราฟิกเรื่อง รู้ทันอัลไซเมอร์ ลดเสี่ยงเลี่ยงได้
  2. ทราบระดับคุณภาพของสื่อโมชั่นกราฟิกเรื่อง รู้ทันอัลไซเมอร์ ลดเสี่ยงเลี่ยงได้ ของผู้เชี่ยวชาญ
  3. ทราบระดับความคิดเห็นที่มีต่อสื่อโมชั่นกราฟิกเรื่อง รู้ทันอัลไซเมอร์ ลดเสี่ยงเลี่ยงได้
    ของกลุ่มตัวอย่าง

สรุปผลคุณภาพของสื่อจากผู้เชี่ยวชาญ

ผลสรุปการศึกษาการผลิตสื่อโมชั่นกราฟิก เรื่อง รู้ทันอัลไซเมอร์ ลดเสี่ยงเลี่ยงได้ผลการประเมินจากแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ประกอบด้วยด้านเนื้อหาด้านการออกแบบกราฟิก ด้านเสียง ด้านเทคนิคการเคลื่อนไหวและการตัดต่อ หลังจากได้รับชมสื่อโมชั่นกราฟิกเรื่อง รู้ทันอัลไซเมอร์ ลดเสี่ยงเลี่ยงได้แล้ว ได้สรุปผลในแต่ละด้านดังนี้

  1. ผลสรุปการประเมินคุณภาพด้านเนื้อหา
    จากการประเมินคุณภาพของสื่อโมชั่นกราฟิก เรื่อง รู้ทันอัลไซเมอร์ ลดเสี่ยงเลี่ยงได้
    ในด้านเนื้อหา พบว่า ค่าเฉลี่ยในด้านเนื้อหาโดยรวมแล้วอยู่ในระดับ ดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.47 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.58
  2. ผลสรุปการประเมินคุณภาพด้านการออกแบบและเทคนิคการตัดต่อเคลื่อนไหว
    จากการประเมินคุณภาพของสื่อโมชั่นกราฟิก เรื่อง รู้ทันอัลไซเมอร์ ลดเสี่ยงเลี่ยงได้
    ในด้านการออกแบบกราฟิก พบว่า ในด้านเสียงโดยรวมอยู่ในระดับ ดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.94 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.26
  3. ผลสรุปการประเมินคุณภาพด้านเสียง
    จากการประเมินคุณภาพของสื่อโมชั่นกราฟิก เรื่อง รู้ทันอัลไซเมอร์ ลดเสี่ยงเลี่ยงได้
    ในด้านเสียง พบว่าในด้านเสียงโดยรวมอยู่ในระดับ ดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.40 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.40
  4. ผลสรุปการประเมินคุณภาพด้านเทคนิคการเคลื่อนไหวและตัดต่อ
    จากการประเมินคุณภาพของสื่อโมชั่นกราฟิกเรื่อง รู้ทันอัลไซเมอร์ ลดเสี่ยงเลี่ยงได้ในด้านเทคนิคการเคลื่อนไหวและการตัดต่อ พบว่า ในด้านเทคนิคการเคลื่อนไหว และการตัดต่อโดยรวมอยู่ในระดับ ดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.11 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.53

สรุปผลการศึกษาความพึงพอใจจากกลุ่มตัวอย่าง

ผลสรุปการศึกษาการผลิตสื่อโมชั่นกราฟิก เรื่อง รู้ทันอัลไซเมอร์ ลดเสี่ยงเลี่ยงได้ผล การประเมินจากแบบสอบถามความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง บุคคลที่อาศัยอยู่ในชุมชนเคหะรังสิต คลอง 6 อายุระหว่าง 40-60 ปี จานวน 50 คน ผลสรุปความคิดเห็นที่มีต่อสื่อโมชั่นกราฟิกเรื่อง “รู้ทันอัลไซเมอร์ ลดเสี่ยงเลี่ยงได้” ในด้านความพึงพอใจ ดังนี้

  1. ผลสรุปการประเมินความพึงพอใจด้านเนื้อหา
    จากการประเมินความพึงพอใจของสื่อโมชั่นกราฟิก เรื่อง รู้ทันอัลไซเมอร์ ลดเสี่ยงเลี่ยงได้ในด้านความเนื้อหาของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.14 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.68
  2. ผลสรุปการประเมินความพึงพอใจด้านการออกแบบ
    จากการประเมินความพึงพอใจของสื่อโมชั่นกราฟิก เรื่อง รู้ทันอัลไซเมอร์ ลดเสี่ยงเลี่ยงได้ในด้านการออกแบบของกลุ่มตัวอย่าง พบว่าค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.09 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.70
  3. ผลสรุปการประเมินความพึงพอใจด้านเทคนิคเสียง
    จากการประเมินความพึงพอใจของสื่อโมชั่นกราฟิก เรื่อง รู้ทันอัลไซเมอร์ ลดเสี่ยง เลี่ยงได้ในด้านเทคนิคเสียงของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.27 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.70

อภิปรายผล

จากการประเมินผลการศึกษาการผลิตสื่อโมชั่นกราฟิก เรื่อง รู้ทันอัลไซเมอร์ ลดเสี่ยงเลี่ยง
ได้จากผู้เชี่ยวชาญสามารถอภิปรายผลได้ดังนี้

