Effects of Room Illuminance and Display Luminance on Simultaneous Color Contrast Viewed through Tissue Paper
โดย เจนจิรา มีเพียร
ปี 2563
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของความสว่างภายในห้องและความส่องสว่างของจอแสดงผลที่มีต่อการปรากฏความเปรียบต่างสีแบบไซมัลเทเนียสมองผ่านกระดาษทิชชู การทดลองแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ การทดลองที่ 1 การศึกษาอิทธิพลของความส่องสว่างของสีพื้นหลัง โดยกำหนดความสว่างภายในห้องทดลองที่ 200 ลักซ์ คงที่ และใช้สิ่งเร้าที่มีสีพื้นหลังจำนวน 4 สี (แดง เหลือง เขียว น้ำเงิน) บนจอแสดงผลที่มีการเปลี่ยนความส่องสว่าง 5 ระดับ ด้วยการปรับสัดส่วนสี RGB และแผ่นทดสอบสีเทามีความส่องสว่างแตกต่างกัน 3 ระดับ
การทดลองที่ 2 ศึกษาอิทธิพลของความสว่างภายในห้องโดยกำหนดความส่องสว่างของจอแสดงผลคงที่และความสว่างภายในห้องเปลี่ยนไป 10 ระดับ (3-1600 ลักซ์) การศึกษาครั้งนี้มีผู้สังเกตจำนวน 10 คน ที่มีการมองเห็นสีแบบปกติเข้าร่วมการทดลอง ผู้สังเกตทำการประเมินค่าสีพื้นหลังและแผ่นทดสอบสีเทาโดยมองผ่านกระดาษทิชชูและมองตรงโดยไม่ผ่านกระดาษทิชชูด้วยวิธีคำเรียกสีพื้นฐาน (Elementary color naming method)
ผลการทดลองที่ 1 พบว่าความส่องสว่างของสีพื้นหลังที่เพิ่มขึ้นมีอิทธิพลต่อการมองเห็นความเปรียบต่างสีแบบไซมัลเทเนียสมองผ่านกระดาษทิชชูที่เพิ่มขึ้น การทดลองที่ 2 พบว่าความสว่างภายในห้องไม่ส่งผลกระทบต่อการปรากฏความเปรียบต่างสีแบบไซมัลเทเนียสมองผ่านกระดาษทิชชู แต่เมื่อแสดงด้วยอัตราส่วนของปริมาณเนื้อสีของแผ่นทดสอบสีเทาต่อปริมาณเนื้อสีของพื้นหลัง พบผลกระทบต่อการปรากฏเพิ่มขึ้นเมื่อความสว่างสูงเกิน 200 ลักซ์ และพบว่าการรับรู้โหมดการปรากฏสีของสิ่งเร้าเปลี่ยนแปลงไปเมื่อความสว่างเปลี่ยน
Abstract
This research aimed to study the effects of room illuminance and display luminance on the appearance of simultaneous color contrast viewed through tissue paper. The experiment was divided into two parts. Experiment 1 targeted at effects of luminance. Room illuminance was kept constant at 200 lux while the stimulus combining four surround colors (red, yellow, green, blue) was tested with five levels of display luminance modified by RGB adjustment. Gray test patch was supplied for three different luminance levels.
Experiment 2 focused on effects of room illuminance. Display luminance was kept constant, and the illuminance in the room was adjusted for ten levels (3-1600 lx). In both experiments, ten subjects with normal color vision participated. The subjects were asked to judge the color appearance of surround and gray test patch by using the elementary color naming method “with” and “without” tissue.
The result of experiment 1 showed that as surround luminance was increased, the simultaneous color contrast viewed through tissue paper appeared more vivid in color. Experiment 2 showed that room illuminance did not affect the appearance of the simultaneous color contrast viewed through tissue paper. But when expressing in the ratio of gray test patch chromaticness to surround chromaticness, the effect became larger once illuminance was over 200 lux. And the perceived color appearance of stimulus was changed when illuminance changed.