THE PRODUCTION OF TELEVISION DOCUMENTARY PROGRAM USING THE TECHNIQUES OF STOP MOTION, TINT ON THE SPECIFIC POINTS, FAST MOTION AND VIDEO BACKWARD (REVERSED) TO CONVEY THE MEANING
โดย วนัสญา มลสิน, อรอนงค์ ช้างน้อย, จิรภา พรหมศิลป์, นฤพัฒน์ แซ่ชิน และจักรกฤษณ์ นาคประเสริฐ
ปีการศึกษา 2558
บทคัดย่อ (Abstract)
ปริญญานิพนธ์เรื่อง การผลิตรายการสารคดีทางโทรทัศน์โดยใช้เทคนิค STOP MOTION การย้อมสีเฉพาะจุด การปรับอัตราความเร็วภาพ และการท าภาพวิดีโอย้อนกลับในการสื่อความหมาย มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา เพื่อใช้เทคนิค STOP MOTION การย้อมสีเฉพาะจุด การปรับอัตราความเร็วภาพ และการทำภาพวิดีโอย้อนกลับเพื่อการสื่อความหมายในรายการสารคดีท่องเที่ยวที่มีความเป็นจริงได้
วิธีการศึกษาทำโดยผลิตรายการสารคดีท่องเที่ยวทางโทรทัศน์โดยใช้เทคนิค STOP MOTION การย้อมสีเฉพาะจุด การปรับอัตราความเร็ว และการท าภาพวิดีโอย้อนกลับ ในการสื่อความหมายมีความยาวทั้งหมดประมาณ 20 นาที โดยการถ่ายทำด้วยกล้อง DSLR รุ่น 60D บันทึกลงเทปโดย SDCard 16 และนำมาตัดต่อลงชุดคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรม Adobe Premiere Pro CS6 ในการตัดต่อ เมื่องานเสร็จสมบูรณ์แล้วจึงนำไปบันทึกลงแผ่น DVD เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการศึกษาครั้งนี้ การประเมินแบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ การประเมินผลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การประเมินผลเชิงปริมาณจะประมวลผลโดยใช้แบบสอบถามโดยให้ตัวแทนผู้รับสารกลุ่มเป้าหมาย 100 คนชมผลงานแล้วประเมินผลโดยคำนวณเป็นเปอร์เซ็นต์ การประเมินเชิงคุณภาพจะประมวลผลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่านหลังจากที่ชมผลงานแล้วประเมินผลโดยวิธีพรรณนา ประกอบแนวคิดทฤษฎีที่ได้แสดงไว้แล้วในบทที่ 2
ผลการศึกษาครั้งนี้สรุปว่า การผลิตรายการสารคดีท่องเที่ยวทางโทรทัศน์โดยใช้เทคนิค STOP MOTION การย้อมสีเฉพาะจุด การปรับอัตราความเร็ว และการท าภาพวิดีโอย้อนกลับ ในการสื่อความหมายนั้นสามารถถ่ายทอดความหมายของความเป็นจริงในรายการสารคดีตามที่คาดไว้
วัตถุประสงค์
- เพื่อศึกษาการใช้เทคนิค Stop Motion การย้อมสีเฉพาะจุด การปรับอัตราความเร็วภาพ
และการทำภาพวิดีโอย้อนกลับในการสื่อความหมายของความเป็นจริงในรายการสารคดีท่องเที่ยว - เพื่อให้สามารถน าแนวคิดในการใช้เทคนิค Stop Motion การย้อมสีเฉพาะจุด การปรับ
อัตราความเร็วภาพ และการทำภาพวิดีโอย้อนกลับไปประยุกต์ใช้ในการผลิตรายการโทรทัศน์รูปแบบอื่น ๆ ที่ต้องการสื่อความหมายของรายการต่อไป
ขอบเขตของการศึกษา
