The making of mock up of human ankle to toes for horror film production

จัดทำโดย พัสกร อินอุดม;พงษ์ศิริ ห่อกุล;อภิชัย รัตนสุภา

หลักสูตร เทคโนโลยีการถ่ายภาพและภาพยนตร์

ปีการศึกษา 2560


บทคัดย่อ (ABSTRACT)

ปริญญานิพนธ์เล่มนี้มีจุดประสงค์เพื่อการศึกษาวิธีการทำแบบจำลอง (Mock up) ส่วนข้อเท้าถึงปลายนิ้วเท้าของมนุษย์ เพื่อใช้ในการประกอบภาพยนตร์สยองขวัญ

การศึกษาครั้งนี้ได้ผลิตแบบจำลองขึ้น โดยการผลิตด้วยซิลิโคนเพื่อทำให้เกิดความเหมือนจริงทางด้านโครงสร้าง ลักษณะผิวหนัง สีผิว ความยืดหยุ่นของอวัยวะ และผลิตสื่อวีดีทัศน์เพื่อแสดงวิธีการทำที่ได้ถ่ายทำด้วยกล้อง Canon 70D และผลิตภาพยนตร์ที่ถ่ายทำด้วยกล้อง Sony A7 แล้วนำไปตัดต่อเสร็จแล้วนำชิ้นงานดังกล่าวไปแสดงและฉายให้กับผู้เชี่ยวชาญทางด้านแบบจำลอง (Mock up), ผู้เชี่ยวชาญทางด้านศิลปกรรม, ผู้เชี่ยวชาญทางด้านภาพยนตร์ ทำการประเมินผล แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และสรุปผล

จากผลการศึกษาสรุปได้ว่า การทำแบบจำลอง (Mock up) ส่วนข้อเท้าถึงปลายนิ้วเท้าของมนุษย์ เพื่อใช้ในการประกอบภาพยนตร์สยองขวัญ และผลิตสื่อวีดีทัศน์เพื่อแสดงวิธีการทำ และผลิตสื่อภาพยนตร์ สามารถสร้างความพึงพอใจได้ค่อนข้างดี


วัตถุประสงค์

ผลิตแบบจำลองอวัยวะเทียม (Mock up) ส่วนข้อเท้าถึงปลายนิ้วเท้าของมนุษย์กับสื่อวีดีทัศน์แสดงวิธีการทำ และภาพยนตร์ เพื่อเป็นสื่อความรู้แก่ผู้ชมได้

ผลที่คาดหวังที่จะได้รับ

สามารถผลิตแบบจำลองอวัยวะเทียม (Mock up) ส่วนข้อเท้าถึงปลายนิ้วเท้าของมนุษย์และสื่อวีดิทัศน์แสดงวิธีการทำและภาพยนตร์ เพื่อเป็นสื่อความรู้แก่ผู้ชมได้

ขอบเขตการศึกษา

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบจำลอง (Mock up) ส่วนข้อเท้าถึงปลายเท้าของมนุษย์ เพื่อใช้ในการประกอบฉากภาพยนตร์ที่มี Shot ขาขาด โดยการเลื่อยหรือโดนของมีคมทำให้ขาด อย่างเช่น ฉากขาขาดในภาพยนตร์สยองขวัญ เป็นต้น ในการผลิตประกอบด้วยซิลิโคนเยอรมัน ด้านรูปร่างและความยืดหยุ่น ด้านสีใช้สีน้ามันผสมกับซิลิโคนเยอรมันตอนหล่อแบบ และทำการผลิตเป็นสื่อวีดีทัศน์เพื่อแสดงวิธีการทำสีแบบจำลอง (Mock up) ส่วนข้อเท้าถึงปลายนิ้วเท้าของมนุษย์ โดยใช้กล้อง Canon 70D ในการถ่ายทำเพื่อนำไปตัดต่อใน Adobe premiere pro ส่วนการผลิตสื่อภาพยนตร์ ใช้กล้อง Sony A7 จากนั้นนำชิ้นงานดังกล่าวทั้งหมดไปฉายและแสดงให้แก่ผู้เชี่ยวชาญทางด้านภาพยนตร์ 1 ท่าน, ผู้เชี่ยวชาญทางด้านแบบจำลอง(Mock up) 1 ท่าน, ผู้เชี่ยวชาญทางด้านศิลปกรรม 1 ท่าน ทำการประเมินแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพของแบบจำลอง (Mock up) กับสื่อวีดีทัศน์และภาพยนตร์ที่ทำการผลิต และนำไปสรุปผล


ปัญหาในการศึกษา

  1. วัสดุที่ใช้ในการผลิตแบบจำลองอวัยวะของร่างกาย (Mock up) หาซื้อได้ยาก และมีราคาแพง
  2. การผลิตแบบจำลองอวัยวะของร่างกาย (Mock up) ต้องใช้ความชำนาญในการผสมวัสดุเมื่อไม่มีความชำนาญวัสดุที่ใช้จะไม่มีประสิทธิภาพในการทำงานทำให้ต้องเสียวัสดุมากกว่าปกติทำให้เกิดความสิ้นเปลือง
  3. การทำสีลงบนวัสดุซิลิโคนทำได้ยาก ต้องใช้สีนํ้ามันผสมกับซิลิโคนแล้วผสมให้เข้ากันทาลงบนชิ้นงานต้องใช้ความชำนาญ เพราะสีติดยาก
  4. ในส่วนของการทำเล็บ ลองวิธีการใช้เล็บปลอมสำเร็จรูปติดดูแล้ว แต่ด้วยสภาพเล็บขนาดไม่เหมาะสมกับแบบจำลองที่ผลิตขึ้นมา ทำให้ตัดแต่งยาก จึงไม่ได้ใช้วิธีนี้
  5. เก็บรายละเอียดตอนทำบล็อคแบบจำลองไม่ดี
  6. การทำบล็อคแบบจำลอง (Mock up) ควรจะต้องเจาะรูระบายอากาศ เพื่อกันการเกิด ฟองอากาศ จะทำให้เก็บรายละเอียดได้ไม่ดี

ข้อเสนอแนะ

  1. ควรศึกษาขั้นตอนการทำแบบจำลอง (Mock up) ให้ละเอียดกว่านี้
  2. ในการทำเล็บของแบบจำลอง (Mock up) ควรจะใช้เป็นเล็บปลอมมาติดแล้วตัดแต่งให้สมจริง
  3. ในส่วนของแผลของแบบจำลอง (Mock up) ควรจะมีกระดูกโผล่ออกมาด้วย หรือมีชั้นไขมัน รวมอยู่ด้วยเพื่อความสมจริงมากกว่านี้
  4. ในการทำสีผิวของแบบจำลอง (Mock up) ยังเท่ากันทั้งหมด ควรจะมีนํ้าหนักอ่อนเข้ม บ้าง
  5. การทำโมลด์ต้องเก็บรายละเอียดทั้งหมดก่อนแล้วถึงหล่อบล็อคของจริง
  6. ในส่วนของภาพยนตร์ Shot ที่แบบจำลอง (Mock up) หล่นลงพื้นมีการเด้งมากเกินไป

ผลงานนักศึกษา 1

ผลงานนักศึกษา 2