A Study of Core Competency of School Administrators under Pathum Thani Primary Educational Service Area Office 2

โดย รัชนีกร แสงสว่าง

ปี 2564


บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 และ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ข้าราชการครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 302 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม และผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) สมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) แนวทางการพัฒนาสมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 ได้แก่ (1) การมุ่ผลสัมฤทธิ์ (Achievement Motivation) ควรให้คำแนะนำแก่บุคลากรในองค์กรให้เข้าใจถึงความหมายของนวัตกรรม รวมถึงการจัดหาทรัพยากรให้เพื่อดำเนินการฝึกฝนและพัฒนาตามความคิดสร้างสรรค์ของบุคลากรโดยมีการกระตุ้นคณะครูและบุคลากรทางการศึกษาได้มีการการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง (2) ด้านการบริการที่ดี (Service Mind) ควรจัดการประชุมคณะครูและบุคลากรเพื่อชี้แจงแนวทาง การจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่างๆ เพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสารต่างๆ ของโรงเรียนให้ครบถ้วน ถูกต้อง ชัดเจน โดยมีการตรวจสอบข้อมูลก่อนแจ้งประชาสัมพันธ์ทุกครั้ง (3) ด้านการพัฒนาตนเอง (Self Development) ควรเข้ารับอบรมพัฒนาทักษะทางด้านต่างๆ เป็นประจำ รวมถึงการนาทักษะความรู้ที่มีอยู่ให้คาปรึกษาแนะนากับคณะครูและบุคลากรในการปฏิบัติงาน รวมถึงมีการเข้าร่วมประชุมอบรมสัมมนารวมกัน พูดคุยเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้บริหารต่างสถานศึกษา เพื่อนามาประยุกต์ใช้ในสถานศึกษาของตนเอง และ (4) ด้านการทางานเป็นทีม (Teamwork) ควรส่งเสริม สนับสนุน สร้างความตระหนักในการทำงานร่วมกันเป็นทีม โดยผู้บริหารสถานศึกษาคอยให้คำปรึกษาแนะนำช่วยเหลือ โดยใช้ทฤษฎีการบริหารแบบมีส่วนร่วม และรับฟังข้อเสนอแนะจากบุคลากรในสถานศึกษา


ABSTRACT

This research aimed to: 1) investigate the core competency of school administrators under Pathum Thani Primary Educational Service Area Office 2, and 2) propose the practical approach of the core competency of school administrators under Pathum Thani Primary Educational Service Area Office 2.

The research samples consisted of 302 government teachers under Pathum Thani Primary Educational Service Area Office 2 in the academic year 2019. Cluster sampling was deployed in this research. The key informants included six school administrators under Pathum Thani Primary Educational Service Area Office 2. The instruments were questionnaires and interview forms. The data were statistically analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation, as well as content analysis for qualitative research.

The results revealed that: 1) overall core competency of school administrators under Pathum Thani Primary Educational Service Area Office 2 was at high level. 2) The practical approach of the core competency of school administrators under Pathum Thani Primary Educational Service Area Office 2 consisted of four areas: (1) achievement motivation; personnel in the organization should be advised to understand the meaning of innovation. In addition, resources necessary for creative training and development of personnel should be provided and teachers and educational personnel should be encouraged to develop themselves continuously. (2) Service mind; teacher and personnel meeting should be held to clarify the guidelines for the preparation of public relations media through various channels. These public relations media should be used to publicize the school information with completeness, accuracy and clarity and all information needs to be verified before being released to the public. (3) Selfdevelopment; the school administrators should receive regular training to develop their skills in various fields and implement the existing skills to advise teachers and personnel in performing their tasks. Moreover, the school administrators should attend trainings and seminars to exchange knowledge with administrators from different educational institutions and apply that knowledge to their educational institutions. (4) Teamwork; the school administrators should encourage, promote and emphasize the awareness of teamwork. The school administrators should provide advice and assistance by using participative management theory and listening to suggestions from personnel in educational institutions.


Download: A Study of Core Competency of School Administrators under Pathum Thani Primary Educational Service Area Office 2