Development of motion graphic about the criteria for submitting workings to enter higher career path for operational staff to professional at Mahachulalongkornrajavidyalaya university
โดย นภัสสร กัลปนาท
ปี 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสื่อโมชันกราฟิก เรื่อง เกณฑ์การเสนอผลงานของบุคลากรในการเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น สำหรับบุคลากรสายปฏิบัติการวิชาชีพ ระดับชำนาญการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยให้มีคุณภาพ 2) เปรียบเทียบระดับความรู้และความเข้าใจระหว่างก่อนเรียน – หลังเรียน ด้วยสื่อโมชันกราฟิก และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของบุคลากรที่มีต่อสื่อโมชันกราฟิก
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรตำแหน่งปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไปของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ส่วนกลาง (วังน้อย) ซึ่งได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายด้วยวิธีจับสลากเลือกตัวแทนจากบุคลากรสายปฏิบัติการวิชาชีพทั้งหมด จำนวน 30 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย สื่อโมชันกราฟิก แบบประเมินคุณภาพด้านสื่อและด้านเนื้อหา แบบทดสอบเพื่อวัดระดับความรู้และความเข้าใจ และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีของกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นอิสระจากกัน
ผลการวิจัยพบว่า 1) สื่อโมชันกราฟิกมีคุณภาพด้านสื่ออยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.45 และมีคุณภาพด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.42 2) บุคลากรมีระดับความรู้และความเข้าใจหลังเรียนด้วยสื่อโมชันกราฟิกสูงกว่าก่อนเรียน มีคะแนนค่าเฉลี่ยเท่ากับ 23.70/8.70 การทดสอบค่าทีหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) บุคลากรมีความพึงพอใจต่อสื่อโมชันกราฟิก อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.42
Abstract
The objectives of the research were to: 1) develop motion graphics for promotion criteria of professional operation personnel, professional level at Mahachulalongkornrajavidyalaya University, and 2) compare knowledge and comprehension of professional operation personnel before and after using motion graphics, and 3) study professional operation personnel’s satisfaction towards the motion graphics.
The samples of this study were 30 professional operation personnel selected by simple random sampling (lottery method). The research instruments consisted of motion graphics, evaluation form regarding the quality of media and contents, pre-test, post-test, and evaluation form regarding personnel’s satisfaction towards motion graphics. The statistics used to analyze the data were mean, standard deviation, and ttest for dependent samples.
The research results indicated that: 1) the motion graphics had quality of media at a good level with an average score of 4.45 and quality of content at a good level with an average score of 4.42, 2) the knowledge and comprehension of the personnel were higher after studying through motion graphic at the statistically significant level of .05 with a mean score of 27.70/8.70, and 3) the satisfaction of the staff towards motion graphic was at a high level of 4.42.