การศึกษาในครั้งนี้ ศึกษาโดยการใช้เทคนิค Stop Motion การย้อมสีเฉพาะจุด การปรับอัตราความเร็วภาพ และการทำภาพวิดีโอย้อนกลับในการสื่อความหมายในรายการสารคดีท่องเที่ยว ความยาว 20 นาที
ถ่ายทำโดยใช้กล้อง Canon EOS 60D บันทึกลงบน Memory Card และบันทึกลงเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้ระบบปฏิบัติการ Windows8 และนำมาตัดต่อด้วยโปรแกรม Adobe Master Collection CS6 บันทึกเสียงด้วยไมโครโฟนไร้สาย ทำการ Export ลงแผ่น Harddisk
กลุ่มตัวแทนผู้รับสารเป้าหมายเป็นผู้ชมทั่วไป ไม่จำกัดอายุ เพศ ระดับการศึกษา อาชีพ ทัศนคติ จำนวน 100 คน โดยใช้วิธีสุ่มแบบบังเอิญ
วิธีการประเมินผลเชิงปริมาณ ประเมินจากการนำเสนอให้กลุ่มตัวแทนผู้รับสารเป้าหมาย จำนวน 100 คนชมแล้วตอบแบบสอบถาม นำผลที่ได้มาประเมินผลโดยคำนวณเป็นเปอร์เซ็นต์ และวิธีการประเมินผลเชิงคุณภาพ ประเมินจากการนำเสนอผลงานให้ผู้เชี่ยวชาญด้านสารคดีทางโทรทัศน์ 1 คน ด้านเทคนิคStop Motion 1 คน และด้านเทคนิคการตัดต่อ 1 คน ชมแล้วสัมภาษณ์เชิงลึกแล้วประเมินผลโดยวิธีพรรณนา
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
- สามารถใช้เทคนิค Stop Motion การย้อมสีเฉพาะจุด การปรับอัตราความเร็วภาพ และ
การทำภาพวิดีโอย้อนกลับในการสื่อความหมายของความเป็นจริงในรายการสารคดีท่องเที่ยวได้ - สามารถนำความรู้ ทักษะและประสบการณ์ที่ได้รับจากการศึกษาเรื่องของการใช้เทคนิค
Stop Motion การย้อมสีเฉพาะจุด การปรับอัตราความเร็วภาพ และการทำภาพวิดีโอย้อนกลับไปประยุกต์ใช้ในการผลิตรายการโทรทัศน์รูปแบบอื่น ๆ ที่ต้องการสื่อความหมายของรายการได้
อภิปรายผลจากการประเมินเชิงปริมาณ
การตอบแบบสอบถามของตัวแทนผู้รับสารกลุ่มเป้าหมาย
การประเมินผลความคิดเห็นและความเข้าใจในรายการสารคดีท่องเที่ยวทางโทรทัศน์โดยใช้
เทคนิค Stop Motion, การย้อมสีเฉพาะจุด, การปรับอัตราความเร็ว และการทำภาพวิดีโอย้อนกลับในการสื่อความหมาย จากตัวแทนผู้รับสารกลุ่มเป้าหมาย 100 คน สามารถสรุปได้ดังนี้
- การนำเสนอรายการสารคดีท่องเที่ยวโดยใช้เทคนิคที่นำภาพนิ่งมาต่อ ๆ กัน (ยกเว้นช่วง
พิธีกร) (Stop Motion) สามารถสื่อความหมายและความเข้าใจแก่ผู้ชมได้ อยู่ในเกณฑ์มาก หมายถึง ผู้รับสารมีความเข้าใจว่า รายการสารคดีนี้ต้องการเล่าเรื่องเพื่อสื่อความหมายเกี่ยวกับการท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดทฤษฎีของ สนั่น ปัทมะทิน (2542 : 3) ที่กล่าวว่า Stop Motion เป็นเทคนิคที่มีศักยภาพพื้นฐาน คือ การทำให้ความสลับซับซ้อนเข้าใจง่ายขึ้น - การนำเสนอรายการสารคดีในรูปแบบของการใช้เทคนิคที่นำภาพนิ่งมาต่อ ๆ กัน (ยกเว้น
