Color and Lightness of Thai Skin Tone

โดย ณัชธิชา ภัทรโสภณกุล

ปี 2564


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อสีและความสว่างของผิวคนไทย โดยทำการศึกษาปัจจัยทั้งหมด 4 ปัจจัย ได้แก่ เพศ ภูมิภาคที่กำเนิด สถานที่ทำงาน และวิเคราะห์ สารเมลานินและฮีโมโกลบิน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้มีจำนวนทั้งหมด 171 คน ที่มีช่วงอายุตั้งแต่ 24 – 70 ปี จาก 6 ภูมิภาค คือ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคใตD ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันตก และสถานที่ทำงานแบ่งเป็นทำงานกลางแจ้งและทำงานภายในอาคาร โดยใช้เครื่องมือวัดสีแสงรุ่น CS-100A ยี่ห้อ Konica Minolta โดยตำแหน่งการวัดค่าสีผิวคือ แก้มด้านซ้ายและขวา หน้าผาก คาง และใต้แขน จากนั้นวิเคราะห์ผลข้อมูลสีผิวโดยใช้ระบบสี CIEL*a*b* และ CIEL*C*h* และวิเคราะห์ สารเมลานินและฮีโมโกลบินจากค่าการสะท้อนเชิงสเปกตรัมของผิว ใช้สถิติ T-test และ One-way ANOVA ในการบอกค่าความแตกต่างของสีผิวในแต่ละปัจจัยที่ศึกษาที่ระดับนัยสำคัญที่ 0.05

ผลการศึกษาพบว่า เพศหญิงมีค่าความสว่างของผิว L* ที่มากกว่าเพศชายที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ของทุกบริเวณการวัด โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 60.08 และ 55.78 ตามลำดับ ค่าความแดงของผิวที่เพศหญิง มากกว่าเพศชายที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 เฉพาะใต้แขนเท่านั้น โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 12.12 และ 11.19 ตามลำดับ ส่วนค่าความเหลืองไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญระหว่างทั้งสองเพศ ส่วนปัจจัยทาง ภูมิภาค พบว่า ทั้ง 6 ภูมิภาคมีความแตกต่างกันของค่าความสว่าง ค่าความแดง และค่าความเหลืองที่ระดับ นัยสำคัญ 0.05 ในทุกบริเวณการวัด โดยภาคเหนือจะมีค่าความสว่างของผิวมากที่สุดอยู่ที่ 65.08 และภาคใต้จะมีค่าความสว่างน้อยที่สุดอยู่ที่ 48.36 นอกจากนี้ภาคตะวันตกมีค่าความแดงมากที่สุดโดยเฉลี่ย อยู่ที่ 15.56 และภาคเหนือมีค่าความแดงน้อยที่สุดโดยเฉลี่ยอยู.ที่ 11.05 ภาคตะวันตกมีค่าเฉลี่ยความเหลือง สูงสุดที่ 19.07 และภาคเหนือมีค่าเฉลี่ยความเหลืองน้อยที่สุดอยู่ที่ 16.46

ส่วนปัจจัยสถานที่ทำงาน พบว่า คนทำงานกลางแจ้งมีค่าความสว่างที่ต่ำกว่าคนทำงานในอาคาร อย่างมีนัยสำคัญของทุกบริเวณการวัดที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 53.46 และ 60.09 ตามลำดับ ค่าความแดงของคนทำงานกลางแจ้งสูงกว่าคนทำงานในอาคารอย่างมีนัยสำคัญเฉพาะบริเวณ หน้าผากที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 โดยค่าเฉลี่ย a* = 14.74 และ 13.61 ตามลำดับ ส่วนค่าความเหลืองของ คนทำงานกลางแจ้งจะสูงคนทำงานในอาคาร โดยค่าเฉลี่ย b* = 19.10 และ 18.01 ตามลำดับ การวิเคราะห์H ค่าการสะท้อนเชิงสเปกตรัม ผิวขาว ผิวสองสี และผิวดำ แสดงให้เห็นว่า ค่าการสะท้อนเชิงสเปกตรัมลดลง ในช่วงความยาวคลื่น 520-610 นาโนเมตรที่เห็นได้ชัดในคนผิวดำ


Abstract

The purpose of this research was to study factors affecting the color and lightness of Thai skin tone. Four factors were studied: gender, region of origin, workplace, and melanin and hemoglobin. The samples were 171 people in total, and their ages ranged from 24 to 70 years old. They were from 6 regions: the Central, North, South, East, Northeast, and West. The workplace was divided into outdoor and indoor. The skin color of five body locations was measured with a color luminometer, CS-100A Konica Minolta. The explored positions were left and right cheek, forehead, chin, and inner arm. The skin color data were analyzed by the CIEL*a*b* and CIEL*C*h* color systems while melanin and hemoglobin were analyzed based on the spectral reflectance of skin. Statistical t-test and One-way ANOVA were performed to confirm the difference of skin tone in each variable by significance level of .05.

The study results revealed that females had higher skin lightness L* than those of males at a significance level of .05 in all measured areas. The mean values were 60.08 followed by 55.78. The skin redness of females was higher than those of males only at the inner arm area with a significant level of .05 and mean values of 12.12 and 11.19, respectively. The yellowness values were not significantly different between two genders. As for regional factors, all 6 regions had different values of lightness, redness, and yellowness at a significant level of .05 in all positions. The North had the highest skin lightness at 65.08, whereas the South had the lowest skin lightness at 48.36. In addition, the West had the highest redness at an average of 15.56, while the North had the lowest redness at an average of 11.05. The West had the highest mean value of yellowness at 19.07, and the North had the lowest mean value of yellowness at 16.46.

Regarding the workplace, the outdoor workers had significantly lower skin lightness than those of indoor workers in all positions with .05 level of statistical significance and mean values of 53.46 and 60.09, respectively. The redness values of outdoor workers were significantly higher than those of indoor workers only at the forehead with a significance level of .05. Their mean values were a* = 14.74 and 13.61, respectively. The yellowness values of outdoor workers were higher than those of indoor workers with an average of b* = 19.10 and 18.01, respectively. The spectral reflectance analysis of white, tan, and dark skin indicated that the spectral reflectance decreased at the range of 520-610 nm which could be clearly noticed in dark skin tone.


Download : สีและความสว่างของผิวคนไทย