Usage Behavior of Smart-Phone Applications for Middle Age Persons

โดย จันทิรา แซ่เตียว

ปี 2559

บทคัดย่อ

การค้นคว้าอิสระครั้งนี้ได้ศึกษาถึงพฤติกรรมการเลือกใช้แอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์เคลื่อนที่สมาร์ทโฟนสำหรับวัยกลางคน เพื่อศึกษาถึงปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ และพฤติกรรมการใช้งานสมาร์ทโฟนกับพฤติกรรมการเลือกใช้แอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนสำหรับวัยกลางคน เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนา และปรับปรุงแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนให้ตรงต่อความต้องการของวัยกลางคน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชากรในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 400 ตัวอย่าง โดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา เพื่ออธิบายลักษณะทั่วไปของข้อมูล เช่น ค่าเฉลี่ย ความถี่ ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน เพื่อทดสอบสมมติฐานโดยใช้ Independent Samples t-test, One-way ANOVA และ Least Significant Difference (LSD) ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยด้านอาชีพ การเลือกใช้แอพพลิเคชั่น และช่องทางในการค้นหา แอพพลิเคชั่นที่แตกต่างกันส่งผลต่อความต้องการใช้งานแอพพลิเคชั่นที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 สีตัวอักษรบนสมาร์ทโฟนที่แตกต่างกันส่งผลต่อความต้องการใช้งาน แอพพลิเคชั่นที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 รูปแบบตัวอักษรบนสมาร์ทโฟนที่แตกต่างกันส่งผลต่อความต้องการใช้งานแอพพลิเคชั่นที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0.05 ช่วงระยะเวลาที่ใช้สมาร์ทโฟนที่แตกต่างกันส่งผลต่อความต้องการใช้งานแอพพลิเคชั่นที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่อยู่ในช่วงวัยกลางคนจึงมีความต้องการสีของตัวอักษร และรูปแบบตัวอักษรที่ชัดเจน เพื่อความชัดเจนในการมองเห็นข้อความบนโทรศัพท์เคลื่อนที่สมาร์ทโฟน

The purpose of this independent study was to study middle aged persons’ behavior on choice of smart phone applications in relation to demographic aspect, their smart phone usage and choice of applications in order to provide guidelines for improving smart phone applications to best suit their needs. The sample for this study was a total of 400 persons aged 35 and over currently living in Bangkok and vicinity. The descriptive statistics were mean, frequency, percentage and standard deviation. The hypotheses were then tested by Independent Samples t-test, One-way ANOVA and Least Significant Difference (LSD). The results showed that different occupations, choice of application, channels in searching for application, letter colors and font on smart phone, and usage duration significantly affected the respondents’ needs in using different applications at the level of 0.05. Since most of them were middle-aged, they needed clear vision of font and its color.

DownloadUsage Behavior of Smart-Phone Applications for Middle Age Persons