Media Production Motion Graphics of the New Guinea Flatworm

จัดทำโดย อพิศักดิ์ อินทกฤษ;ชุติพร สังวรเวชภัณฑ์ และ ณัฐฐานันท์ ประสงค์คำ

หลักสูตร เทคโนโลยีมัลติมีเดีย

ปีการศึกษา 2560


บทคัดย่อ (ABSTRACT)

ปริญญานิพนธ์เล่มนี้เป็นการผลิตสื่อโมชั่นกราฟิกเรื่อง หนอนตัวแบนนิวกินี โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง ที่มีต่อสื่อโมชั่นกราฟิก เรื่อง หนอนตัวแบนนิวกินี ซึ่งกลุ่มตัวอย่าง คือ เกษตรกรที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียงที่พบหนอนนิวกินี ในเขตจังหวัดปทุมธานี จำนวน 13 หลังคาเรือน และเพื่อศึกษากระบวนการผลิตสื่อโมชั่นกราฟิก

การศึกษาครั้งนี้ คณะผู้วิจัยได้ทำการศึกษาค้นคว้าและเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อการสร้างสื่อโมชั่นกราฟิกเรื่อง หนอนนิวกินี โดยได้ศึกษาข้อมูลทางด้านการผลิตสื่อโมชั่นกราฟิก และศึกษาข้อมูลด้านเนื้อหา ที่เกี่ยวกับหนอนนิวกินี ในด้านที่มาของหนอนนิวกินี วิธีการกำจัดที่ถูกต้อง จากนั้นจึงนำผลงานที่เสร็จสมบูรณ์แล้วให้ผู้เชี่ยวชาญ 4 ท่าน และกลุ่มตัวอย่างจำนวน 40 คน ประเมินเพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างและประเมินความระดับคุณภาพของผู้เชี่ยวชาญโดยวิเคราะห์เป็นค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษาพบว่า ด้านสื่อโมชั่นกราฟิก และด้านเนื้อหา ของผู้เชี่ยวชาญและกลุ่มตัวอย่าง อยู่ในเกณฑ์ มาก ดังนั้นจึงสรุปโดยรวมได้ว่า สื่อโมชั่นกราฟิก มีเนื้อหาที่ค่อนข้างชัดเจน และเข้าใจง่าย มีการใช้มุมมองหรือการลำดับภาพที่น่าสนใจ รวมถึงให้ความรู้และวิธีการกำจัดอย่างถูกวิธี ซึ่งสามารถนำความรู้ที่ได้จากสื่อโมชั่นกราฟิกไปปรับใช้ได้อย่างเหมาะสม

คำสำคัญ: โมชั่นกราฟิก, หนอนตัวแบนนิวกินี


วัตถุประสงค์ของการศึกษา

  1. เพื่อผลิตสื่อโมชั่นกราฟิกเรื่อง หนอนตัวแบนนิวกินี
  2. เพื่อศึกษาระดับคุณภาพของสื่อโมชั่นกราฟิกเรื่อง หนอนตัวแบนนิวกินีของผู้เชี่ยวชาญ
  3. เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นที่มีต่อสื่อโมชั่นกราฟิกเรื่อง หนอนตัวแบนนิวกินีของกลุ่มตัวอย่าง

