Motion Graphic Production for Dangers of Diet Pills

จัดทำโดย ทิวาพร ทองสงค์;นารีรัตน เดชา และ จิราภรณ์ โคตรสมบัติ

หลักสูตร เทคโนโลยีมัลติมีเดีย

ปีการศึกษา 2560


บทคัดย่อ

ปริญญานิพนธ์เล่มนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อผลิตโมชั่นกราฟิก เพื่อการรู้เท่าทันอันตรายของยาลดความอ้วน 2) เพื่อประเมินคุณภาพของสื่อโมชั่นกราฟิก เพื่อการรู้เท่าทันอันตรายของยาลดความ อ้วน 3) เพื่อศึกษาพฤติกรรมและทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการรู้เท่าทันอันตรายของยาลดความอ้วน ก่อนและหลังรับชมสื่อ

โดยมีวิธีการศึกษา คือ ทําการประเมินคุณภาพของสื่อผ่านแบบประเมินคุณภาพของสื่อจากผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านเนื้อหา ด้านเทคนิคการผลิตสื่อ และด้านเสียง ด้านละ 1 ท่าน รวม ทั้งสิ้น 3 ท่าน และแบบประเมินพฤติกรรมและทดสอบความรู้ความเข้าใจ ก่อนและหลังรับชมสื่อจาก กลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นเพศหญิง อายุตั้งแต่ 15-25 ปี จํานวน 45 คน

ผลการประเมินคุณภาพของสื่อโมชั่นกราฟิก เพื่อการรู้เท่าทันอันตรายของยาลดความอ้วน โดยผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ท่าน พบว่าคุณภาพของสื่อโมชั่นกราฟิก เพื่อการรู้เท่าทันอันตรายของยาลด ความอ้วน ด้านเนื้อหา อยู่ในระดับคะแนนเฉลี่ย 4.75 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.28 ซึ่งอยู่ในระดับดีมาก ด้านเทคนิคการผลิตสื่อ อยู่ในระดับคะแนนเฉลี่ย 4.75 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.28 ซึ่งอยู่ในระดับ ดีมาก ด้านเสียง อยู่ในระดับคะแนนเฉลี่ย 4.77 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.33 ซึ่งอยู่ในระดับ ดีมาก และความรู้ความเข้าใจก่อนและหลังรับชมสื่อจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นเพศหญิง อายุตั้งแต่ 15-25 ปี จํานวน 45 คน จากการทดสอบหลังรับชมสื่อ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีคะแนนที่เพิ่มขึ้นมากกว่าการทดสอบก่อนการรับชมสื่อ

คําสําคัญ: โมชั่นกราฟิก, การรู้เท่าทัน, อันตราย, ยาลดความอ้วน


วัตถุประสงค์ของการศึกษา

  1. เพื่อผลิตสื่อโมชั่นกราฟิก เพื่อการรู้เท่าทันอันตรายของยาลดความอ้วน
  2. เพื่อประเมินคุณภาพของสื่อโมชั่นกราฟิกเพื่อการรู้เท่าทันอันตรายของยาลดความอ้วน
  3. เพื่อศึกษาพฤติกรรมและทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการรู้เท่าทันอันตรายของยาลด ความอ้วน ก่อนและหลังรับชมสื่อ

ขอบเขตการศึกษา

  1. ขอบเขตด้านเนื้อหา
    ปริญญานิพนธ์เรื่องการผลิตโมชั่นกราฟิก เพื่อการรู้เท่าทันอันตรายของยาลดความอ้วน โดยการค้นคว้าหาข้อมูลจากเอกสารและเว็บไซต์ จัดทําสตอรี่บอร์ด จัดทําสื่อโมชั่นกราฟิก ประกอบ ไปด้วย 3 ส่วน ดังหัวข้อต่อไปนี้

    1. ส่วนนํา กล่าวถึง ค่านิยมของผู้หญิงเกี่ยวกับรูปร่างและความสวยความงาม
    2. ส่วนเนื้อหา กล่าวถึง การใช้ยาลดความอ้วน
    3. ส่วนเนื้อหา กล่าวถึง สารที่พบในยาลดความอ้วน
    4. ส่วนเนื้อหา กล่าวถึง ผลเสียของยาลดความอ้วน
    5. ส่วนสรุป กล่าวถึง คําแนะนําในการลดความอ้วนที่ถูกต้องและการเลือกใช้ยา
  2. ขอบเขตด้านประชากร
    1. ประชากรที่ใช้ในการศึกษาปริญญานิพนธ์การผลิตโมชั่นกราฟิกเพื่อการรู้เท่าทัน อันตรายของยาลดความอ้วน ได้แก่ เพศหญิง อายุตั้งแต่ 15-25 ปี
    2. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาปริญญานิพนธ์ การผลิตโมชั่นกราฟิกเพื่อการรู้เท่า ทันอันตรายของยาลดความอ้วน ได้แก่ เพศหญิง อายุตั้งแต่ 15-25 ปี จํานวน 45 คน
  3. ขอบเขตด้านเทคนิค
    โปรแกรมในการจัดทําปริญญานิพนธ์เรื่องการผลิตโมชั่นกราฟิกเพื่อการรู้เท่าทันอันตราย ของยาลดความอ้วน ประกอบด้วยโปรแกรมดังต่อไปนี้

