Influence of Employee’s Expectancy to Work Performance, Play Digital Co., Ltd.
โดย วีระศักดิ์ อินทรประวัติ
ปี 2560
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคาดหวังของบุคลากรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากรบริษัท Play Digital Co., Ltd. โดยรวบรวมข้อมูลจาการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลัก (In-depth Interview) จำนวน 5 คน และจากแบบสอบถามโดยเก็บรวบรวมจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นบุคลากรบริษทั Play Digital Co., Ltd. จำนวน 29 คน สถิติที่ใช้ คือ Independent Samples t-test, One-way ANOVA และ Pearson product moment correlation
ผลการศึกษาพบว่าข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวกับปัจจัยความคาดหวังของบุคลากรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานที่มีความสำคัญมากที่สุดคือ ด้านค่าจ้างและสวัสดิการ เพราะเป็นสิ่งแรกที่ต้องการเมื่อเข้ามาทำงาน และเมื่อทำงานแล้ว ด้านความสัมพันธ์กับหัวหน้า งานจะเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด สอดคล้องกับข้อมูลจากแบบสอบถาม พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยความคาดหวังในการทำงานโดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย ประกอบด้วย ด้านความสัมพันธ์กับหัวหน้างาน ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ด้านความมั่นคงในงาน ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน และด้านค่าจ้าง และสวัสดิการ พบว่ากลุ่มตัวอย่าง มีประสิทธิภาพการทำงานโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยจำแนกเป็นด้าน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านผลการปฏิบัติงาน ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.20 และด้านส่วนบุคคล ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.86 นอกจากนี้ยังพบว่าปัจจัยความคาดหวังของบุคลากรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานทุกด้านมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากร โดยด้านที่มีความสัมพันธ์มากที่สุดคือ ด้านความสัมพันธ์กับหัวหน้างาน มีระดับความสัมพันธ์ปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05
The study aimed to investigate the employee’s expectancy to the work performance, Play Digital Co., Ltd. Five people were employed by the In-depth interview and twenty nine employees by the questionnaires. The data were analyzed by Independent Samples t-test, One-way ANOVA and Pearson product moment correlation.
The findings from the In-depth interview revealed that the wage and the welfare of employee’s expectancy to the work performance are at the highest significance since it is the first thing that comes to the mind when getting the job. After being the employee, the relationship with the supervisor were highly significant consistency by the respondents towards the overall expectancy factors with chronologically high level to low level in accordance to the relationship with the supervisors, the peers, the job security, the environment, and the wages and the welfare. The work performance of the sample group was at the high level; the respectively means of the work performance and the personal issue were at 4.20 and 3.86. Moreover, it was found that all influence of employee’s expectancy to work performance was positively correlated. The relationship with the supervisors was highly moderated correlated at the significance level of 0.05.
Download : Influence of Employee’s Expectancy to Work Performance, Play Digital Co., Ltd.