ขอบเขตการศึกษา

  1. ขอบเขตด้านเนื้อหา
    การจัดทำปริญญานิพนธ์การผลิตสื่อโมชั่นกราฟิกเรื่อง หนอนตัวแบนนิวกินี โดยความยาวประมาณ 3 นาที ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับหนอนนิวกินี ว่ามีลักษณะอย่างไร ถิ่นกำเนิดที่ไหน เริ่มพบที่ประเทศไทยเมื่อไหร่ ส่งผลกระทบอย่างไรในประเทศไทย และควรจะกำจัดวิธีใด โดยสื่อโมชั่นกราฟิกเรื่อง หนอนตัวแบนนิวกินี จะแบ่งเป็นการนำเสนอในช่วงเริ่มต้น คือ ในโลกโซเชี่ยลมีการเผยแพร่เกี่ยวกับข่าวของหนอนตัวแบนนิวกินีออกมามากมายถึงความอันตรายของหนอนว่าอันตรายยังไง มีผลกระทบอย่างไร เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ที่รับชมสื่อโมชั่นกราฟิก โดยตอนท้ายบอกถึงการวิธีการกำจัดหนอนนิวกินีอย่างถูกวิธี ซึ่งสรุปข้อมูลเกี่ยวกับหนอนนิวกินีให้เป็นประโยชน์ต่อผู้รับชมสื่อ และจะได้นำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง
  2. ขอบเขตด้านเทคนิค
    โปรแกรมในการจัดทำปริญญานิพนธ์การผลิตสื่อโมชั่นกราฟิกเรื่อง หนอนตัวแบนนิวกินี ประกอบด้วยโปรแกรมดังต่อไปนี้

    1. โปรแกรมที่ใช้สำหรับตกแต่งภาพและการออกแบบ Adobe Photoshop cs6
    2. โปรแกรมที่ใช้ในการทำกราฟิก และออกแบบ Adobe Illustrator cs6
    3. โปรแกรมที่ใช้ในการทำภาพเคลื่อนไหว และ ใส่เอฟเฟคต่าง ๆ ที่ใช้การทำโมชั่น
      Adobe After Effects cs6
    4. โปรแกรมที่ใช้ในการตัดต่อวีดีโอ และภาพที่ใช้ในงานโมชั่น Adobe Premiere Pro cs6

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

  1. ประชากรในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 30 หลังคาเรือน
    1. กลุ่มตัวอย่างในอำเภอลำลูกกา จำนวน 13 คน
    2. กลุ่มตัวอย่างในอำเภอคลองหลวงจำนวน 10 คน
    3. กลุ่มตัวอย่างในอำเภอธัญบุรีจำนวน 7 คน

ผู้เชี่ยวชาญ

  1. ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาข้อมูล จำนวน 1 คน โดยคัดเลือกจากผู้มีความเชี่ยวชาญด้านเนื้อหา
    เกี่ยวกับหนอนตัวแบนนิวกินี ที่มีประสบการณ์มากกว่า 1 ปี
  2. ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคสื่อโมชั่นกราฟิก จำนวน 3 คน โดยคัดเลือกจากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านกราฟิก และโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับสื่อโมชั่นกราฟิก ที่มีประสบการณ์มากกว่า 1 ปี

คำศัพท์เฉพาะ

  1. หนอนตัวแบนนิวกินี หมายถึง สัตว์ที่อยู่ในกลุ่มของพวกหนอนตัวแบน ที่มีขนาดความยาว
    ประมาณ 4 ถึง 6 เซนติเมตร ลำตัวมีสีน้ำตาลเข้มมีลักษณะแบน ความหนาประมาณ 5 มิลลิเมตร ส่วนหัวและหางมีลักษณะเรียวแหลม และมีดวงตา 2 ข้างอยู่ที่บริเวณหัว หนอนสายพันธุ์นี้มีถิ่นกำเนิดมาจากหมู่เกาะนิวกินี ในประเทศอินโดนีเซีย
  2. โมชั่นกราฟิก หมายถึง งานกราฟิกที่เคลื่อนไหวได้โดยการนำเอามาจัดเรียงต่อ ๆ กัน อธิบายให้เข้าใจอย่างง่าย คือ การทำให้ภาพวาด 2 มิติของเราเคลื่อนไหวได้ เหมือนการทำการ์ตูนแอนิเมชั่นนั้นเอง

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ได้รับรู้ถึงกระบวนการ การผลิตสื่อโมชั่นกราฟิก เรื่อง หนอนตัวแบนนิวกินี
  2. ได้รับรู้ระดับคุณภาพของสื่อโมชั่นกราฟิก เรื่อง หนอนตัวแบนนิวกินีของผู้เชี่ยวชาญ
  3. ได้รับรู้ระดับความคิดเห็นที่มีต่อสื่อโมชั่นกราฟิก เรื่อง หนอนตัวแบนนิวกินี ของกลุ่มตัวอย่าง