ช่วงพิธีกร) (Stop Motion) ผู้ชมส่วนใหญ่ตอบว่า ยังดูเป็นความจริง อยู่ในเกณฑ์มาก แสดงว่า การใช้เทคนิคการนำภาพนิ่งมาต่อ ๆ กัน (ยกเว้นช่วงพิธีกร) สามารถใช้สื่อความหมายในการผลิตรายการสารคดีที่นำเสนอความเป็นจริงได้ ซึ่งไม่สอดคล้องกับแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการใช้เทคนิค Stop Motion ที่ ชื่นสุมล อุกฤษวิริยะ (2536 : 1) ได้กล่าวถึงการใช้เทคนิค Stop Motion ในภาพยนตร์แอนิเมชั่นไว้ว่า เป็นเทคนิคในการสร้างภาพตามจินตนาการ คำว่า “จินตนาการ” ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 (2542 : 313) ได้ให้ความหมายของ “จินตนาการ” ไว้ว่า การสร้างภาพขึ้นในจิตใจ ผู้ศึกษาตีความจากความหมายในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานว่า ภาพที่สร้างขึ้นในจิตใจก็คือไม่ใช่ภาพจริงตามธรรมชาติ - การเร่งความเร็วของภาพให้มีการเปลี่ยนภาพที่มีความเร็วขึ้นกว่าปกติ (Fast Motion) ทำให้ผู้ชมมีความรู้สึกว่า ยังคงมีการนำเสนอเรื่องที่เป็นจริง อยู่ในเกณฑ์มาก หมายถึงการใช้เทคนิค Fast Motion สามารถทำให้ผู้รับสารยังคงเชื่อว่า เป็นรายการสารคดีที่เป็นเรื่องจริง ซึ่งไม่สอดคล้องกับแนวคิดเกี่ยวกับการใช้เทคนิคปรับความเร็วภาพที่ ศุภนิต อารีหทัยรัตน์ (2540 : 21) กล่าวว่า ภาพเร็ว (Fast Motion) คือ ภาพที่เคลื่อนไหวเร็วกว่าปกติบนจอให้แตกต่างจากภาพความเป็นจริง
- การใช้เทคนิคการทำภาพวิดีโอย้อนกลับสามารถทำให้ผู้ชมเข้าใจว่า เป็นเรื่องจริง ผู้ชมส่วน
ใหญ่มีความเข้าใจอยู่ในเกณฑ์มาก แสดงว่าการนำเทคนิคย้อนกลับ (Reverse) ที่ให้พิธีกรเดินถอยหลังสามารถทำให้ผู้รับสารเกิดความเข้าใจและเชื่อว่ารายการสารคดีเรื่องนี้เป็นเรื่องจริง ซึ่งไม่สอดคล้องกับแนวคิดเกี่ยวกับการใช้เทคนิคภาพที่ย้อนกลับ (Reverse) ที่ Slideshare, เว็บไซต์, 2558 กล่าวว่า ภาพที่ย้อนกลับ (Reverse) เป็นการทำให้ภาพที่ถ่ายทำมามีการเคลื่อนไหวในลักษณะถอยกลับไปเหมือนดูเทปย้อนหลัง นิยมใช้กับการถอยภาพเพื่อย้อนกลับไปดูอะไรบางอย่างที่ผ่าน รายการตลก และสปอตรณรงค์ประเภทการเตือนสติ เป็นต้น - การย้อมสีเรือที่ตลาดน้ำอโยธยาดูเป็นธรรมชาติและมีความแตกต่างจากภาพที่ไม่มีการย้อมสี ผู้ชมส่วนใหญ่ชมภาพที่ผ่านการย้อมสีแล้วยังรู้สึกถึงความเป็นจริงตามธรรมชาติอยู่ในเกณฑ์มาก ซึ่งไม่สอดคล้องกับแนวคิดเกี่ยวกับการใช้เทคนิคการใช้สีและการย้อมสีที่ อมรินทร์ จันทรเวช (2548 : 80) กล่าวว่า การย้อมสีปัจจุบันนิยมใช้กันเยอะมาก เพราะเป็นการสร้างสรรค์งานในรูปแบบ ใหม่ที่เหนือธรรมชาติให้มีสีที่ผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง
- การย้อมพระพุทธรูปหลวงพ่อโตที่วัดพนัญเชิงวรวิหารดูเป็นธรรมชาติและมีความแตกต่าง
