Chloride binding capacity of concrete using fly ash, ground granulated blast-furnace slag, silica fume, limestone powder and bottom ash

โดย นรา รักษาพล

ปี 2557

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการกักเก็บคลอไรด์ของคอนกรีตที่ผสมเถ้าลอย ตะกรันเตาถลุงเหล็กบดละเอียด ซิลิกาฟูม ผงหินปูน และเถ้าก้นเตา ซึ่งเป็นวัสดุกากอุตสาหกรรม นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในงานอุตสาหกรรมคอนกรีต

สำหรับการศึกษาความสามารถในการกักเก็บคลอไรด์ของคอนกรีตในครั้งนี้โดยศึกษาการแทรกซึมคลอไรด์ทั้งหมด คลอไรด์ยึดจับ และอัตราส่วนคลอไรด์ที่ยึดจับ ของคอนกรีตผสมเถ้าลอย ตะกรันเตาถลุงเหล็กบดละเอียด ซิลิกาฟูม และผงหินปูน เปรียบเทียบกับคอนกรีตปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 ล้วน และคอนกรีตที่แทนที่เถ้าก้นเตาในทรายเปรียบเทียบกับคอนกรีตที่ใช้ ทรายล้วน

ผลการศึกษาพบว่า ปริมาณคลอไรด์ทั้งหมดของคอนกรีตผสมเถ้าลอย ตะกรันเตาถลุงเหล็กบดละเอียด ซิลิกาฟูม และผงหินปูน มีค่าน้อยกว่าของคอนกรีตปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 ล้วน ส่วนคลอไรด์ยึดจับของคอนกรีตผสมเถ้าลอย ตะกรันเตาถลุงเหล็กบดละเอียด ซิลิกาฟูม และผงหินปูน มีค่ามากกว่าของคอนกรีตปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 ล้วน และคอนกรีตที่ผสมเถ้าลอย ตะกรันเตาถลุงเหล็กบดละเอียด ซิลิกาฟูม และผงหินปูน มีอัตราส่วนคลอไรด์ยึดจับมากกว่าของคอนกรีตปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 ล้วน นอกจากนี้คอนกรีตที่ใช้เถ้าก้นเตาแทนที่ทรายให้ค่าปริมาณคลอไรด์ทั้งหมดน้อยกว่า และอัตราส่วนคลอไรด์ที่ยึดจับมากกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับของคอนกรีตที่ใช้ทรายล้วน สุดท้ายพบว่า คอนกรีตที่แทนที่เถ้าก้นเตาในทรายกรณีบ่มในน้าให้ค่าการปริมาณคลอไรด์ทั้งหมดน้อยกว่า และอัตราส่วนคลอไรด์ที่ยึดจับมากกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับกรณีของการบ่มในอากาศ

This study aims to study the chloride binding capacity of concrete using fly ash, ground granulated blast-furnace slag, silica fume, limestone powder and bottom ash. The results will lead to develop a guideline of utilizing industrial wastes in concrete.

In this study the chloride binding capacity (consist of total chloride, fixed chloride and fixed chloride ratio) of concrete using fly ash, ground granulated blast-furnace slag, silica fume, limestone powder and bottom ash compared with Ordinary Portland Cement (OPC) concrete. While concrete using the bottom ash replaced in sand compared with those of concrete without bottom ash.

The results show that the total chloride of concrete using fly ash, ground granulated blast-furnace slag and limestone powder was less than that of OPC concrete. The fixed chloride of concrete using fly ash, ground granulated blast-furnace slag and limestone powder was more than that of OPC concrete. Additionally, concrete using fly ash, ground granulated blast-furnace slag and limestone powder had more fixed chloride ratio than OPC concrete. Furthermore, concrete using the bottom ash replaced in sand had less significant total chloride and more fixed chloride ratio when compared with those of OPC concrete. Finally, concrete using the bottom ash replaced in sand which cured in water had less significant total chloride, and more fixed chloride ratio when compared to the concrete cured in air.

Download : Chloride binding capacity of concrete using fly ash, ground granulated blast-furnace slag, silica fume, limestone powder and bottom ash