การศึกษาและจัดทำวิทยานิพนธ์การผลิตสื่อโมชั่นกราฟิก เรื่อง รู้ทันอัลไซเมอร์ ลดเสี่ยงเลี่ยงได้ อยู่ในระดับคุณภาพที่ดี โดยมีค่าเฉลี่ยรวมทั้งหมดอยู่ที่ 4.47 สามารถสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์ให้กับกลุ่มตัวอย่างที่รับชมได้เป็นอย่างดี ผลประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาโดยรวม มีความถูกต้อง ลำดับการนำเสนอดีมากทำให้เข้าใจง่าย ในด้านเทคนิคการเคลื่อนไหวและการตัดต่อ สอดคล้องกับเนื้อหาทั้งในด้านความคิดสร้างสรรค์ การจัดวางองค์ประกอบ ตัวอักษร และสี มีความเหมาะสม การลำดับภาพต่อเนื่องน่าสนใจและเข้าใจง่าย และในด้านเสียงบรรยาย และเสียงดนตรีประกอบมีความชัดเจน ทำให้สื่อน่าสนใจ สามารถนำไปเผยแพร่ หรือประชาสัมพันธ์ได้

จากการประเมินผลความพึงพอใจของสื่อโมชั่นกราฟิก เรื่อง “รู้ทันอัลไซเมอร์ ลดเสี่ยงเลี่ยงได้” โดยกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 50 คน ซึ่งเป็นบุคคลที่อาศัยอยู่ในชุมชนเคหะรังสิต คลอง 6 อายุระหว่าง 40-60 ปี ผลประเมินความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับที่มาก เนื้อหามีความน่าสนใจ
และสามารถสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์ ด้านการออกแบบเหมาะสมกับกลุ่มตัวอย่าง
เสียงมีความน่าสนใจ ทำให้เกิดความคล้อยตามได้

ปัญหาและอุปสรรค

  1. ข้อมูลเนื้อหามีปริมาณมาก และละเอียดอ่อน
  2. เนื้อหาต้องมีความถูกต้องและน่าเชื่อถือ จึงต้องตรวจสอบแหล่งที่มาของข้อมูลอยู่เสมอ

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากผู้เชี่ยวชาญและกลุ่มตัวอย่าง

  1. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากผู้เชี่ยวชาญ
    1. ข้อเสนอแนะด้านเนื้อหา
      มีการเรียบเรียงเนื้อหาดี แต่ข้อมูลบางส่วน อาทิ การทำงานของสมอง และระยะของโรคควรทำให้กระชับกว่านี้ หรือตัดเนื้อหาส่วนนี้ออก
    2. ข้อเสนอแนะด้านการออกแบบและเทคนิคการตัดต่อเคลื่อนไหว
      การลำดับภาพน่าสนใจ แต่การเคลื่อนไหวของตัวการ์ตูนที่เอามาเล่นมีน้อยไปทำให้ขาดความน่าสนใจตรงนั้น ถ้าเพิ่มการเคลื่อนไหวให้ภาพไม่ดูหยุดนิ่งน่าจะมีความน่าสนใจมากขึ้นและเนื่องจากภาพมีเลเยอร์เพียง 2 ชั้น คือ ตัวการ์ตูน และพื้นหลัง ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีในด้านจุดสนใจ จุดที่ต้องโฟกัส แต่ในด้านความสวยงามทำให้ขาดมิติไป ถ้าสามารถเพิ่มเลเยอร์มากขึ้น อาทิ ภาพพื้นหลังอื่น ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องจะทำให้งานมีมิติมากขึ้น
    3. ข้อเสนอแนะด้านเสียง
      ปรับเรื่องสมดุลของเสียง ให้เสียงบรรยาย ชัดเจนสุด เสียงประกอบช่วงที่มีบรรยายควรเบาลง เนี้อหาควรปรับให้กระชับกว่านี้ เพื่อคนบรรยายจะได้ไม่ต้องพูดเร็วจนเกินไปเพื่อให้พอดีกับภาพ
    4. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากกลุ่มตัวอย่าง ต้องการให้สื่อกระชับรวดเร็ว และต้องการให้มีสีสันมากกว่านี้

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากผู้วิจัย

  1. ควรใส่พื้นหลังเพิ่มอีกหนึ่งชั้น เพื่อให้องค์ประกอบภาพดูน่าสนมากขึ้น
  2. การผลิตสื่อ มีข้อจากัดด้านเทคนิคการเคลื่อนไหวในบางช่วง ผู้วิจัยควรศึกษาหาความรู้ด้านเทคนิคเพิ่มเติมในเรื่องของโปรแกรมที่ใช้ผลิตสื่อ เพื่อปรับปรุงงานให้ดียิ่งขึ้น

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากคณะกรรมการสอบปริญญานิพนธ์

การผลิตสื่อโมชั่นกราฟิก เรื่อง รู้ทันอัลไซเมอร์ ลดเสี่ยงเลี่ยงได้ได้ข้อเสนอเพิ่มเติมจากคณะกรรมการในสอบปริญญานิพนธ์ ในการปรับปรุงให้มีคุณภาพมากขึ้น ซึ่งข้อเสนอแนะมีดังต่อไปนี้

  1. การเคลื่อนไหวบางช่วงในสื่อมีน้อยไป ทางานให้งานดูไม่น่าสนใจ
  2. ควรปรับเสียงให้มีความคมชัดขึ้น และเพิ่มเสียงเอฟเฟคในช่วงแรก
  3. การใช้คาอ่านตัวเลขไม่เป็นทิศทางเดียวกัน

รับชมผลงาน