จากภาพที่ไม่มีการย้อมสี ผู้ชมส่วนใหญ่ชมภาพที่ผ่านการย้อมสีแล้วยังรู้สึกถึงความเป็นจริงตามธรรมชาติอยู่ในเกณฑ์มาก ซึ่งไม่สอดคล้องกับแนวคิดเกี่ยวกับการใช้เทคนิคการใช้สีและการย้อมสีที่ อมรินทร์ จันทรเวช (2548 : 80) กล่าวว่า การย้อมสีปัจจุบันนิยมใช้กันเยอะมาก เพราะเป็นการสร้างสรรค์งานในรูปแบบใหม่ที่เหนือธรรมชาติให้มีสีที่ผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง - โดยภาพรวมของรายการสารคดีท่องเที่ยวนี้ผู้ชมคิดว่า การนำเสนอทั้งหมดนั้นเป็นเรื่องจริง
อยู่ในเกณฑ์มาก แสดงว่าการใช้เทคนิค Stop Motion การปรับอัตราความเร็ว การย้อมสีเฉพาะจุด และการทำภาพย้อนกลับ เทคนิคทั้งหมดนี้เป็นเทคนิคที่ขัดจากธรรมชาติ แต่สามารถทำให้ผู้รับสารชมแล้วเชื่อได้ว่า รายการสารคดีนี้เป็นเรื่องจริงเชื่อถือได้ ซึ่งไม่สอดคล้องกับแนวคิดเกี่ยวกับการใช้เทคนิค
Zoran, อ้างถึงใน อัญญรัตน์ บัวศิริ และ ชมพูนุช เกษดี, 2556 : 19 กล่าวว่า เทคนิค Stop Motion เป็นแอนิเมชั่นที่สามารถสร้างชีวิตแก่สิ่งไม่มีชีวิตไม่ว่าจะเป็นวัตถุธรรมดา วัตถุที่ถูก
ออกแบบพิเศษให้เป็นหุ่นหรือโดยการวาดขึ้นมันเป็นเครื่องมือทรงพลังสำหรับการสร้างภาพยนตร์ให้เกิดขึ้นได้
กมล ฉายาวัฒนะ (2548 : 63) กล่าวว่า สิ่งของเหล่านั้นเคลื่อนที่หรือเปลี่ยนแปลงไปอย่าง
รวดเร็ว ซึ่งความเร็วที่ถูกเร่งขึ้นนั้น โดยพื้นฐานแล้วเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดพลังในที่ตลกขบขัน อาทิอย่างเช่น ในหนังการ์ตูนและในหนังเงียบมากกว่า
อมรินทร์ จันทรเวช (2548 : 80) กล่าวว่า การย้อมสีปัจจุบันนิยมใช้กันเยอะมาก เพราะเป็น
การสร้างสรรค์งานในรูปแบบใหม่ที่เหนือธรรมชาติให้มีสีที่ผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง
Slideshare, เว็บไซต์, 2558 กล่าวไว้ว่า ภาพที่ย้อนกลับ (Reverse) เป็นการทำให้ภาพที่ถ่าย
ทำมามีการเคลื่อนไหวในลักษณะถอยกลับไปเหมือนดูเทปย้อนหลัง นิยมใช้กับการถอยภาพเพื่อย้อนกลับไปดูอะไรบางอย่างที่ผ่าน รายการตลก และสปอตรณรงค์ประเภทการเตือนสติ เป็นต้น
กล่าวโดยสรุปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเทคนิค Stop Motion การปรับอัตราความเร็วของภาพ การ
ย้อมสีเฉพาะจุด และการทำภาพย้อนกลับล้วนแล้วแต่เป็นเทคนิคที่ทำให้เกิดภาพในลักษณะที่เป็นจริงตามธรรมชาติทั้งสิ้น
อภิปรายผลจากการประเมินเชิงคุณภาพ
การสัมภาษณ์เชิงเจาะลึกผู้เชี่ยวชาญด้านสารคดีทางโทรทัศน์
