A Comparison of Academic Achievement of Students in the Faculty of Business Administration, Rajamangala University of Technology Thanyaburi, Recruited by TCAS System and Direct Admissions System
โดย ชาลี จิตรีผ่อง
ปี 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้านเกรดเฉลี่ยสะสม (GPAX) ของนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ที่เข้าศึกษาด้วยระบบ TCAS และระบบรับตรง จำนวน 9 สาขาวิชา โดยประชากรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ คือ ข้อมูลนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ภาคปกติ หลักสูตร 4 ปี ที่เข้าศึกษาในปีการศึกษา 2561 ณ สิ้นภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวนทั้งสิ้น 1,192 คน สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสำรวจเพื่อรวบรวมข้อเท็จจริงเกี่ยวกับนักศึกษา ซึ่งผู้วิจัยได้สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการรวบรวมข้อมูลนักศึกษาจากระบบงานทะเบียน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ซึ่งเป็นข้อมูลทุติยภูมิ (secondary data) ทำวิเคราะห์ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยสถิติ t-test และ F-test วิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ทดสอบเป็นรายคู่ในกรณีที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยวิธี Fisher’s Least Significant Difference (LSD)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เข้าศึกษา ด้วยวุฒิ ปวช. ซึ่งเข้าศึกษาด้วยระบบโควตาและระบบสอบตรง พบว่าในภาพรวมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยนักศึกษาที่เข้าศึกษาด้วยระบบโควตามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมากกว่านักศึกษาที่เข้าศึกษาด้วยระบบสอบตรง
2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เข้าศึกษา ด้วยวุฒิ ม.6 ซึ่งเข้าศึกษาด้วยระบบ TCAS 1 ระบบ TCAS 2 และระบบ TCAS 3 พบว่าในภาพรวมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยนักศึกษาที่เข้าศึกษาด้วยระบบ TCAS 3
มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักศึกษาที่เข้าศึกษาด้วยระบบ TCAS 1 และนักศึกษาที่เข้าศึกษาด้วยระบบ TCAS 1 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักศึกษาที่เข้าศึกษาด้วยระบบ TCAS 2 และนักศึกษาที่เข้าศึกษาด้วยระบบ TCAS 2 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักศึกษาที่เข้าศึกษาด้วยระบบ TCAS 5
Abstract
The objectives of this study were to comparison of academic achievement in terms of the accumulated (overall) grade point average (GPAX) of students in the Faculty of Business Administration, Rajamangala University of Technology Thanyaburi, who were recruited to study in 9 academic fields by TCAS system and direct admissions system. The population was of 1,192 4-year students in the Faculty of Business Administration, Rajamangala University of Technology Thanyaburi, starting studying in 2018 academic year, and ending in the second semester in 2019 academic year. The samples were included all of population. The research instrument was survey questionnaire developed for obtaining the secondary data. The statistics including percentages, means and standard deviations (S.D.) were included for data analysis. Hypotheses testing used t-test and F-test, one-way ANOVA Analysis, in case of its had statistical significant different testing a pair of variables by Fisher’s Least Significant Difference (LSD) was used to test hypothesis for each pair in order to see which pairs are different. The result indicated as follows.
1. Result of comparison study revealed that students, who were recruited to study by vocational certificates via quota and direct admission system, had different academic achievement at the statistically significant level as of 0.05, which students from quota system had better achievement than students from direct admission system.
2. Result of comparison study revealed that students, who were recruited to study by high school certificates via TCAS1, TCAS2, and TCAS3 system, had different academic achievement at the statistically significant level as of 0.05, which students from TCAS3 had better achievement than students from TCAS1, students from TCAS1 had better achievement than students from TCAS2, and students from TCAS2 had better achievement than students from TCAS5.