The Effect of Opening Thai-Japanese Free Trade Area on Management Planning of Distributors in the Steel Industry

โดย ดำรงค์ยุทธ นันทปราโมทย์

ปี     2550

บทคัดย่อ (Abstract)

วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ เพื่อศึกษา การคาดการณ์ความได้เปรียบเชิงการแข่งขันจากผลกระทบการเปิดเขตการค้าเสรีไทย-ญี่ปุ่น ซึ่งได้มีการเซ็นข้อตกลงใน เดือนเมษายน 2550 และมีผลบังคับตั้งแต่ 1 พ.ย. 2550 เป็นต้นไป ที่มีต่อผู้แทนการจัดจำหน่ายเหล็ก รวมทั้งทำการศึกษาปัจจัยที่ใช้ในการวางแผนการจัดการ ของผู้แทนจัดจำหน่ายในอุตสาหกรรมเหล็ก ที่ได้รับผลกระทบ และปัจจัยในการวางแผนการจัดการที่ส่งผลว่าควรมีการวางแผนการจัดการและการนำแผนการจัดการไปปฏิบัติ การศึกษาได้ใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้แทนจำหน่ายเหล็กในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจำนวน 155 ตัวอย่าง สถิติที่ใช้เป็น สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ เป็นอัตราร้อยละและการวัดแนวโน้มสู่ส่วนกลางโดยออกมาเป็นค่าเฉลี่ย ทั้งนี้ยังได้วัดการกระจายของข้อมูล โดยวัดเป็นค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทำการทดสอบสมมุติฐาน สถิติอ้างอิงแบ่งแบบมีพารามิเตอร์ ทำการวิเคราะห์ถึงปัจจัยความสัมพันธ์ที่ส่งผลต่อกัน โดยใช้การวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ ในการหาความสัมพันธ์ของตัวแปร 2 ตัว ที่เป็นอิสระต่อกัน ใช้การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ Pearson Correlation ระหว่างตัวแปร 2 ตัว ที่แต่ละตัวต่างมีระดับการวัดของข้อมูลในระดับอันตรภาค ขึ้นไปโดยใช้โปรแกรม SPSS ในการวิเคราะห์

ผลการศึกษาพบว่า ผู้ประกอบการส่วนมากเป็นผู้แทนจำหน่ายเหล็กแผ่นรีดร้อนรีดเย็นเหล็กรูปพรรณ และเหล็กเส้น ตามลำดับ และส่วนใหญ่มีอายุการดำเนินการมากกว่า 15 ปี มีทุนจดทะเบียนมากกว่า 100 ล้านบาทและ 5-10 ล้านบาท ตามลำดับ การคาดการณ์การได้เปรียบเชิงการแข่งขันโดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง โดยเฉพาะความได้เปรียบด้านความสามารถการทำกำไรผู้แทนจัดจำหน่ายเหล็กมีความคิดเห็นหลากหลาย มีค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานสูงมาก(0.90) จึงกล่าวได้ว่าความคิดเห็นยังแตกออกเป็นหลายอย่างแต่โดยเฉลี่ยอยู่ระดับปานกลาง ปัจจัยที่ใช้ในการวางแผนการจัดการโดยรวม อยู่ในระดับมาก การนำแผนการจัดการไปปฏิบัติของผู้แทนการจัดจำหน่ายเหล็ก ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญกับการควรมีการวางแผนการจัดการในระดับมาก และผลการปฏิบัติอยู่ระดับมาก แต่ความรู้ความสามารถของบุคลากรในการวางแผนการจัดการขององค์กรมีระดับปานกลาง

การทดสอบสมมติฐาน พบว่า การคาดการณ์ความได้เปรียบเชิงการแข่งขันของญี่ปุ่นต่อไทยด้านความสามารถการทำกำไร ความพึงพอใจของลูกค้า และราคาต้นทุนสินค้าที่ถูกกว่า มีผลกระทบต่อผู้ประกอบการประเภทเหล็กแผ่นรีดร้อนรีดเย็น มีช่วงระยะเวลาดำเนินการมากกว่า 15ปีขึ้นไป และมีทุนจดทะเบียนมากกว่า 100 ล้านบาท ส่วนประเภทความได้เปรียบเชิงการแข่งขันด้านการบริหารสินค้าคงคลัง ไม่มีผลต่อประเภทการจัดจำหน่าย แต่มีผลต่อผู้ประกอบการที่มีช่วงการดำเนินการต่ำ และมีทุนจดทะเบียนน้อยกว่า 30 ล้านบาท

ด้านการคาดการณ์ความได้เปรียบเชิงการแข่งขันด้านความสามารถในการทำกำไร ส่งผลต่อด้านปัจจัยที่ใช้ในการวางแผนการจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านการริเริ่มของผู้นำ ด้านการปรับปรุงวัฒนธรรมองค์กร ในระดับต่ำถึงปานกลาง ส่วนด้านความได้เปรียบเชิงการแข่งขันด้านราคาต้นทุนสินค้า พบว่าส่งผลต่อปัจจัยที่ใช้ในการวางแผนด้านความรู้ความสามารถในการบริหาร

ด้านผลการนำแผนการจัดการไปปฏิบัติ พบว่าการริเริ่มของผู้นำเป็นอุปสรรคต่อการเห็นว่าควรมีการวางแผนการจัดการหรือไม่ และผลการนำแผนการจัดการไปปฏิบัติ ส่วนปัจจัยด้านความรู้ความสามารถในการวางแผน ขึ้นอยู่กับความรู้ความสามารถในการบริหารของผู้ประกอบการ

DOWNLOAD