คุณกรณ์ กิจเจริญ ได้แสดงความคิดเห็นไว้ว่า สารคดีการท่องเที่ยวที่ใช้เทคนิคที่ขัดแย้งจากความเป็นจริง ดูแล้วมีความเชื่อว่า สิ่งที่นำเสนอเป็นเรื่องจริงยังคงมีความเป็นจริงอยู่ ต่อให้ใช้เทคนิคอื่น ๆ ในการนำเสนอก็ยังให้ความรู้สึกว่า ยังคงความเป็นจริง เพราะเป็นภาพจริง สถานที่ที่จริง ไม่ได้มีการตัดต่อภาพหรือบิดเบือนภาพ แต่การนำเสนอยังไม่ดึงดูด การทำสารคดีต้องมีข้อมูลมากกว่านี้ ควรพูดและ Insert ภาพตาม เช่น การแนะนำวัดพระศรีสรรเพชรจะพูดถึงผนังก็ Insert ภาพผนังตามเลย เมื่อเป็นการสื่อในสิ่งที่เราจะนำเสนอ ถ้าเราเอาภาพทั้งหมดมารวมกันคนดูก็จะไม่เข้าใจตามกับเราและไตเติ้ลขึ้นไม่ควรนำมาคั่นบ่อยเพราะภาพซ้ำหรือดูเหมือนกลับมาใหม่อาจใช้ Transition เป็นภาพของสถานที่ต่อไปที่เราจะไปกันเป็นเหมือนการแนะนำสถานที่ต่อไป การ Fade Black ไม่ควรนานจนเกินไป และเพลงสำคัญในการทำให้รายการดูไม่น่าเบื่อ ซึ่งไม่สอดคล้องกับแนวคิดทฤษฎีของ
ชื่นสุมล อุกฤษวิริยะ (2536 : 1) ได้กล่าวถึงการใช้เทคนิค Stop Motion ในภาพยนตร์แอนิเมชั่นไว้ว่า เป็นเทคนิคในการสร้างภาพตามจินตนาการ คำว่า จินตนาการ ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 (2542 : 313) ได้ให้ความหมายของจินตนาการไว้ว่า การสร้างภาพขึ้น
ในจิตใจ ผู้ศึกษาตีความจากความหมายในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานว่า ภาพที่สร้างขึ้นในจิตใจก็คือไม่ใช่ภาพจริงตามธรรมชาติ
ศุภนิต อารีหทัยรัตน์ (2540 : 21) กล่าวว่า ภาพเร็ว (Fast Motion) คือ ภาพที่เคลื่อนไหวเร็ว
กว่าปกติบนจอ การเร่งความเร็วให้กับการเคลื่อนไหวปกติทำให้เกิดความแตกต่างจากภาพความเป็นจริง
อมรินทร์ จันทรเวช (2548 : 80) กล่าวว่า การย้อมสีปัจจุบันนิยมใช้กันเยอะมาก เพราะเป็นการสร้างสรรค์งานในรูปแบบใหม่ที่เหนือธรรมชาติให้มีสีที่ผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง
การสัมภาษณ์เชิงเจาะลึกผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค Stop Motion
อาจารย์ดิษพงศ์ วงศ์อร่าม ได้แสดงความคิดเห็นไว้ว่า การใช้เทคนิค Stop Motion ทำรายการสารคดีสามารถสื่อความหมายของความเป็นสารคดีและมีความเหมาะสมโดยภาพรวมถือว่า ทำได้ดี สื่อความหมายของสารคดีได้ น่าสนใจ แปลกตา ตัดเข้ากับเพลงได้ดี มีการใช้ Dolly ใน Stop Motion ดี ความเร็วของการเคลื่อนภาพถือว่าทำได้ดีไม่ปวดตา แต่ถ้าใช้ภาพน้อยกว่านี้ ห่างกว่านี้จะกระตุกมาก อาจมีบ้างที่มีการเคลื่อนภาพขึ้นลงที่ดูแล้วรู้สึกปวดหัว แต่ไม่มีปัญหาเพราะมีพิธีกรขั้น ภาพซ้ำควรแต่งสีเพิ่มเพื่อให้ดูแตกต่าง ไม่ควรเป็นธรรมชาติมาก การเล่าเรื่องไม่จำเป็นต้องนาน ควรทำให้ดูน่าสนใจ ในช่วงที่มีการบรรยายมากควรแทรกภาพกราฟิก หรือภาพเก่า ๆ ในการนำเสนอเพื่อให้น่าสนใจและไม่น่าเบื่อ ซึ่งไม่สอดคล้องกับแนวคิดทฤษฎีของ สนั่น ปัทมะทิน (2524 : 3) กล่าวว่า Stop Motion คือ การถ่ายเพื่อปรับเปลี่ยนภาพต้นฉบับที่ถ่ายให้เคลื่อนสำหรับจะถ่ายภาพต่อไป เป็นเทคนิคการถ่ายทำที่แตกต่างจากการเคลื่อนไหวจริง
