Risk Analysis in the Operation of E-Document Systems for Personnel from Government Agencies in the Ministry of Education
โดย ปิยะนุช แสงสาย
ปี 2559
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะประชากรศาสตร์ กรอบวิธีปฏิบัติ COSO และ COBIT ที่มีผลต่อความเสี่ยงในการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ ของระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์สำหรับหน่วยงานราชการกระทรวงศึกษาธิการประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ หน่วยงานราชการกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน6 หน่วยงาน โดยมีกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 1,484 คน ใช้หลักการคำนวณกลุ่มตัวอย่างของ Taro Yamaneกำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มแบบมีระบบ สถิติที่นำมาใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความน่าเชื่อถือ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า ด้านประชากรศาสตร์ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 36-45 ปี การศึกษา อยู่ในระดับปริญญาโท อยู่หน่วยงานสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา มีระยะเวลาการปฏิบัติงานมากกว่า 8 ปีขึ้นไป และมีประสบการณ์การใช้งานโปรแกรมใช้งานทุกอาทิตย์ กรอบวิธีปฏิบัติ COSO พบว่า มีค่าเฉลี่ยรวมจัดอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีอันดับที่หนึ่ง คือการประเมินความเสี่ยง อันดับที่สอง คือ การควบคุมสภาพแวดล้อม และอันดับที่สาม คือ สารสนเทศและการสื่อสาร กรอบวิธีปฏิบัติ COBIT พบว่า มีค่าเฉลี่ยรวมจัดอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีอันดับที่หนึ่งคือ การวางแผนและการจัดการองค์กร อันดับที่สอง คือ การส่งมอบและการบำรุงรักษา และอันดับที่สาม คือ การติดตาม ส่วนการวิเคราะห์ ข้อมูลเพื่อทดสอบสมมติฐาน พบว่า ลักษณะประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกันมีผลต่อความเสี่ยงในการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ ของระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์แตกต่างกัน กรอบวิธีปฏิบัติ COSO ที่แตกต่างกันมีผลต่อความเสี่ยงในการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ ของระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์แตกต่างกัน และกรอบวิธีปฏิบัติ COBIT ที่แตกต่างกันมีผลต่อความเสี่ยงในการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ ของระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์แตกต่างกัน
This research aimed at exploring how demographic characteristics, the COSO framework, and the COBIT framework affected risks in operating various domains of electronic document systems for government agencies in the Ministry of Education. The population of the study included a total number of 1,484 personnel from six government agencies in the Ministry of Education. Taro Yamane methods were employed to calculate the number of sampling subjects. Samples were systematically randomized. Statistics employed included percentage, mean, standard deviation, reliability, and Pearson correlation coefficient. The results showed that in the aspect of demographics, most personnel were females aged between 36 to 45, and they obtained a master’s degree. They had been working in the agencies of the Office of Vocational Education Commission for more than eight years and had experience using the working program every week. In accordance with the COSO framework, the results revealed that the overall average was at the highest level. It was apparent that the first highest rank was risk assessment, the second highest rank was control environment, and the third highest rank was information and communication. With regards to the COBIT framework, it was found that the overall average was at the highest level. The results showed that the first highest rank was planning and organizing, the second highest rank was delivery and maintenance, and the third highest rank was monitoring. When analyzing the data to test the hypothesis, the results indicated that different demographic characteristics had different results on risk operations in various domains of edocument systems. In addition, different COSO and COBIT frameworks affected operations differently in various domains of e-document systems.