Relationship between quality of work life and organizational engagement of government school teachers in Chon Buri province
โดย ทศพร ทานะมัย
ปี 2560
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการค้นคว้าอิสระครั้งนี้ เพื่อชี้วัดความสัมพันธ์ของระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานต่อระดับความผูกพันต่อองค์กรโดยผ่านการวิเคราะห์หลัก ๆ คือ ชี้วัดระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานและระดับความผูกพันต่อองค์กร ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กร และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านคุณภาพชีวิตในการทำงานและความผูกพันต่อองค์กร
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ครูโรงเรียนรัฐบาล ซึ่งกลุ่มตัวอย่าง คือ ครูโรงเรียนรัฐบาล 7 โรงเรียนในจังหวัดชลบุรี จำนวน 300 คน โดยใช้วิธีเลือกแบบสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ Independent Samples t-test, One-Way ANOVA, LSD และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการศึกษาพบว่า ครูโรงเรียนรัฐบาลในจังหวัดชลบุรี 7 โรงเรียน พบว่า ประชากรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ช่วงอายุ 20-29 ปี อายุงานอยู่ช่วง 1-5 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี ระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานโดยภาพรวมทั้งหมดจัดอยู่ในระดับสูงโดยค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.71 ส่วนระดับความผูกพันต่อองค์กรโดยภาพรวมทั้งหมดจัดอยู่ในระดับสูงโดยค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.95 เพศและระดับการศึกษาของครูที่แตกต่างกันส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรที่ไม่แตกต่างกัน และพบว่าอายุ และอายุงานของครูมีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์กรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยพบว่าช่วงอายุและอายุงานที่มากขึ้นนั้นทำให้ค่าเฉลี่ย ของระดับคุณภาพชีวิตและความผูกพันต่อองค์กรเพิ่มขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลต่อความผูกพันกับองค์กรที่มีนัยสำคัญทางสถิติแค่สองปัจจัย คือ อายุและอายุงาน ส่วนสุดท้ายคุณภาพชีวิตในการทำงานทุกด้านมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 กับความผูกพันต่อองค์กร โดยด้านที่มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สูงสุด คือ ด้านลักษณะงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับสังคมโดยตรง ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ที่ 0.567
The objective of this independent study was to investigate relationship between quality of work life and organizational engagement with the focus on the level of quality of work life and that of organizational engagement, as well as the demographic factors that affected quality of work life and organizational engagement.
The samples, chosen by Stratified random sampling, were 300 government school teachers working at 7 government schools in Chon Buri Province. The statistics used for data analysis comprised Percentage, Mean, Standard Deviation, Independent Samples t-test, One-Way ANOVA, LSD, and Pearson Correlation Coefficient.
It was found that most respondents were female, aged between 20-29 years, holding bachelor’s degree with 1-5 years of work experience. The overall level of quality of work life was at a high level with 3.71 of mean score. Similarly, that of organizational engagement was at a high level with 3.95. For demographic factors, their different sex and educational background indicated no statistical difference on organizational engagement. However, their different age and work experience affected the level of organizational engagement at a 0.05 statistically significant difference. In other words, the older they are and the longer they have been working, the higher level of their organizational engagement they have. This correlated with the result drawn from the analysis by Pearson Correlation Coefficient. Finally, all aspects of quality of work life showed their relationship with organizational engagement at a significance level of 0.05. Particularly, their occupation as a teacher that directly affected social context demonstrated the highest correlation at a significance level of 0.567.