The making of mock up of human ankle to toes for horror film production
จัดทำโดย พัสกร อินอุดม;พงษ์ศิริ ห่อกุล;อภิชัย รัตนสุภา
หลักสูตร เทคโนโลยีการถ่ายภาพและภาพยนตร์
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ (ABSTRACT)
ปริญญานิพนธ์เล่มนี้มีจุดประสงค์เพื่อการศึกษาวิธีการทำแบบจำลอง (Mock up) ส่วนข้อเท้าถึงปลายนิ้วเท้าของมนุษย์ เพื่อใช้ในการประกอบภาพยนตร์สยองขวัญ
การศึกษาครั้งนี้ได้ผลิตแบบจำลองขึ้น โดยการผลิตด้วยซิลิโคนเพื่อทำให้เกิดความเหมือนจริงทางด้านโครงสร้าง ลักษณะผิวหนัง สีผิว ความยืดหยุ่นของอวัยวะ และผลิตสื่อวีดีทัศน์เพื่อแสดงวิธีการทำที่ได้ถ่ายทำด้วยกล้อง Canon 70D และผลิตภาพยนตร์ที่ถ่ายทำด้วยกล้อง Sony A7 แล้วนำไปตัดต่อเสร็จแล้วนำชิ้นงานดังกล่าวไปแสดงและฉายให้กับผู้เชี่ยวชาญทางด้านแบบจำลอง (Mock up), ผู้เชี่ยวชาญทางด้านศิลปกรรม, ผู้เชี่ยวชาญทางด้านภาพยนตร์ ทำการประเมินผล แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และสรุปผล
จากผลการศึกษาสรุปได้ว่า การทำแบบจำลอง (Mock up) ส่วนข้อเท้าถึงปลายนิ้วเท้าของมนุษย์ เพื่อใช้ในการประกอบภาพยนตร์สยองขวัญ และผลิตสื่อวีดีทัศน์เพื่อแสดงวิธีการทำ และผลิตสื่อภาพยนตร์ สามารถสร้างความพึงพอใจได้ค่อนข้างดี
วัตถุประสงค์
ผลิตแบบจำลองอวัยวะเทียม (Mock up) ส่วนข้อเท้าถึงปลายนิ้วเท้าของมนุษย์กับสื่อวีดีทัศน์แสดงวิธีการทำ และภาพยนตร์ เพื่อเป็นสื่อความรู้แก่ผู้ชมได้
ผลที่คาดหวังที่จะได้รับ
สามารถผลิตแบบจำลองอวัยวะเทียม (Mock up) ส่วนข้อเท้าถึงปลายนิ้วเท้าของมนุษย์และสื่อวีดิทัศน์แสดงวิธีการทำและภาพยนตร์ เพื่อเป็นสื่อความรู้แก่ผู้ชมได้
ขอบเขตการศึกษา
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบจำลอง (Mock up) ส่วนข้อเท้าถึงปลายเท้าของมนุษย์ เพื่อใช้ในการประกอบฉากภาพยนตร์ที่มี Shot ขาขาด โดยการเลื่อยหรือโดนของมีคมทำให้ขาด อย่างเช่น ฉากขาขาดในภาพยนตร์สยองขวัญ เป็นต้น ในการผลิตประกอบด้วยซิลิโคนเยอรมัน ด้านรูปร่างและความยืดหยุ่น ด้านสีใช้สีน้ามันผสมกับซิลิโคนเยอรมันตอนหล่อแบบ และทำการผลิตเป็นสื่อวีดีทัศน์เพื่อแสดงวิธีการทำสีแบบจำลอง (Mock up) ส่วนข้อเท้าถึงปลายนิ้วเท้าของมนุษย์ โดยใช้กล้อง Canon 70D ในการถ่ายทำเพื่อนำไปตัดต่อใน Adobe premiere pro ส่วนการผลิตสื่อภาพยนตร์ ใช้กล้อง Sony A7 จากนั้นนำชิ้นงานดังกล่าวทั้งหมดไปฉายและแสดงให้แก่ผู้เชี่ยวชาญทางด้านภาพยนตร์ 1 ท่าน, ผู้เชี่ยวชาญทางด้านแบบจำลอง(Mock up) 1 ท่าน, ผู้เชี่ยวชาญทางด้านศิลปกรรม 1 ท่าน ทำการประเมินแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพของแบบจำลอง (Mock up) กับสื่อวีดีทัศน์และภาพยนตร์ที่ทำการผลิต และนำไปสรุปผล
ปัญหาในการศึกษา
- วัสดุที่ใช้ในการผลิตแบบจำลองอวัยวะของร่างกาย (Mock up) หาซื้อได้ยาก และมีราคาแพง
- การผลิตแบบจำลองอวัยวะของร่างกาย (Mock up) ต้องใช้ความชำนาญในการผสมวัสดุเมื่อไม่มีความชำนาญวัสดุที่ใช้จะไม่มีประสิทธิภาพในการทำงานทำให้ต้องเสียวัสดุมากกว่าปกติทำให้เกิดความสิ้นเปลือง
- การทำสีลงบนวัสดุซิลิโคนทำได้ยาก ต้องใช้สีนํ้ามันผสมกับซิลิโคนแล้วผสมให้เข้ากันทาลงบนชิ้นงานต้องใช้ความชำนาญ เพราะสีติดยาก
- ในส่วนของการทำเล็บ ลองวิธีการใช้เล็บปลอมสำเร็จรูปติดดูแล้ว แต่ด้วยสภาพเล็บขนาดไม่เหมาะสมกับแบบจำลองที่ผลิตขึ้นมา ทำให้ตัดแต่งยาก จึงไม่ได้ใช้วิธีนี้
- เก็บรายละเอียดตอนทำบล็อคแบบจำลองไม่ดี
- การทำบล็อคแบบจำลอง (Mock up) ควรจะต้องเจาะรูระบายอากาศ เพื่อกันการเกิด ฟองอากาศ จะทำให้เก็บรายละเอียดได้ไม่ดี
ข้อเสนอแนะ
- ควรศึกษาขั้นตอนการทำแบบจำลอง (Mock up) ให้ละเอียดกว่านี้
- ในการทำเล็บของแบบจำลอง (Mock up) ควรจะใช้เป็นเล็บปลอมมาติดแล้วตัดแต่งให้สมจริง
- ในส่วนของแผลของแบบจำลอง (Mock up) ควรจะมีกระดูกโผล่ออกมาด้วย หรือมีชั้นไขมัน รวมอยู่ด้วยเพื่อความสมจริงมากกว่านี้
- ในการทำสีผิวของแบบจำลอง (Mock up) ยังเท่ากันทั้งหมด ควรจะมีนํ้าหนักอ่อนเข้ม บ้าง
- การทำโมลด์ต้องเก็บรายละเอียดทั้งหมดก่อนแล้วถึงหล่อบล็อคของจริง
- ในส่วนของภาพยนตร์ Shot ที่แบบจำลอง (Mock up) หล่นลงพื้นมีการเด้งมากเกินไป