A study of antibacterial property on lyocell nonwoven fabric treated by sappan extract

โดย นัยนา ชลเจริญ

ปี 2562


บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการต้านทานของเชื้อแบคทีเรียบนผ้าไม่ทอไลโอเซลล์ โดยใช้การทดลองบนผ้าไม่ทอไลโอเซลล์ที่เพิ่มประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียด้วยสารสกัดจาก สมุนไพรฝางโดยศึกษาเปรียบเทียบสมบัติการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus และ Corynebacterium minutissimum ระหว่างสารสกัดสมุนไพรฝางบริสุทธิ์และสารสกัดสมุนไพรฝาง อนุภาคขนาดเล็กซึ่งใช้เทคนิคที่เรียกว่า นาโนอิมัลชัน การเตรียมผ้าไม่ทอไลโอเซลล์ที่ตกแต่งด้วยสารสกัดทั้ง 2 รูปแบบโดยใช้การยึดติดสารสกัดด้วย กระบวนการ Pad dry cure ซึ่งกำหนดความเข้มข้นของสารสกัดสมุนไพรฝางที่แตกต่างได้แก่ 30 40 และ 50 เปอร์เซ็นต์ จากนั้นทดสอบสมบัติการดูดซึมของเหลวและทดสอบการไหลผ่านของอากาศ จากการศึกษาครั้งนี้พบว่าผ้าไม่ทอไลโอเซลล์ที่ผ่านการตกแต่งด้วยสารสกัดสมุนไพรฝางทั้ง 2 รูปแบบ มีระยะเวลาในการดูดซึมน้ำเพิ่มขึ้นและมีปริมาณของอากาศที่ไหลผ่านน้อยลงเมื่อเปรียบเทียบกับผ้าไม่ทอไลโอเซลล์ที่ไม่ผ่านการตกแต่งสำเร็จ สำหรับการยับยั้งเชื้อที่ทดสอบด้วยวิธี Agar disc diffusion พบการต้านทานบนผ้าไม่ทอไลโอเซลล์ที่ผ่านการตกแต่งสารสกัดสมุนไพรฝางบริสุทธ์และผ้า ไม่ทอไลโอเซลล์ที่ผ่านการตกแต่งด้วยสารสกัดสมุนไพรฝางอนุภาคขนาดเล็กโดยมีค่าเฉลี่ยบริเวณโซนใส (Clear zone) เท่ากับ 11.44 และ 9.6 มิลลิเมตร ตามลำดับ บนความเข้มข้นของสารสกัดสมุนไพรฝางที่ 40 เปอร์เซ็นต์


Abstract

The objective of this research was to study the antibacterial property on lyocell nonwoven fabric using Sappan herbal extract in order to increase the efficiency of bacterial inhibition by comparing the antibacterial properties between pure Sappan herbal extract and small particles of Sappan herb extract by nano emulsion technique into Staphylococcus aureus and Corynebacterium minutissimum Both extracts were treated on lyocell nonwoven fabric by using pad dry cure process with different concentrations of extracts at 30, 40, and 50 percent. Then, the properties of liquid absorption and air flow of fabrics were tested. The study results showed that both types of Sappan herbal extracts had longer water absorption time and less air flow compared with non-decorated lyocell nonwoven fabric. For the antibacterial activities assessed by agar disc diffusion test, the average of clear zone of lyocell nonwoven fabric decorated with Sappan herbal and small particles of Sappan herbal extracts were equal to 11.44 and 9.6 mm respectively. Concentration of 40 percent of sappan herbal extract,

Download: A study of antibacterial property on lyocell nonwoven fabric treated by sappan extract