The Comparison of Costs and Returns between Organic Rice Farming and Chemical Rice Farming

โดย สุพรรษา ไวอติวัฒน์

ปี 2560

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนของการปลูกข้าวแบบเกษตรอินทรีย์กับเกษตรเคมี และเพื่อศึกษาปัญหาของการปลูกข้าวแบบเกษตรอินทรีย์และเกษตรเคมี ของเกษตรตำบลบึงกาสาม อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี ปี การผลิต 2559 โดยเป็นการเลือกสุ่มวิธีเจาะจงด้วยวิธีการสัมภาษณ์เกษตรกรที่ปลูกข้าวแบบเกษตรอินทรีย์ จำนวน 5 ราย และเกษตรกรที่ปลูกข้าวแบบเกษตรเคมี จำนวน 5 ราย และนำผลการศึกษามาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติพื้นฐาน คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย วิเคราะห์ต้นทุน วิเคราะห์รายได้และผลตอบแทนจากการลงทุน และวิเคราะห์จุดคุ้มทุน

ผลการศึกษาพบว่า การปลูกข้าวแบบเกษตรอินทรีย์มีต้นทุนทั้งสิ้นเฉลี่ยต่อไร่เท่ากับ 2,410.10 บาท มีรายได้เฉลี่ยต่อไร่เท่ากับ 4,946.60 บาท และมีกำไรสุทธิเฉลี่ยต่อไร่เท่ากับ 2,536.50 บาท สำหรับเกษตรกรที่ปลูกข้าวแบบเกษตรเคมี พบว่าการปลูกข้าวแบบเกษตรเคมีมีต้นทุนทั้งสิ้น เฉลี่ยต่อไร่เท่ากับ 3,081.08 บาท มีรายได้เฉลี่ยต่อไร่เท่ากับ 4,643.61 บาท และมีกำไรสุทธิเฉลี่ยต่อไร่ เท่ากับ 1,562.53 บาท ด้านอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ของเกษตรกรที่ปลูกข้าวแบบเกษตรอินทรีย์ ทั้งรายที่ใช้ที่ดินตนเองและรายที่เช่าทำ มีอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ 0.74% และ 91.50% ตามลำดับ และเกษตรกรที่ปลูกข้าวแบบเกษตรเคมีทั้งรายที่ใช้ที่ดินตนเองและรายที่เช่าทำ มีอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ 0.92% และ 176.54% ตามลำดับ ด้านจุดคุ้มทุน การปลูกข้าวแบบเกษตรอินทรีย์มีผลผลิตคุ้มทุน 157.80 กิโลกรัมต่อไร่ มีผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่เท่ากับ 777.32 กิโลกรัม การปลูกข้าวแบบเกษตรเคมีมีผลผลิตคุ้มทุน 167.27 กิโลกรัมต่อไร่ มีผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่เท่ากับ 682.19กิโลกรัม จากผลการศึกษานี้เป็นข้อมูลต่อฤดูกาลผลิตในปี 2559 สรุปได้ว่า การปลูกข้าวแบบเกษตรอินทรีย์มีต้นทุนที่ต่ำกว่าแบบเกษตรเคมีเฉลี่ยต่อไร่ 670.98 บาท และมีกำไรสุทธิเฉลี่ยต่อไร่มากกว่า 973.97 บาท แต่มีอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนต่ำกว่าการปลูกข้าวแบบเกษตรเคมี

ปัญหาและอุปสรรคในการปลูกข้าวของทั้งสองแบบต่างประสบปัญหาด้านน้ำ ด้านโรคแมลงและศัตรูพืช ด้านเงินทุน ความต้องการเครื่องมือทางการเกษตร ด้านแรงงาน และราคาข้าว

The objectives of this study were to compare costs and returns between organic and chemical rice farming and to investigate the problems of organic and chemical rice farming in Bung Ka Sam, Nong Suea District, Pathum Thani Province in the year 2016. The samples were purposive sampling by interviewing five organic farmers and five chemical farmers. Quantitative data were analyzed using the following statistics: frequency, percentage and mean. Cost, income and returns analysis on investment and break-even analysis were also carried out.

The results found that for organic rice farming, the average cost per rai was 2,410.10 baht and the average revenue per rai was 4,946.60 baht. That resulted in the average net profit per rai to be 2,536.50 baht. For chemical rice farming, the average cost per rai was 3,081.08 baht and the average revenue per rai was 4,643.61 baht. That resulted in the average net profit per rai to be 1,562.53 baht. The return on assets of organic rice farmers who own land and rent was 0.74% and 91.50%, respectively. With chemical rice farming, the return on assets was 0.92% and 176.54%, respectively. The break-even rate of organic farming yielded 157.80 kilograms per rai. The average yield per rai was 777.32 kilograms and chemical rice farming yielded 167.27 kilograms per rai. The average yield per rai was 682.19 kilograms. The data obtained were in production season of the year 2016. In conclusion, organic rice farming average cost per rai was lower than chemical rice farming at 670.98 baht and average net profit per rai was higher than 973.97 baht. However, the return on Problems and obstacles of both farming methods include water problems, plant diseases, insects and pests, capital, agricultural machinery demand, labor demand and grain prices.

Download : The Comparison of Costs and Returns between Organic Rice Farming and Chemical Rice Farming