Ethical Leadership of School Administrators under Secondary Educational Service Area Office Pathum Thani

โดย อภิรักษ์ ทองโชติ

ปี 2565


บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นาเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี และ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นาเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ข้าราชการครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี จำนวน 322 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามและ แบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิเคราะห์เนื้อหาของข้อมูลเชิงคุณภาพ

ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ดังนี้ (1) ด้านความยุติธรรม ผู้บริหารต้องใช้หลักการมีเหตุผล และความเหมาะสมในการตัดสินใจทุกครั้ง (2) ด้านความซื่อสัตย์ สุจริต ผู้บริหารต้องไม่คดโกง มีความซื่อตรง ใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงาน (3) ด้านความน่าไว้วางใจ ผู้บริหารต้องไม่กระทำการใด ๆ ที่เป็นการให้ร้ายผู้ใต้บังคับบัญชา หรือผู้บริสุทธิ์ (4) ด้านความน่าเคารพ ผู้บริหารต้องวางตัวให้เหมาะสม และให้เกียรติผู้อื่น และ (5) ด้านความรับผิดชอบ ผู้บริหารต้องปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีในทุก ๆ ด้านให้เป็นที่ประจักษ์แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา


Abstract

The study aimed to: 1) investigate the ethical leadership of school administrators under Secondary Educational Service Area Office Pathum Thani, and 2) survey the practical approach to develop the ethical leadership of school administrators under Secondary Educational Service Area Office Pathum Thani. The research samples consisted of 322 teachers in the schools under the Pathum Thani Secondary Educational Service Area Office. The key informants were five school administrators. The research instruments were questionnaires and interviews. Descriptive statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean, and standard deviation. Also, content analysis was employed to analyze the qualitative data.

The results revealed that: 1) the ethical leadership of school administrators were at the high levels in an overview, 2) the practical approach to develop the ethical leadership of school administrators appeared to have five dimensions as follows: (1) justice: administrators must have reasonable and applicable consideration in making every decision; (2) integrity: administrators must not cheat but be honest on their duties with good governance; (3) credibility: administrators must not take any harmful actions against their subordinates or innocent people; (4) respect: administrators must behave appropriately and respect others; and (5) accountability: administrators must act as the role models in all aspects to be recognizable to their subordinates.


Download : Ethical Leadership of School Administrators under Secondary Educational Service Area Office Pathum Thani