Media Production Motion Graphics of the New Guinea Flatworm
จัดทำโดย อพิศักดิ์ อินทกฤษ;ชุติพร สังวรเวชภัณฑ์ และ ณัฐฐานันท์ ประสงค์คำ
หลักสูตร เทคโนโลยีมัลติมีเดีย
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ (ABSTRACT)
ปริญญานิพนธ์เล่มนี้เป็นการผลิตสื่อโมชั่นกราฟิกเรื่อง หนอนตัวแบนนิวกินี โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง ที่มีต่อสื่อโมชั่นกราฟิก เรื่อง หนอนตัวแบนนิวกินี ซึ่งกลุ่มตัวอย่าง คือ เกษตรกรที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียงที่พบหนอนนิวกินี ในเขตจังหวัดปทุมธานี จำนวน 13 หลังคาเรือน และเพื่อศึกษากระบวนการผลิตสื่อโมชั่นกราฟิก
การศึกษาครั้งนี้ คณะผู้วิจัยได้ทำการศึกษาค้นคว้าและเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อการสร้างสื่อโมชั่นกราฟิกเรื่อง หนอนนิวกินี โดยได้ศึกษาข้อมูลทางด้านการผลิตสื่อโมชั่นกราฟิก และศึกษาข้อมูลด้านเนื้อหา ที่เกี่ยวกับหนอนนิวกินี ในด้านที่มาของหนอนนิวกินี วิธีการกำจัดที่ถูกต้อง จากนั้นจึงนำผลงานที่เสร็จสมบูรณ์แล้วให้ผู้เชี่ยวชาญ 4 ท่าน และกลุ่มตัวอย่างจำนวน 40 คน ประเมินเพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างและประเมินความระดับคุณภาพของผู้เชี่ยวชาญโดยวิเคราะห์เป็นค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า ด้านสื่อโมชั่นกราฟิก และด้านเนื้อหา ของผู้เชี่ยวชาญและกลุ่มตัวอย่าง อยู่ในเกณฑ์ มาก ดังนั้นจึงสรุปโดยรวมได้ว่า สื่อโมชั่นกราฟิก มีเนื้อหาที่ค่อนข้างชัดเจน และเข้าใจง่าย มีการใช้มุมมองหรือการลำดับภาพที่น่าสนใจ รวมถึงให้ความรู้และวิธีการกำจัดอย่างถูกวิธี ซึ่งสามารถนำความรู้ที่ได้จากสื่อโมชั่นกราฟิกไปปรับใช้ได้อย่างเหมาะสม
คำสำคัญ: โมชั่นกราฟิก, หนอนตัวแบนนิวกินี
วัตถุประสงค์ของการศึกษา
- เพื่อผลิตสื่อโมชั่นกราฟิกเรื่อง หนอนตัวแบนนิวกินี
- เพื่อศึกษาระดับคุณภาพของสื่อโมชั่นกราฟิกเรื่อง หนอนตัวแบนนิวกินีของผู้เชี่ยวชาญ
- เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นที่มีต่อสื่อโมชั่นกราฟิกเรื่อง หนอนตัวแบนนิวกินีของกลุ่มตัวอย่าง
ขอบเขตการศึกษา
- ขอบเขตด้านเนื้อหา
การจัดทำปริญญานิพนธ์การผลิตสื่อโมชั่นกราฟิกเรื่อง หนอนตัวแบนนิวกินี โดยความยาวประมาณ 3 นาที ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับหนอนนิวกินี ว่ามีลักษณะอย่างไร ถิ่นกำเนิดที่ไหน เริ่มพบที่ประเทศไทยเมื่อไหร่ ส่งผลกระทบอย่างไรในประเทศไทย และควรจะกำจัดวิธีใด โดยสื่อโมชั่นกราฟิกเรื่อง หนอนตัวแบนนิวกินี จะแบ่งเป็นการนำเสนอในช่วงเริ่มต้น คือ ในโลกโซเชี่ยลมีการเผยแพร่เกี่ยวกับข่าวของหนอนตัวแบนนิวกินีออกมามากมายถึงความอันตรายของหนอนว่าอันตรายยังไง มีผลกระทบอย่างไร เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ที่รับชมสื่อโมชั่นกราฟิก โดยตอนท้ายบอกถึงการวิธีการกำจัดหนอนนิวกินีอย่างถูกวิธี ซึ่งสรุปข้อมูลเกี่ยวกับหนอนนิวกินีให้เป็นประโยชน์ต่อผู้รับชมสื่อ และจะได้นำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง - ขอบเขตด้านเทคนิค
