Model Of Participative Leadership Development Of School Administrators

โดย อริยาภรณ์ ขุนปักษี

ปี 2565


บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา 2) สร้างรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา และ 3) ประเมินรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี จำนวน 351 คน โดยการสุ่มแบบกลุ่ม มีผู้เชี่ยวชาญ 5 คน ยืนยันรูปแบบ และผู้บริหารสถานศึกษา 20 คน เป็นผู้ประเมินรปู แบบ เครื่องงมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถาม ที่มีลักษณะเป็นรูปแบบการตอบสนองคู่ มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น 0.96 แบบสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิยืนยันร่างรูปแบบ และแบบประเมินความเหมาะสมความเป็นไปได้ของรูปแบบวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ

การจัดลำดับความต้องการจำเป็น (PNIModified) การวิเคราะห์เนื้อหาและแจกแจงความถี่

ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีค่าสูงที่สุด 3 อันดับแรก คือ ด้านการปฏิบัติการ ด้านการตัดสินใจ และด้านการวางแผน2) รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 หลักการและเหตุผล ส่วนที่ 2 วัตถุประสงค์ ส่วนที่ 3 องค์ประกอบภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา มี 5 ด้าน คือ (1) ด้านการปฏิบัติการ (2) ด้านการตัดสินใจ (3) ด้านการวางแผน (4) ด้านผลประโยชน์ (5) ด้านการให้คำปรึกษา และ ส่วนที่ 4 การวัดและการประเมินผล และ 3) ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุด


Abstract

The purposes of this research were to: 1) study the current and desirable conditions of participative leadership of school administrators, 2) create a participatory leadership development model for school administrators, and 3) assess the participative leadership development model for school administrators.

The sample consisted of 351 teachers under the Pathum Thani Primary Educational Service Area Office using a cluster sampling method, 5 experts to verify the model and 20 school administrators were assessors of the model. The research instruments were a dual-response format questionnaire using a 5-level rating scale with a reliability value of 0. 96, an expert interview form for model verification, and an evaluation form for suitability and feasibility. The data were analyzed using statistical devices, including frequency value, percentage, mean, standard deviation, Modified Priority Needs Index and content analysis.

The research results showed that: 1) the overall current state of participative leadership of school administrators was at the high level. The overall of desirable condition of participative leadership was at the highest level and the Priority Needs Index for participative leadership development of school administrators with the highest value in the top 3 was operational, decision-making and planning. 2) Model for the development of participative leadership of school administrators consisted of 4 parts: Part 1 principles and reasons, Part 2 objectives, Part 3 participative leadership components of school administrators consisting of 5 aspects: (1) operations, (2) decision-making, (3) planning, (4) benefits, (5) consulting, and Part 4 measurement and evaluation. 3) Evaluation results of the suitability and feasibility of the participative leadership development model of school administrators was at the highest level.


Download : รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา