Guidelines for Personnel Management of School Administrators in Pathum Thani Province

โดย ฝนธิพรรณ ขัติเนตร

ปี 2565


บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัดปทุมธานี และ 2) ศึกษาแนวทางการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัดปทุมธานี

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 357 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม และผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีการจัดเรียงลำดับความต้องการจำเป็น (PNIModified) การวิเคราะห์เนื้อหา และการแจกแจงความถี่

ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัดปทุมธานี ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัดปทุมธานี ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ผลการศึกษาแนวทางการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัดปทุมธานี มีดังนี้ (1) ด้านการวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่ง ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีการวิเคราะห์อัตรากำลัง ตามกรอบหลักเกณฑ์ของ ก.ค.ศ. เพื่อขอรับการบรรจุแต่งตั้งจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา พร้อมทั้งติดต่อประสานงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานอื่น เพื่อขอสนับสนุนอัตรากำลังเพิ่มเติมตามเกณฑ์ที่องค์กรกำหนด (2) ด้านการสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง ผู้บริหารสถานศึกษาร่วมกับคณะกรรมการบริหารโรงเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาต้องพิจารณาคัดเลือกบุคลากรตามสาขาวิชาเอกและตามความต้องการของสถานศึกษา โดยผ่านทางประกาศโรงเรียน สื่อสังคมออนไลน์ และสำนักงานจัดหางานจังหวัด (3) ด้านการพัฒนาบุคลากร ผู้บริหารสถานศึกษาและคณะกรรมการบริหารโรงเรียนควรร่วมกันพิจารณาวางแผน ส่งเสริม และสนับสนุนให้บุคลากรเข้ารับการอบรม สัมมนา ศึกษาดูงานตามหน่วยงานทางการศึกษาต่าง ๆ เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ พร้อมทั้งยกย่อง เชิดชูเกียรติบุคลากรที่มีผลงานและความดี เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจแก่บุคลากรในสถานศึกษา (4) ด้านการธำรงรักษาบุคคล ผู้บริหารสถานศึกษาควรสร้างบรรยากาศแบบกัลยาณมิตร เอื้ออาทรต่อบุคลากรในสถานศึกษา รวมถึงการแต่งตั้งคณะกรรมการฝ่ายอาคารสถานที่ เพื่ออำนวยความสะดวก และความปลอดภัยให้กับบุคลากร (5) ด้านประเมินผลการปฏิบัติงาน ผู้บริหารสถานศึกษาต้องแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อนิเทศ กำกับ และติดตามการปฏิบัติงานของบุคลากร สร้างแนวคิดและเจตคติที่ดีในการประชุมครู โดยให้เสนอหลักเกณฑ์ในการประเมินแบบกัลยาณมิตรตามกรอบหลักเกณฑ์มาตรฐาน โดยอยู่บนพื้นฐานความถูกต้อง บริสุทธิ์ ยุติธรรม


Abstract

The objectives of this research were to: 1) study the current and desirable conditions of the personnel management of school administrators in Pathum Thani province and 2) propose guidelines for the personnel management to school administrators in Pathum Thani province.

The samples, derived from cluster sampling, consisted of 357 teachers and 5 school administrators as the key informants. The research instruments were a questionnaire and an interview form. The statistical methods for data analysis included frequency distribution, percentage, mean, standard aviation, PNIModified and content analysis.

The results of the research showed the following: 1) The perceived current conditions and the desirable conditions of the personnel management of school administrators in Pathum Thani province were at the high level. 2) The suggested guidelines for the personnel management could be summarized as follows: (1) In terms of manpower planning and need analysis, school administrators should analyze the manpower situation according to the criteria of the Office of the Teacher Civil Service and Education Personnel Commission (OTEPC) to coordinate with and request required manpower from the concerned organizations. (2) Regarding recruitment, school administrators in cooperation with school administrative boards and school committees should consider recruiting new personnel according to the specific needs via school announcements, social media, and provincial employment offices. (3) With respect to the personnel development, school administrators should support the personnel to receive training and participate in field trips to enhance their knowledge and experience. Members of the personnel with outstanding performance or with distinctive virtues should be honored and rewarded. (4) In terms of employee retention, school administrators should create a friendly atmosphere in the school and show generosity to members of the personnel. A committee to oversee school environment and facilities should be appointed to facilitate convenience and ensure safety for the personnel. (5) Regarding performance evaluation, school administrators should appoint a board to supervise and follow up the performance of members of the personnel. Positive attitudes toward personnel meetings should be encouraged, and friendly personnel evaluation criteria based on the standard performance evaluation guidelines should be agreed to ensure fairness in performance evaluation.


Download : แนวทางการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัดปทุมธานี