Effect of online training process efficiency on staff performance under new normal conditions: A case study of Rajamangala university of technology Thanyaburi

โดย สาวิตรี ท้วมลี้

ปี 2564


บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพของกระบวนการฝึกอบรมออนไลน์ภายใต้ความปกติใหม่ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 2) ศึกษาระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และ 3) ศึกษาอิทธิพลของประสิทธิภาพของกระบวนการฝึกอบรมออนไลน์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ บุคลากรของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำนวน 338 คน โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน การทดสอบทีกรณีสองประชากรเป็นอิสระกัน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และสมการถดถอยพหุคูณเชิงเส้น

ผลการศึกษาพบว่า 1) กระบวนการฝึกอบรมออนไลน์ภายใต้ความปกติใหม่ของบุคลากร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมาก 2) ระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีภายใต้ความปกติใหม่ อยู่ในระดับมาก และ 3) จำนวนครั้งในการฝึกอบรมต่อปี และกระบวนการฝึกอบรมออนไลน์ด้านการพัฒนาการดำเนินการฝึกอบรม และการประเมินผลการฝึกอบรม มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


Abstract

The objectives of this study were: 1) to evaluate the efficiency of the online training process under New Normal conditions at Rajamangala University Technology Thanyaburi (RMUTT), 2) to assess the level of work performance efficiency of RMUTT employees, and 3) to investigate the effect of online training process efficiency on work performance efficiency of RMUTT employees.

The sample group used in this study comprised 338 RMUTT employees. They were selected by using the stratified sampling method. The research instrument used to collect data was a questionnaire. The statistics used to analyze data were frequency, percentage, mean, standard deviation, independent sample t-test, one-way ANOVA, and multiple regression analysis.

The study results were found that: 1) the efficiency of the online training process under the New Normal conditions at RMUTT was rated at a high level, 2) the level of work performance efficiency of RMUTT employees under New Normal conditions was at a high level, and 3) the number of training sessions per year and the dimensions of the online training process comprising development of the online training process, conducting training, and training evaluation, all affected work performance efficiency of RMUTT employees at a statistically significant level of .05.


Download : ประสิทธิภาพของกระบวนการฝึกอบรมออนไลน์ที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงานภายใต้สถานการณ์ปกติใหม่กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี