A Raterder Sytem for “Little Viper” Anti-tank Mine Field Missike
โดย สมประสงค์ ภาษาต่างประเทศ สุจิระ ขอจิตต์เมตต์ และอภิชาติ สนธิสมบัติ
ปี 2545
วารสารวิศวกรรมศาสตร์ ราชมงคลธัญบุรี ฉบับที่ 2 ปีที่ 1 (ก.ค. – ธ.ค. 2545), หน้า 22-26
บทคัดย่อ
สืบเนื่องจากโครงการวิจัยและพัฒนาระเบิดสาย พบว่าระบบหน่วงเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญส่วนหนึ่งที่จะส่งผลบังคับให้จรวดที่ลากระเบิดสายเหยียดตรง และทาบกับพื้นตามเป้าหมายอย่างแม่นยำ หากระบบหน่วงทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพอาจเกิดอันตรายกับทหารที่อยู่ในบริเวณที่ตั้งยิงได้ หรือหากระบบหน่วงไม่สามารถหน่วงจรวดที่ลากระเบิดสายได้ จรวดก็จะหลุดออก ทำให้ไม่สามารถทำลายสนามทุ่นระเบิดตามต้องการได้เช่นกัน ดังนั้นระบบหน่วงจึงจำเป็นต้องหน่วงด้วยแรงที่พอเหมาะกล่าวคือ ไม่มากจนเกินไป (อาจก่อให้เกิดการเบี่ยงเบนวิถีของจรวดก่อให้เกิดอันตรายกับบริเวณฐานยิงได้) หรือจะต้องไม่น้อยเกินไป (อาจทำให้ตัวจรวดหลุดออกฐานยิงทำให้ไม่สามารถลากสายระเบิดให้เป็นแนวเส้นตรงได้)
จากการศึกษาการพัฒนาระบบหน่วงของต่างประเทศก็ได้พัฒนากันมาเป็นเวลานาน เริ่มตั้งแต่การหน่วงด้วยระบบกลคือใช้น้ำหนักถ่วงหรือใช้ร่มชูชีพดึงด้านท้ายจรวด ฯลฯ ขั้นสุดท้ายก็พัฒนามาใช้ผลผลิตทางด้านสิ่งทอเป็นระบบหน่วงซึ่งมีความคล่องตัว น้ำหนักเบา ไม่ต้องการการบำรุงรักษาใดๆ เป็นพิเศษ ม้วนพับเก็บได้ นับว่าเป็นความฉลาดของนักวิจัยต่างประเทศเป็นอย่างยิ่งแต่จะต้องใช้ความรู้ทางด้านวัสดุสิ่งทอและโครงสร้างวัสดุให้เหมาะสมกับการใช้งาน จุดประสงค์ในการวิจัยครั้งนี้ เพื่อพิจารณาระบบหน่วงโดยใช้แถบหน่วงจากวัสดุทางด้านสิ่งทอ ให้มีอัตราการหน่วงตามความต้องการส่งผลทำให้สายระเบิดตึง และตกพาดลงตามทิศทางของเป้าหมายที่ต้องการ (เป็นแนวตรง)
Download : การวิจัยและพัฒนาระบบหน่วงโดยใช้แถบหน่วง (Retarer) สำหรับโครงการวิจัยและพัฒนาสายระเบิด