การสัมภาษณ์เชิงเจาะลึกผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคการตัดต่อ
คุณภัทรานุช ศรีฟ้า ได้แสดงความคิดเห็นไว้ว่าการตัดต่อที่ใช้เทคนิค Stop Motion การปรับอัตราความเร็ว และการย้อมสีเฉพาะจุด สามารถสื่อความหมายของความเป็นจริงในรายการสารคดีอยู่ แต่การตัดต่อในช่วงของรอยต่อยังไม่ไหลลื่น เมื่อ Speed แล้ว Sequence มันต่างกับที่ถ่ายมาก จึงทำให้เกิดการกระตุกแทนที่จะ Smooth รายการสารคดีมีความยาวมากไป ควรย้อมสีภาพ แนะนำใช้เอฟเฟคสี RGB COLOUR เพื่อให้สีมันสดขึ้น การซ้ำภาพเดิมนานไป ถ้าไม่ถนัดกับการใช้เอฟเฟค แนะนำเปลี่ยน SHOT ใหม่ เพราะการย้ำอยู่ SHOT นานมากไป ทำให้สงสัยว่า ต้องจะสื่ออะไร NOISE ดังมาก COMPOSITION ภาพไม่ได้ มีความผิดพลาดที่การตั้งขนาด Sequence ที่ไม่พอดีหรือใกล้เคียงกับขนาดภาพที่ถ่ายมา ควรตั้งให้พอดีหรือใกล้เคียงเพราะภาพหัวภาพจะขาด เมื่อใช้ FADE BLACK แล้วเราไม่ควรใช้ EFFECT อื่นเข้ามาอีกควรเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้ว FADE BLACK ควรสั้นกว่านี้มันดูยาวไป ควรเน้นสิ่งที่จะเน้นให้ชัดมากยิ่งขึ้น ซึ่งไม่สอดคล้องกับแนวคิดทฤษฎีของ
Zoran, อ้างถึงใน อัญญรัตน์ บัวศิริ และ ชมพูนุช เกษดี, 2556 : 19 เป็นทางหนึ่งในการทำภาพลวงตา ซึ่งบางครั้งไม่สามารถทำได้ด้วยการถ่ายธรรมดาทั่วไปได้
กฤษฎา บุญชัย, (2533 : 24) กล่าวว่า การทำภาพนิ่งให้เคลื่อนไหวแบบ Stop Motion ใช้
เพื่อสร้างการแสดงโดยตัวละครขึ้นมา
ประวิทย์ แต่งอักษร (2548 : 102 – 103) กล่าวว่า ภาพที่ปรากฏบนจอขณะฉายมีอาการเคลื่อนที่เร็ว การถ่ายทำให้เกิดมีลักษณะอาการเคลื่อนที่เร็วเพื่อทำให้เกิดอารมณ์ขัน เพราะภาพอาการที่เกิดขึ้นนั้นจะดูหลุกหลิกหรือลุกลี้ลุกลน
สรุปผลการศึกษา
จากการศึกษาสามารถสรุปผลการศึกษาจากตัวแทนผู้รับสารกลุ่มเป้าหมายและผู้เชี่ยวชาญได้
ว่าการใช้เทคนิค Stop Motion, การย้อมสีเฉพาะจุด, การปรับอัตราความเร็ว และการทำภาพวิดีโอย้อนกลับซึ่งเป็นเทคนิคที่ทำให้ภาพดูไม่เป็นธรรมชาติขัดกับความเป็นจริงมานำเสนอในรายการสารคดีที่เป็นเรื่องจริงยังคงทำให้ผู้รับสารเข้าใจและรู้สึกได้ว่า สารคดีนี้เป็นเรื่องจริงเชื่อถือได้
อภิปรายผลการศึกษา
จากการศึกษาสามารถอภิปรายผลการศึกษาการจัดทำปริญญานิพนธ์ เรื่อง การผลิตรายการ
สารคดีท่องเที่ยวทางโทรทัศน์โดยใช้เทคนิค Stop Motion, การย้อมสีเฉพาะจุด, การปรับอัตรา
ความเร็ว และการทำภาพวิดีโอย้อนกลับ ในการสื่อความหมาย เป็นการใช้เทคนิคที่ทำให้ภาพดูขัดกับความเป็นจริงแต่ยังคงสามารถสื่อความหมายของความเป็นจริงในรายการสารคดีได้ เพราะเป็นภาพจริง สถานที่จริงที่มีอยู่จริงไม่ได้ตัดต่อภาพเอง ต่อให้ใช้เทคนิคอื่น ๆ ก็ยังคงให้ความรู้สึกถึงความเป็นจริง ในส่วนของการตัดต่อนั้นมีการตัดต่อการเปลี่ยนภาพตามจังหวะเพลงซึ่งจะมีช่วงจังหวะที่ช้าบางเร็วบ้างทำให้การเปลี่ยนภาพบางช่วงดูกระตุกไม่ไหลลื่นเท่าที่ควร แต่ยังคงเล่าเรื่องและให้ความรู้สึกว่า เป็นเรื่องจริงตามที่คาดไว้
