Marketing Mix Factors Influencing Customer Behavior of the Laundry Service Center Service, Faculty of Home Economics Technology, Rajamangala University of Technology Thanyaburi
โดย โสภาพรรณ ซอหะซัน
ปี 2559
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการศูนย์บริการ ซัก อบ รีด 2) ศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการศูนย์บริการซัก อบ รีด 3) ศึกษาระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมการตลาดของผู้ใช้บริการศูนย์บริการซัก อบ รีด และ4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการศูนย์บริการซัก อบ รีดกับพฤติกรรมผู้ใช้บริการศูนย์บริการซัก อบ รีด โดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลประชากรผู้ที่เป็นสมาชิกใช้บริการศูนย์บริการซัก อบ รีด คณะเทคโนโลยี คหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี รวม 48 คน วิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล ใช้การแจกแจงความถี่และค่าร้อยละ ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้บริการซัก อบ รีด ใช้ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีต่อการใช้บริการซัก อบ รีด ใช้สถิติทดสอบ Chi–square ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการศูนย์บริการซัก อบ รีด ส่วนใหญ่เป็น เพศหญิง 37 คน และเป็นเพศชาย 11 คน ส่วนใหญ่มีอายุในช่วง 21 – 30 ปี สถานภาพโสด มีระดับการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีอาชีพเป็นข้าราชการพนักงานรัฐวิสาหกิจ มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนระหว่าง 30,001 บาทขึ้นไป 2) พฤติกรรมการใช้บริการศูนย์บริการซัก อบ รีด ความถี่ในการใช้บริการต่อเดือนใช้บริการต่อเดือน 1 – 2 ครั้ง จำนวน 33 คน ค่าใช้จ่ายในแต่ละครั้ง มีค่าใช้จ่ายในแต่ละครั้ง 301 – 499 บาท ประเภทที่ใช้บริการเลือกใช้บริการซักและรีด ช่วงเวลาทำการ เห็นด้วยกับช่วงเวลาทำการวันจันทร์ ถึงวันศุกร์ เวลา 8.30 – 16.30 น. เหตุผลในการใช้บริการเพราะคุณภาพความสะอาด และการจัดส่งเสริมการขายส่วนใหญ่อยากให้จัดส่งเสริมการขายชุดเครื่องนอน 3) ระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมการตลาดของผู้ใช้บริการศูนย์บริการซัก อบ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.32, σ = 0.63) และเมื่อพิจารณาแต่ละด้านพบว่า ด้านพนักงานมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (μ = 4.68, σ = 0.47) และ 4) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการศูนย์บริการซัก อบ รีดกับพฤติกรรมผู้ใช้บริการศูนย์บริการ ซัก อบ รีด คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี พบว่า เพศ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมผู้ใช้บริการศูนย์บริการซัก อบ รีด ในส่วนที่เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในแต่ละครั้ง
Abstract
The objectives of this study were: 1) to study the personal factors of laundry service center customers; 2) to study the customers’ behavior of laundry service center; 3) to study the importance level of marketing mix factors of laundry service center customers; and 4) to study the relationship between personal factors of laundry service center customers and laundry service center service customers’ behavior. The research sample was 48, selected by population data of members who use the laundry service center at the Faculty of Home Economics Technology, Rajamangala University of Technology, A questionnaire was used as a research instrument. Frequency distribution, mean, standard deviation, percentage, and Chi–square were used for data analysis at 0.05 statistical significance.
It was found that 1) the laundry service center users were 37 females and 11 males, aged between 21 – 30, single, educated with higher than bachelor’s degree with around 30,001 THB of monthly income or more. 2) The customers’ behavior of the laundry service centers was found that 33 users used the laundry services 1 – 2 times a month and paid around 301 – 499 THB each time and agreed to avail of the service from 8.30 a.m. – 4.30 p.m. on Mondays to Fridays. Fine quality and cleanliness were the main factors in decision-making. Most laundry customers preferred to have sales promotions for bedding sets. 3) The overall importance level of marketing mix factors of laundry service center customers was at the highest level (μ = 4.32, σ = 0.63) and Individual factor consideration revealed that the factor on employees showed the highest mean (μ = 4.68, σ = 0.47). and 4). The relationship between personal factors and the behavior of laundry service center service customers showed that gender significantly correlated with the behavior of the service customers and age correlated with expense. A factor on frequency showed that age correlated with customers’ behaviors and expenses, and the highest level of education correlated with laundry customers’ behaviors. Factor on sale promotion showed that monthly income correlated with laundry customers’ behaviors. The frequency of monthly service use showed that monthly income correlated with laundry customers’ behaviors and types of laundry service at 0.05 statistical significance.