Digital Leadership Development Guidelines for School Administrators under Bangkok Metropolitan Administration

โดย มณีรัตน์ ประทุมเกตุ

ปี 2565


บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร และ 2) นำเสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ข้าราชการครู สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 389 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นรูปแบบการตอบสนองคู่ มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีการเรียงลำดับความต้องการจำเป็น การวิเคราะห์เนื้อหา และแจกแจงความถี่

ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานครภาพรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการจำเป็นในพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร ตามลำดับ ได้แก่ ด้านการเป็นผู้ใช้งานดิจิทัลได้อย่างคล่องแคล่วมากที่สุด รองลงมาด้านการมีวิสัยทัศน์ดิจิทัล ด้านการสร้างวัฒนธรรมดิจิทัล ด้านการสื่อสารดิจิทัล และด้านการเรียนรู้เทคโนโลยี ตามลำดับ 2) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร ดังนี้ (1) ด้านการเป็นผู้ใช้งานดิจิทัลได้อย่างคล่องแคล่ว ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัล โดยนำบุคลากรที่มีประสบการณ์มาถ่ายทอดให้กับบุคลากรที่ต้องการความช่วยเหลือหรือต้องการความรู้ และติดตามการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลโดยสร้างแบบนิเทศ ผู้บริหารควรมีการติดตามผ่านกระบวนการนิเทศ เพื่อนำข้อมูลมาสรุปผลดำเนินการแก้ไขและพัฒนาต่อไป (2) ด้านการมีวิสัยทัศน์ดิจิทัล ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลโดยสนับสนุน มีการตั้งเป้าหมายสร้างอัตลักษณ์ในด้านเทคโนโลยียุคดิจิทัลอย่างชัดเจน และกำหนดแผนกลยุทธ์รองรับ เพื่อตอบรับนโยบายของโรงเรียนในการบริหารโรงเรียนโดยใช้เทคโนโลยียุคดิจิทัล (3) ด้านการสร้างวัฒนธรรมดิจิทัลผู้บริหารสถานศึกษาควรมีแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัล โดยมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานที่เหมาะสมกับสถานการณ์ในยุคดิจิทัล ผลักดันให้เกิดทัศนคติที่ดีต่อการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในงานทั้ง 4 ฝ่าย และมีความเข้าใจขั้นพื้นฐานของสังคมดิจิทัล (4) ด้านการสื่อสารดิจิทัล ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัล โดยการกำหนดแนวทางการสื่อสารในสถานศึกษาในหลายรูปแบบที่สามารถช่วยให้การสื่อสารข้อมูลข่าวสารของสถานศึกษา สนับสนุน ส่งเสริมการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล เพื่อให้บุคลากรและนักเรียนรู้เท่าทันสื่อและใช้ในทางที่ถูกต้อง (5) ด้านการเรียนรู้เทคโนโลยีดิจิทัล ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัล โดยมีการเรียนรู้และส่งเสริมให้บุคลากรใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการปฏิบัติงานและการจัดการเรียนรู้ เสริมสร้างให้เกิดทักษะดิจิทัลในการใช้แพลตฟอร์มต่าง ๆ


Abstract

The objectives of this research were: 1) to explore the current and desirable conditions of digital leadership of school administrators under Bangkok metropolitan administration, and 2) to investigate digital leadership development guidelines for school administrators under Bangkok metropolitan administration.

The samples used in this research were 389 school administrators and 5 key informants under Bangkok metropolitan administration. They were selected by stratified random sampling. The research instruments consisted of a questionnaire with a dualresponse format with 5 rating scale, and a semi-structured interview form. The statistics used to analyze data were frequency, mean, standard deviation, PNIModified, content analysis, and frequency distribution.

The research results revealed as follows: 1) the overall current state of digital leadership of school administrators under the Bangkok Metropolitan Administration was at a high level. The desirable conditions of digital leadership of school administrators under the Bangkok Metropolitan Administration was at a high level. The need for digital leadership development of school administrators under the Bangkok metropolitan administration were digital users with the most fluency, followed by digital vision, digital culture creation, digital communication, and technology learning, respectively. 2) Digital leadership development guidelines for school administrators under the Bangkok metropolitan administration were as follows: (1) in the aspect of being a fluent digital user of school administrators should have guidelines for developing digital leadership by bringing experienced personnel to help those who need help or need knowledge, and follow up on the use of digital technology by creating a supervision model. School administrators should follow up through the supervision process to summarize the results and further development. (2) In the aspect of digital vision of school administrators should have guidelines for digital leadership development by supporting, setting goals, creating a clear identity in digital technology, setting a plan to support strategy in response to the school policy on school management using digital technology. (3) In the aspect of creating a digital culture of school administrators should develop digital leadership development guidelines by modifying working styles that are suitable for the situation in the digital age and promote a positive attitude towards the use of digital technology in all four sectors and have a basic understanding of the digital society. (4) In the digital communication of school administrators should have guidelines for developing digital leadership by establishing communication guidelines in various forms for the better understandable  communication, support, and promote the use of information technology media and communication through digital platforms so personnel and students should be aware of the media and use it in the right way. (5) In the aspect of digital technology learning of school administrators should have guidelines for developing digital leadership by learning and encouraging personnel to use digital technology in operations, learning management, and building digital skills using various platforms.


Download : แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร