The STEM Education Learning Management Combined with Design Thinking to Develop Innovation Creation Competency in Science of the Primary 5 (Grade 5) Students

โดย จิตรลัดดา  มะลัยทอง

ปี 2564


บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับสมรรถนะในการสร้างนวัตกรรม รายวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่5  2) เปรียบเทียบสมรรถนะในการสร้างนวัตกรรม รายวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาร่วมกับการคิดเชิงออกแบบและการจัดการเรียนรู้แบบปกติ

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนที่ศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนสาธิตนวัตกรรมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำนวน 2 ห้องเรียน จำนวน 69 คน ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ 2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาร่วมกับการคิดเชิงออกแบบ 3) แบบประเมินสมรรถนะในการสร้างนวัตกรรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที

ผลการวิจัยพบว่า 1) สมรรถนะในการสร้างนวัตกรรม รายวิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับมาก และ 2) สมรรถนะในการสร้างนวัตกรรม รายวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนแบบสะเต็มร่วมกับการคิดเชิงออกแบบสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


Abstract

This research aimed to 1) study the competency of innovation creation level in Science for Primary 5 (Grade 5) students and 2) compare the competency of innovation creation in the Science of the Primary 5 (Grade 5) students studying through the STEM learning management combined with design thinking with the traditional learning management.

The research sample was selected by cluster sampling consisting of 2 classrooms of the 69 Primary 5 (Grade 5) students studying in semester 2/2021 at the Innovation Demonstration School of Rajamangala University of Technology Thanyaburi. The research instruments included 1) traditional learning management plans, 2) the STEM combined with design thinking learning management plans, and 3) an assessment form on innovation creation competency. Mean, standard deviation, and t-test were the statistical methods used for data analysis.

The research results were as follows: 1) The Primary 5 (Grade 5) students’ innovation creation competency was at a high level and 2) the competency of innovation creation in Science of the Primary 5 (Grade 5) students studying through the STEM learning management combined with design thinking was higher than those studying through the traditional learning management at the statistical significance level of .05.


Download : การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาร่วมกับการคิดเชิงออกแบบเพื่อพัฒนาสมรรถนะในการสร้างนวัตกรรม รายวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5