Perception towards endnote program in bibliographic management of graduate students at Rajamangala University of Technology Thanyaburi
โดย วิริยา สมบูรณ์ผล
ปี 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการรับรู้โปรแกรม EndNote ในการจัดการรายการบรรณานุกรม ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับการรับรู้โปรแกรม EndNote ในการจัดการรายการบรรณานุกรมของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปีการศึกษา 2560 จำนวน 265 คน จากวิธีการสุ่มตัวอย่างในแต่ระดับชั้นอย่างเป็นสัดส่วน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบหาค่าที (t-Test) และความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA)
ผลการวิจัย พบว่า นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา จำนวน 83 คน มีการรับรู้ในการจัดการรายการบรรณานุกรมในระดับมากทั้ง 4 ด้าน ดังนี้ ด้านขีดความสามารถของโปรแกรม EndNote ด้านความน่าเชื่อถือของโปรแกรมและผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่าย ด้านลักษณะการทำงานของโปรแกรม EndNote และด้านต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องในการจัดหาและการให้บริการ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่มีเพศ อายุ และระดับการศึกษาต่างกันมีผลต่อการรับรู้โปรแกรม EndNote ไม่แตกต่างกัน ส่วนนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่คณะต่างกันมีผลต่อการรับรู้โปรแกรม EndNote แตกต่างกันในด้านความน่าเชื่อถือของโปรแกรมและผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่าย และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาสาขาวิชาต่างกันมีผลต่อการรับรู้โปรแกรม EndNote แตกต่างกันในด้านความน่าเชื่อถือของโปรแกรมและผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่าย ด้านลักษณะการทำงานของโปรแกรม EndNote และด้านขีดความสามารถของโปรแกรม EndNote
Abstract
The purposes of this research were to 1) to study perception levels of EndNote program in bibliographic management of graduate students at Rajamangala University of Technology Thanyaburi 2) to compare perception levels of EndNote program in bibliographic management of graduate students at Rajamangala University of Technology Thanyaburi by personal factors. Samples of 265 graduate students Rajamangala University of Technology Thanyaburi, academic year 2017 by stratified random sampling. Using survey research methods by using questionnaires as a tool to collect data in research statistics used in data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test and the one-way ANOVA.
The results of this research found that perception levels of EndNote program in bibliographic management of overall 83 graduate students were at high level. In four aspects were at high levels: the capability of the EndNote program, reliability of the program and the manufacturer or organizer, the behavior of the program EndNote, the costs and expenses related to supply and services. The testing hypothesis found that graduate students who have different in gender, age and educational level had no different on the perception of EndNote program. Different Faculties of graduate students affect different perception of the EndNote program in the reliability of the program and the manufacturer or supplier. And different disciplines of graduate students affect different perception of the EndNote program including the reliability of the program and the manufacturer or supplies, EndNote program features and EndNote program capabilities.