สรุปผลการศึกษา

  1. สรุปผลการประเมินคุณภาพของผู้เชี่ยวชาญ จากผลการประเมินคุณภาพของผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อโมชั่นกราฟิกจำนวน 3 คน สรุปได้ว่า ด้านเทคนิคพิเศษ อยู่ในระดับ มาก ด้านเนื้อหา อยู่ในระดับ มาก ด้านภาพประกอบ อยู่ในระดับ มาก ด้านเสียง อยู่ในระดับ มาก ด้านประสิทธิภาพสื่อ อยู่ในระดับ มาก
  2. สรุปผลการประเมินความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง จากผลการประเมินความคิดเห็นของ
    กลุ่มตัวอย่าง คือ เกษตรกรที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียงที่พบหนอนนิวกินี ในเขตลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี จำนวน 13 คนจาก 30 คน ทางด้านองค์ประกอบโดยรวมของสื่อโมชั่นกราฟิก อยู่ในระดับ มาก ภาพประกอบ อยู่ในระดับ มาก ด้านเสียง อยู่ในระดับ มากที่สุด ด้านประสิทธิภาพของสื่อ อยู่ในระดับ มากที่สุด

ข้อเสนอแนะ

  1. ข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ
    1. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมด้านเทคนิคพิเศษ คือ ควรเพิ่มเทคนิคในการเคลื่อนไหวของภาพและตัวละครให้น่าสนใจมากกว่านี้ รวมถึงภาพมีความสมูทมากกว่านี้
    2. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมด้านเนื้อหา คือ เนื้อหาค่อนข้างดี แต่ควรนำเสนอผลกระทบให้มากกว่านี้
    3. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมด้านภาพประกอบ คือ ควรมีภาพประกอบที่เป็นภาพจริงมานำเสนอ และควรมีให้ภาพพื้นหลังมีการเคลื่อนไหวเพื่อดึงดูดความสนใจให้สื่อ
    4. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมด้านเสียง คือ เสียงค่อนข้างมีบางจุดที่ขัดแย้งกับซาวด์ประกอบ อีกทั้งเสียงพากย์ควรใส่อารมณ์ในแต่ละคำเพื่อให้เสียงกระตุ้นความสนใจต่อตัวสื่อโมชั่นกราฟิก
    5. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมด้านประสิทธิภาพ คือ เข้าถึงได้ทุกกลุ่มเป้าหมาย
    6. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม คือ ควรปรับขนาดของตัวสื่อโมชั่นกราฟิกให้มีขนาดที่เหมาะสม
  2. ข้อเสนอแนะของกลุ่มตัวอย่าง
    1. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมด้านองค์ประกอบโดยรวมของสื่อโมชั่นกราฟิก คือ สื่อโดยส่วนใหญ่จะเสนอเป็นข่าวหรือภาพจริง ซึ่งในสื่อเป็นภาพกราฟิกที่เข้าถึงกลุ่มคนได้ง่าย
    2. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมด้านภาพประกอบ คือ ภาพค่อนข้างสวยงาม
    3. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมด้านเสียง คือ เสียงควรไพเราะน่าฟังมากกว่านี้
    4. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมด้านประสิทธิภาพสื่อ คือ ไม่มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
    5. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม คือ อยากให้นำสื่อมาเปิดให้คนในชุมชนดู เพราะค่อนข้างแปลกใหม่และให้ข้อมูลแก่คนในชุมชนได้
  3. ข้อเสนอแนะของคณะกรรมการในการสอบปริญญานิพนธ์
    1. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมด้านเทคนิคพิเศษ คือ ควรปรับปรุงความต่อเนื่องของฉากแต่ละฉาก
    2. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมด้านภาพประกอบ คือ กราฟิกในฉากการขยายพันธ์ของหนอน ยังดูไม่เหมาะสมกับเสียง เงาของตัวคาเรคเตอร์ในแต่ละฉากไม่เหมือนกัน บางฉากมีเงา บางฉากไม่มีเงา โดยภาพรวมองค์ประกอบของสื่อยังดูไม่เป็นธีมเดียวกัน

รับชมผลงาน