โปรแกรมในการจัดทำปริญญานิพนธ์การผลิตสื่อโมชั่นกราฟิกเรื่อง หนอนตัวแบนนิวกินี ประกอบด้วยโปรแกรมดังต่อไปนี้- โปรแกรมที่ใช้สำหรับตกแต่งภาพและการออกแบบ Adobe Photoshop cs6
- โปรแกรมที่ใช้ในการทำกราฟิก และออกแบบ Adobe Illustrator cs6
- โปรแกรมที่ใช้ในการทำภาพเคลื่อนไหว และ ใส่เอฟเฟคต่าง ๆ ที่ใช้การทำโมชั่น
Adobe After Effects cs6 - โปรแกรมที่ใช้ในการตัดต่อวีดีโอ และภาพที่ใช้ในงานโมชั่น Adobe Premiere Pro cs6
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
- ประชากรในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 30 หลังคาเรือน
- กลุ่มตัวอย่างในอำเภอลำลูกกา จำนวน 13 คน
- กลุ่มตัวอย่างในอำเภอคลองหลวงจำนวน 10 คน
- กลุ่มตัวอย่างในอำเภอธัญบุรีจำนวน 7 คน
ผู้เชี่ยวชาญ
- ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาข้อมูล จำนวน 1 คน โดยคัดเลือกจากผู้มีความเชี่ยวชาญด้านเนื้อหา
เกี่ยวกับหนอนตัวแบนนิวกินี ที่มีประสบการณ์มากกว่า 1 ปี - ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคสื่อโมชั่นกราฟิก จำนวน 3 คน โดยคัดเลือกจากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านกราฟิก และโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับสื่อโมชั่นกราฟิก ที่มีประสบการณ์มากกว่า 1 ปี
คำศัพท์เฉพาะ
- หนอนตัวแบนนิวกินี หมายถึง สัตว์ที่อยู่ในกลุ่มของพวกหนอนตัวแบน ที่มีขนาดความยาว
ประมาณ 4 ถึง 6 เซนติเมตร ลำตัวมีสีน้ำตาลเข้มมีลักษณะแบน ความหนาประมาณ 5 มิลลิเมตร ส่วนหัวและหางมีลักษณะเรียวแหลม และมีดวงตา 2 ข้างอยู่ที่บริเวณหัว หนอนสายพันธุ์นี้มีถิ่นกำเนิดมาจากหมู่เกาะนิวกินี ในประเทศอินโดนีเซีย - โมชั่นกราฟิก หมายถึง งานกราฟิกที่เคลื่อนไหวได้โดยการนำเอามาจัดเรียงต่อ ๆ กัน อธิบายให้เข้าใจอย่างง่าย คือ การทำให้ภาพวาด 2 มิติของเราเคลื่อนไหวได้ เหมือนการทำการ์ตูนแอนิเมชั่นนั้นเอง
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
- ได้รับรู้ถึงกระบวนการ การผลิตสื่อโมชั่นกราฟิก เรื่อง หนอนตัวแบนนิวกินี
- ได้รับรู้ระดับคุณภาพของสื่อโมชั่นกราฟิก เรื่อง หนอนตัวแบนนิวกินีของผู้เชี่ยวชาญ
- ได้รับรู้ระดับความคิดเห็นที่มีต่อสื่อโมชั่นกราฟิก เรื่อง หนอนตัวแบนนิวกินี ของกลุ่มตัวอย่าง
สรุปผลการศึกษา
- สรุปผลการประเมินคุณภาพของผู้เชี่ยวชาญ จากผลการประเมินคุณภาพของผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อโมชั่นกราฟิกจำนวน 3 คน สรุปได้ว่า ด้านเทคนิคพิเศษ อยู่ในระดับ มาก ด้านเนื้อหา อยู่ในระดับ มาก ด้านภาพประกอบ อยู่ในระดับ มาก ด้านเสียง อยู่ในระดับ มาก ด้านประสิทธิภาพสื่อ อยู่ในระดับ มาก
- สรุปผลการประเมินความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง จากผลการประเมินความคิดเห็นของ