ข้อเสนอแนะ
หากจะมีการศึกษาในครั้งต่อไป ผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะว่า ควรศึกษาเพิ่มเติม ดังนี้
- การถ่ายภาพ Stop Motion ควรเว้นความถี่ของภาพให้ห่างกว่านี้เพื่อให้ภาพดูมีการ
เคลื่อนไหวมากขึ้น - การนำไตเติ้ลมาคั่นแต่ละสถานที่ทำให้รู้สึกเหมือนวนกลับไปเริ่มรายการใหม่ทำให้เกิดความ
สับสน สามารถแก้ไขได้หลายวิธี เช่น การย้อมสีภาพให้แตกต่างจากไตเติ้ลเดิม การทำภาพไตเติ้ลเป็นภาพของสถานต่อไปที่จะนำเสนอ การใช้ภาพที่สื่อความหมายของเวลา เป็นต้น - การ Fade Black ที่นานเกินไปทำให้ผู้รับสารเข้าใจว่า รายการจบแล้ว ควรทำให้รู้สึกเหมือน
การกระพริบตาแล้วเปลี่ยนภาพจะให้ความรู้สึกไม่ขาดช่วงหรือนานเกินไป - ควรแทรกภาพกราฟิกเกี่ยวกับการเดินทางไปสถานที่ต่าง ๆ ที่นำเสนอ และ Insert ภาพตาม
เวลาที่พิธีกรพูดถึงสถานที่นั้นๆ เพื่อให้ผู้รับสารเห็นภาพและเกิดความเข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น - เพิ่ม CG บรรยายภาพหรือบอกชื่อสถานที่ในภาพเพื่อให้ผู้รับสารทราบว่า ภาพนั้นคือที่ไหน
- เนื่องจากมีการทำ Stop Motion ในเนื้องานค่อนข้างมาก ประกอบกับมีภาพ Out of Focus ทำให้ผู้ชมเกิดความล้า ความกดดัน ถ้าทำให้ความยาวสารคดีสั้นและกระชับขึ้นจะทำให้ดึงดูดความสนใจมากขึ้น ภาพ Out of Focus เกิดจากภาพที่ถ่ายมามีขนาดใหญ่กว่าขนาดจอภาพที่ใช้ในการตัดต่อจึงมีการครอปภาพทำให้เกิดภาพ Out of Focus
- Stop Motion เป็นการทำแอนิเมชั่นด้วยสิ่งของ แต่รายการสารคดีเรื่องนี้เป็นการทำแอนิเมชั่นด้วยภาพในการนำเสนอจึงทำให้ผู้ชมรู้สึกว่า เป็นเรื่องจริงได้
- ให้ลองถ่ายเป็นภาพวิดีโอแล้วนำมาแคปทีละเฟรมแล้วเลือกภาพโดยเว้นช่วงภาพ 3 – 5 เฟรม เช่น ถ่ายมาได้ 1 วินาที ได้ภาพ 25 เฟรม ให้เลือกภาพจากเฟรมที่ 1, 5, 9 เป็นต้น
- ควรศึกษาอัตราความเร็วของภาพ (Fast Motion) ว่า มีความเร็วมากน้อยแค่ไหนที่เป็นที่ยอมรับได้ว่าปกติ แล้วความเร็วภาพขนาดไหนที่ถือว่า ผิดปกติ เพราะความเร็วภาพอาจส่งผลที่แตกต่างจากทฤษฎี เช่น ความเร็วภาพ 100 – 110 ถือว่าพอรับได้ แต่เมื่อความเร็วเกิน 130 ขึ้นไปถือว่า ผิดปกติ
- การทำภาพวิดีโอย้อนกลับ ด้วยการเคลื่อนกล้อง หากย้อนกลับด้วย Subject อาจมีการ
สร้างความน่าสนใจมากขึ้น หากไม่มีการใช้เทคนิค Stop Motion เข้ามาช่วยจะทำให้เข้าใจว่า ไม่ใช้ภาพวิดีโอย้อนกลับแต่เป็นเพียงการแพนซ้าย แพนขวามากกว่า ซึ่งดูไม่ชัดเจน