    1. โปรแกรมสําหรับสร้างภาพเวกเตอร์ โปรแกรมอะโดบี อิลลัสเตรเตอร์ ซีซี (Adobe Illustrator CC)
    2. โปรแกรมสําหรับทําการเคลื่อนไหวภาพ โปรแกรมอะโดบี อาฟเตอร์เอฟเฟ็ค ซี เอส หก (Adobe After Effect CS6)
    3. โปรแกรมสําหรับตัดต่องาน โปรแกรมอะโดบี พรีเมียร์โปร ซีเอสหก (Adobe Premiere Pro CS6)

นิยามศัพท์เฉพาะ

  1. โมชั่นกราฟิก (Motion Graphic) หมายถึง งานกราฟิกที่เคลื่อนไหวได้ในรูปแบบของวิดีโอ ในที่นี้กล่าวถึง การผลิตโมชั่นกราฟิก เพื่อการรู้เท่าทันอันตรายของยาลดความอ้วน
  2. การรู้เท่าทัน (Literacy) หมายถึง ทักษะหรือความสามารถในการมีสติในการรับสาร
  3. อันตราย (Danger) หมายถึง ระดับความรุนแรงที่เป็นผลเนื่องมาจากภัยจากยาลดความอ้วน อันตรายจากภัยอาจจะมีระดับสูงหรือมากน้อยก็ได้ ขึ้นอยู่กับมาตรการในการป้องกัน
  4. ยาลดความอ้วน (Diet pills) หมายถึง ยาที่ใช้ลดน้ําหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติสําหรับผู้ป่วย โรคอ้วนเพื่อลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ

สรุปผลการศึกษา

จากการประเมินผลการศึกษาจากผู้เชี่ยวชาญและกลุ่มตัวอย่างสามารถอภิปรายได้ดังนี้

  1. ผลการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ
    1. ด้านเนื้อหา มีผลตอบรับอยู่ในเกณฑ์ ดีมาก เนื้อหามีความน่าสนใจ เนื้อหามีความสอดคล้องกับสื่อ การลําดับเนื้อหาเป็นขั้นตอนมีความกระชับเข้าใจง่าย และเนื้อหาสามารถสื่อสารให้ผู้รับสารเข้าใจง่าย
    2. ด้านเทคนิคการผลิตสื่อ มีผลตอบรับอยู่ในเกณฑ์ ดีมาก การตัดต่อมีความต่อเนื่อง และเหมาะสมกับสื่อ การจัดองค์ประกอบ สัดส่วนของสื่อมีความเหมาะสมสวยงาม การนําเสนอโมชั่น กราฟิกมีความน่าสนใจและคล้อยตาม และการนําเสนอโมชั่นกราฟิกมีความเหมาะสมต่อเนื้อหา
    3. ด้านเสียง มีผลตอบรับอยู่ในเกณฑ์ ดีมาก เสียงเพลงประกอบพื้นหลังมีความเหมาะสมกับสื่อ เสียงประกอบหรือซาวด์เอฟเฟ็คมีความเหมาะสมกับสื่อ และเสียงบรรยายมีความเหมาะสมกับสื่อ
  2. ผลการประเมินพฤติกรรมและทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสื่อโมชั่นกราฟิกเพื่อการรู้เท่าทันอันตรายของยาลดความอ้วนก่อนและหลังรับชมสื่อ
    1. ผลการประเมินพฤติกรรมของกลุ่มตัวอย่าง จํานวน 45 คน มีผู้ที่เคยใช้ผลิตภัณฑ์ลดความอ้วน จํานวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 15.60 และไม่เคยใช้ผลิตภัณฑ์ลดความอ้วน จํานวน 38 คน คิดเป็นร้อยละ 84.40 สรุปได้ว่า มีจํานวนผู้ที่เคยใช้ผลิตภัณฑ์ลดความอ้วนน้อยกว่าผู้ที่ไม่เคยใช้ ผลิตภัณฑ์ลดความอ้วน
    2. ผลการทดสอบความรู้ความเข้าใจก่อนและหลังรับชมสื่อกับกลุ่มตัวอย่าง จํานวน 45 คน มีผู้ที่ได้คะแนนมากขึ้น จํานวน 25 คน คะแนนเท่าเดิม จํานวน 17 คน และมีคะแนนน้อยลง จํานวน 3 คน

อภิปรายผลการศึกษา

การผลิตสื่อโมชั่นกราฟิก เพื่อการรู้เท่าทันอันตรายของยาลดความอ้วน มีคุณภาพของสื่ออยู่ใน เกณฑ์ที่ดีมาก มีรูปแบบสื่อที่สามารถนําข้อมูลที่ซับซ้อนมาทําให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นและสามารถให้ความรู้กับกลุ่มตัวอย่างได้มากขึ้นหลังจากการรับชมสื่อ

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากคณะกรรมการสอบปริญญานิพนธ์

  1. ควรเพิ่มอารมณ์ของเสียงพากย์ให้มากขึ้น
  2. ข้อมูลบางส่วนไม่ครบถ้วน คณะกรรมการแนะนําให้มีการเพิ่มเติมข้อมูลลงไป
  3. คณะกรรมการเสนอแนะให้มีการอนิเมทตัวละครเพิ่มขึ้น
  4. ปรับภาพกราฟิกในส่วนของภาพเม็ดยาบ้า เสมือนจริงมากกว่าเดิม

รับชมผลงาน