จัดทำโดย ภาคินท์ธนวิท สินธนวัชบุณยากร;รัฐพงศ์ วงษ์สมุทร
หลักสูตร เทคโนโลยีมัลติมีเดีย
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ (ABSTRACT)
ปริญญานิพนธ์ เรื่องการศึกษาการออกแบบไฟด้วยเทคนิคพิเศษ มีวัตถุประสงค์การศึกษาเพื่อ 1) ศึกษาการออกแบบไฟด้วยเทคนิคพิเศษ 2) ศึกษาคุณภาพไฟที่ได้จากการสร้าง ด้วยเทคนิคพิเศษจากผู้เชี่ยวชาญ 3) ศึกษาความพึงพอใจในการนำสื่อเสนอการออกแบบไฟด้วยเทคนิคพิเศษจากกลุ่มตัวอย่าง
การศึกษาทำโดย ศึกษาการออกแบบไฟด้วยเทคนิคพิเศษและผลิตสื่อการออกแบบไฟด้วยเทคนิคพิเศษ ตรวจสอบคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน จากนั้นนำสื่อประเมินความพึงพอใจ ด้วยกลุ่มตัวอย่าง ผู้วิจัยได้เลือกกลุ่มตัวอย่างจาก นักศึกษาคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ที่ผ่านการเรียนวิชาเทคนิคภาพพิเศษและการรวมภาพ จำนวน 30 คน ทำการแบบประเมินนำมาสรุปด้วยค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า ระดับคุณภาพของสื่อนำเสนอการออกแบบไฟด้วยเทคนิคพิเศษ จากการประเมินคุณภาพของสื่อโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน พบว่า คุณภาพของสื่อการนำเสนอการออกแบบไฟด้วยเทคนิคพิเศษอยู่ในคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 3.89 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.11 ซึ่งอยู่ในระดับคุณภาพดี และความพึงพอใจที่มีต่อสื่อการนำเสนอการออกแบบไฟด้วยเทคนิคพิเศษจากกลุ่มตัวอย่าง 30 คน พบว่า ความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อสื่อการนำเสนอการออกแบบไฟด้วยเทคนิคพิเศษอยู่ในระดับคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 4.50 และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.22 ซึ่งอยู่ในระดับดีมากเช่นกัน และในการนำเสนอสื่อภาพเคลื่อนไหวมีประโยชน์ในการนำไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบเทคนิคพิเศษ ทั้งยังตระหนักถึงความสำคัญของกราฟิกมากขึ้น
ความสำคัญ: เทคนิคพิเศษ, ภาพยนตร์, ไฟ
วัตถุประสงค์ของการศึกษา
- เพื่อการศึกษาการออกแบบไฟด้วยเทคนิคพิเศษ
- เพื่อผลิตสื่อนำเสนอการออกแบบไฟด้วยเทคนิคพิเศษ
- เพื่อศึกษาความพึงพอใจสื่อนำเสนอการออกแบบไฟด้วยเทคนิคพิเศษจากกลุ่มตัวอย่าง
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
- ศึกษาการออกแบบไฟด้วยเทคนิคพิเศษที่สมจริง
- ทราบระดับคุณภาพของการนำสื่อเสนอการออกแบบไฟด้วยเทคนิคพิเศษจากผู้เชี่ยวชาญ
- เพื่อทราบระดับความพึงพอใจจากสื่อนำเสนอการออกแบบไฟด้วยเทคนิคพิเศษจากกลุ่มตัวอย่าง