กลุ่มตัวอย่าง คือ เกษตรกรที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียงที่พบหนอนนิวกินี ในเขตลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี จำนวน 13 คนจาก 30 คน ทางด้านองค์ประกอบโดยรวมของสื่อโมชั่นกราฟิก อยู่ในระดับ มาก ภาพประกอบ อยู่ในระดับ มาก ด้านเสียง อยู่ในระดับ มากที่สุด ด้านประสิทธิภาพของสื่อ อยู่ในระดับ มากที่สุด
ข้อเสนอแนะ
- ข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ
- ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมด้านเทคนิคพิเศษ คือ ควรเพิ่มเทคนิคในการเคลื่อนไหวของภาพและตัวละครให้น่าสนใจมากกว่านี้ รวมถึงภาพมีความสมูทมากกว่านี้
- ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมด้านเนื้อหา คือ เนื้อหาค่อนข้างดี แต่ควรนำเสนอผลกระทบให้มากกว่านี้
- ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมด้านภาพประกอบ คือ ควรมีภาพประกอบที่เป็นภาพจริงมานำเสนอ และควรมีให้ภาพพื้นหลังมีการเคลื่อนไหวเพื่อดึงดูดความสนใจให้สื่อ
- ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมด้านเสียง คือ เสียงค่อนข้างมีบางจุดที่ขัดแย้งกับซาวด์ประกอบ อีกทั้งเสียงพากย์ควรใส่อารมณ์ในแต่ละคำเพื่อให้เสียงกระตุ้นความสนใจต่อตัวสื่อโมชั่นกราฟิก
- ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมด้านประสิทธิภาพ คือ เข้าถึงได้ทุกกลุ่มเป้าหมาย
- ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม คือ ควรปรับขนาดของตัวสื่อโมชั่นกราฟิกให้มีขนาดที่เหมาะสม
- ข้อเสนอแนะของกลุ่มตัวอย่าง
- ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมด้านองค์ประกอบโดยรวมของสื่อโมชั่นกราฟิก คือ สื่อโดยส่วนใหญ่จะเสนอเป็นข่าวหรือภาพจริง ซึ่งในสื่อเป็นภาพกราฟิกที่เข้าถึงกลุ่มคนได้ง่าย
- ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมด้านภาพประกอบ คือ ภาพค่อนข้างสวยงาม
- ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมด้านเสียง คือ เสียงควรไพเราะน่าฟังมากกว่านี้
- ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมด้านประสิทธิภาพสื่อ คือ ไม่มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
- ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม คือ อยากให้นำสื่อมาเปิดให้คนในชุมชนดู เพราะค่อนข้างแปลกใหม่และให้ข้อมูลแก่คนในชุมชนได้
- ข้อเสนอแนะของคณะกรรมการในการสอบปริญญานิพนธ์
- ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมด้านเทคนิคพิเศษ คือ ควรปรับปรุงความต่อเนื่องของฉากแต่ละฉาก
- ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมด้านภาพประกอบ คือ กราฟิกในฉากการขยายพันธ์ของหนอน ยังดูไม่เหมาะสมกับเสียง เงาของตัวคาเรคเตอร์ในแต่ละฉากไม่เหมือนกัน บางฉากมีเงา บางฉากไม่มีเงา โดยภาพรวมองค์ประกอบของสื่อยังดูไม่เป็นธีมเดียวกัน