Performing Art Center
โดย ธนากร ประกอบวงศ์
ปี 2553
บทคัดย่อ
ในปัจจุบันศิลปะและวัฒนธรรมสามารถถ่ายทอดออกมาในรูปแบบของละครเวที ทั้งโรงละครแห่งชาติ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยที่อยู่กับประเทศมาโดยตลอด รวมไปถึงโรงละครที่อยู่ในภาคเอกชนที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยว เช่น ภัทราวดี อักษรา เป็นต้น ถึงแม้จะมีสถานบันเทิงต่างๆ แต่ศิลปการแสดงก็ยังคงมีการส่งต่อให้กับเยาวชนได้น้อยซึ่งเป็นผลกระทบมาจากการที่ไม่ค่อยมีการถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจต่อเยาวชน ร่วมไปถึงการสนับสนุนจากทางภาครัฐและเอกชนจึงทำให้ในปัจจุบันศิลปะและวัฒนธรรมถูกลืม และเริ่มเลือนหายไป วอลเตอร์ เคอร์ นักวิจารณ์ชาวอเมริกันพูดถึงเรื่องนี้ไว้ว่า “ความสัมพันธ์ระหว่างคนดูกับคนแสดงเช่นนี้ไม่มีในภาพยนตร์ เพราะภาพยนตร์เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นมาสำเร็จรูปแล้ว มันไม่สามารถตอบสนองเราได้ เพราะนักแสดงในภาพยนตร์ไม่สามารถได้ยินเรา รู้สึกถึงตัวตนของเราแลไม่ว่าเราจะมีปฏิกิริยาอย่างไรก็ไม่มีผลใดๆ” ศิลปการแสดงละครเวทีจึงเป็นศิลปะแขนงหนึ่งที่ควรมีการเผยแพร่ต่ออีกทั้งยงสามารถให้ความบันเทิง ผ่อนคลายความเครียดได้อีกด้วย
ศิลปะสถานเพื่อการละคร เป็นแหล่งรวบรวมเกี่ยวกับศิลปการแสดงในด้านต่างๆ เพื่อที่จะเผยแพร่ ให้แก่ผู้ที่สนใจในด้านการแสดงอีกทั้งยังเป็นวิวัฒนาการ แห่งภูมิปัญญาขนบธรรมเนียมประเพณีตลอดจนวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย เพื่อเป็นการเปิดโลกทัศน์แห่งวิวัฒนาการทางด้านความรู้ ความสามารถและความบันเทิง เป็นการปลูกฝังในด้านการแสดงออกแนวความคิดอันเป็นประโยชน์ในการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันสำหรับเยาวชนต่อไป
Download : โครงการเสนอแนะออกแบบสถาปัตยกรรมภายในศิลปะสถานเพื่อการละคร