- ผู้สนใจศึกษาการออกแบบไฟด้วยเทคนิคพิเศษ สามารถเป็นแนวทางในการออกแบบและสร้างสรรค์ผลงานได้
ขอบเขตการศึกษา
- ขอบเขตด้านเนื้อหา
การศึกษาการออกแบบไฟด้วยเทคนิคพิเศษ ด้วยโปรแกรม After Effects เพื่อนำเสนอขั้นตอนในการสร้างไฟดังนี้- สร้าง รูปร่าง (Shape)
- จัดทรงรูปร่างเปลวไฟ
- ใส่สีไฟให้เสมือนจริง
- สร้างเทคนิคพิเศษ (Effects) ควัน สะเก็ดไฟ
- ใส่สีไฟให้เสมือนจริง
- ขอบเขตด้านเทคนิค
โปรแกรมในการจัดทำ “การศึกษาการออกแบบไฟด้วยเทคนิคพิเศษ” ประกอบด้วยโปรแกรม ดังต่อไปนี้- Adobe After Effects เพื่อสร้างเทคนิคพิเศษ
- Adobe Premiere Pro เพื่อเรนเดอร์ผลงาน
- Adobe Audition เพื่อนำมาใช้งานในด้านของเสียง
- Adobe Photoshop เพื่อนำไปใช้งานร่วมกับคำสั่งอื่น ๆ เช่น เลือเพื่อเปลี่ยนสี ลบ หรือใช้เอฟเฟกต์ต่าง ๆ กับรูปภาพ เป็นต้น
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
- ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นักศึกษาคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ที่ผ่านการเรียนวิชาเทคนิคภาพพิเศษและการรวมภาพ ปีการศึกษา 2560 - กลุ่มตัวอย่าง
ผู้วิจัยได้เลือกกลุ่มตัวอย่างจาก นักศึกษาคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ที่ผ่านการเรียนวิชาเทคนิคภาพพิเศษและการรวมภาพ ปีการศึกษา 2560 จำนวน 30 คน - ผู้เชี่ยวชาญ
ในการประเมินผลงาน “การศึกษาการออกแบบไฟด้วยเทคนิคพิเศษ” โดยแบ่งกลุ่มผู้เชี่ยวชาญในการประเมินทั้งหมด 2 กลุ่มดังต่อไปนี้- ผู้เชี่ยวชาญในด้านเทคนิคพิเศษ จำนวน 2 ท่าน โดยคัดเลือกจากผู้ประกอบอาชีพในด้านการออกแบบ มีประสบการด้านเทคนิคพิเศษ และประกอบอาชีพในด้านที่เกี่ยวข้อง
- ผู้เชี่ยวชาญในด้านเสียง 1 ท่าน โดยคัดเลือกจากผู้ประกอบอาชีพและประสบการณ์ด้านเสียง
คำนิยามศัพท์เฉพาะ
- วิชวลเอฟเฟกต์ หมายถึง เทคนิคการสร้างภาพด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านโปรแกรม After Effects ที่มีความเสมือนจริง ประกอบด้วย ไฟ และ ควัน
- ไฟ หมายถึง การสร้างขึ้นมาด้วยโปรแกรม After Effects ซึ่งประกอบด้วย การสร้างรูปร่างให้เป็นลักษณะคล้ายหยดน้ำ ใส่เทคนิคพิเศษ ควันไฟ สะเก็ดไฟ และใส่สีให้เสมือนจริงมากขึ้น
ผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ
- ด้านการออกแบบอยู่ในระดับดี 3.67 เนื่องจากผู้เชี่ยวชาญได้แสดงความคิดเห็นว่า สื่อภาพเคลื่อนไหวออกแบบมาได้น่าสนใจ ภาพภายในสื่อเคลื่อนไหวมีความสมจริง ทำให้สื่อภาพเคลื่อนไหวลื่นไหล การจัดวางตำแหน่งของข้อความในส่วนต่างๆ ชัดเจน สีตัวข้อความ และตัวอักษรภายในสื่อภาพเคลื่อนไหวโดดเด่นชัดเจน รูปแบบของฟอนต์ที่ใช้อ่านง่ายเป็นไปในทางเดียวกับรูปแบบ
- ด้านการเคลื่อนไหวและการนำเสนออยู่ในระดับดี 4.11 เนื่องจากผู้เชี่ยวชาญได้แสดงความคิดเห็นว่า การเคลื่อนไหวของภาพเคลื่อนไหว ไหลลื่น มีความสวยงาม สามารถเลือกใช้สีของสื่อภาพเคลื่อนไหวได้เหมาะสมเข้าใจได้ค่อนข้างง่าย ทำให้ออกมาได้น่าสนใจสวยงาม
- ด้านเสียงอยู่ในระดับดี 3.88.เนื่องจากผู้เชี่ยวชาญได้แสดงความเห็นว่า เสียงภายในสื่อภาพเคลื่อนไหวมีความเหมาะสม ตรงกับรูปแบบของสื่อ เสียงในบางจังหวะสามารถทำให้ตื่นเต้นเช่น เสียงประกอบ เสียงการแตกสลายของภาพ เสียงเอฟเฟค สอดคล้องกับสื่อภาพเคลื่อนไหว เป็นต้น
ผลการประเมินจากกลุ่มตัวอย่างสื่อ
- ด้านเนื้อหาระดับอยู่ในระดับดีระดับดีมาก 4.42 เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างได้แสดงความคิดเห็นว่า เนื้อหา เข้าใจได้ง่ายชัดเจน ดูแล้วสามารถเข้าใจได้ไม่ซับซ้อน
- ด้านการออกแบบอยู่ในระดับดีมาก 4.57 เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างได้แสดงความคิดเห็นว่า ด้านการออกแบบที่นำมาใช้มีรูปแบบที่สนใจคล้ายกับฉากเปิดภาพยนตร์ นักศึกษาในมหาวิทยาลัยที่เคยศึกษาการใช้โปรแกรม ทำให้เข้าใจได้ง่ายมากยิ่งขึ้น การออกแบบมีความแปลกใหม่
- ด้านเสียงอยู่ในระดับดี 4.50 เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างได้ แสดงความคิดเห็นว่าเสียงภายในสื่อภาพเคลื่อนไหวมีความเหมาะสม ตรงกันรูปแบบของสื่อเคลื่อนไหว เสียงในบางจังหวะทำให้รู้สึกสนุกและตื่นเต้น มีการใช้เสียงที่เหมาะสม
- ด้านการเคลื่อนไหวอยู่ในระดับดี 4.52 เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างได้แสดง ความคิดเห็นว่าสามารถเคลื่อนไหวได้ลื่นไหล ฉากต่อเนื่องกันดี มีองค์ประกอบที่หลากหลายแต่สามารถนำมาผสมผสานกันได้ดี
- ด้านประโยชน์ที่ได้จากการชมสื่ออยู่ในระดับดีมาก 4.75 เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างได้แสดงความคิดเห็นว่า ได้รับความรู้ใหม่ ๆ ในการสร้างไฟโดยการไม่ใช่ Plug-in และทำได้ไม่ยาก มีความแปลกใหม่ เสนอรูปแบบได้น่าสนใจ มีการผสมผสานหลายอย่างในการทำสื่อภาพเคลื่อนไหว
ข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญ
- ด้านการออกแบบ อยากให้มีความหลากหลายในรูปแบบมากกว่านี้ และผสมผสานเอฟเฟคต่าง ๆ ให้มากขึ้น เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพในการออกแบบที่แปลกใหม่และทันสมัย
- ด้านการเคลื่อนไหวและการนำเสนอ เสนอรูปแบบน่าสนใจ แต่สื่อภาพเคลื่อนไหวเร็วเกินไปจึงทำให้ มองรายละเอียดบ้างช่วงที่สำคัญไม่ทัน จึงทำให้ สื่อภาพเคลื่อนไหวสั้น
- ด้านเสียง ไม่สนุกสนานตื่นเต้นเท่าที่ควร เสียงบางช่วงไม่เข้ากับจังหวะที่เคลื่อนไหว