The Advertisement Film to Campaign Audio Description for Visually Impaired
จัดทำโดย สุทธิพงษ์ ศรีเมฆ;จุฬาลักษณ์ ปานวุฒิ;ทิพย์จุฑา จันทร์ทอง
หลักสูตร เทคโนโลยีการถ่ายภาพและภาพยนตร์
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
ปริญญานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรณรงค์ให้มีการผลิตสื่อเสียงบรรยายภาพให้ผู้บกพร่องทางการมองเห็น โดยการผลิตภาพยนตร์สั้นที่มีเนื้อหาแสดงถึงความจาเป็นในการสร้างคาบรรยายแทนภาพให้กับผู้บกพร่องทางการมองเห็น มีความยาว 6 นาที 30 วินาที และให้ผู้เชี่ยวชาญทางด้านโฆษณาและประชาสัมพันธ์ จำนวน 2 ท่าน เป็นผู้ประเมิน ประกอบกับบุคคลทั่วไปจำนวน 30 ท่านประเมินผล
ผลปรากฏว่า บุคคลทั่วไปที่ชมภาพยนตร์ที่ผลิตขึ้นมีความคล้อยไปกับวัตถุประสงค์ของภาพยนตร์ ในขณะที่ผู้เชี่ยวชาญทั้งสองท่านมีความเห็นว่า ภาพยนตร์ที่ผลิตขึ้นนั้นสามารถโน้มน้าวให้ผู้ชมตระหนักถึงความสาคัญของการผลิตสื่อเสียงบรรยายภาพได้ดี แต่ยังขาดทักษะในการเล่าเรื่องซึ่งเป็นส่วนสาคัญของภาพยนตร์เพื่อการรณรงค์
วัตถุประสงค์ของการศึกษา
เพื่อการศึกษาการผลิตภาพยนตร์รณรงค์เพื่อผลิตสื่อเสียงบรรยายภาพสาหรับผู้บกพร่องทางการมองเห็น
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
สามารถผลิตภาพยนตร์รณรงค์เพื่อผลิตสื่อเสียงบรรยายภาพสาหรับผู้บกพร่องทางการมองเห็นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ขอบเขตการศึกษา
การศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาการผลิตภาพยนตร์รณรงค์เพื่อผลิตสื่อเสียงบรรยายภาพสาหรับผู้บกพร่องทางการมองเห็น โดยถ่ายทาด้วยกล้อง DSLR Canon รุ่น 70D โดยทาการผลิตสื่อเชิญชวน มีความยาว 6 นาที 30 วินาที แล้วนำภาพยนตร์ที่ถ่ายทำไปตัดต่อด้วยโปรแกรม Adobe premiere pro cs6 จากนั้นมีการทำสำเนาลงในระบบ DVD และให้ผู้เชี่ยวชาญด้านโฆษณาและประชาสัมพันธ์ จำนวน 2 ท่าน และบุคคลทั่วไป 30 ท่าน วิเคราะห์ ประเมิน ประสิทธิภาพของสื่อภาพยนตร์รณรงค์ที่ผลิตโดยแบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูล
สรุปผลการศึกษา
จากความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่กล่าวมาข้างต้น ผู้ศึกษาสามารถสรุปประเด็นต่างๆ จากการนาเสนอผลงาน “ภาพยนตร์รณรงค์” ได้ดังนี้
ข้อจากัดในเรื่องของภาพ ภาพยนตร์รณรงค์เรื่องดังกล่าว มีองค์ประกอบภาพที่ยังไม่สมบูรณ์ เรื่องของแสง สีภาพมีความโดด ยังไม่ค่อยเสมอกัน ภาพบางเฟรมก็หลุดโฟกัส ช็อตบางช็อตมีภาพที่สวยงามแต่ยังขาดอารมณ์ที่สื่อถึงจุดมุ่งหมายของภาพยนตร์
ข้อจำกัดในเรื่องของเสียง เสียงบรรยายยังมีความไม่สมบูรณ์ บางคำพูดมีการรวบคำมากเกินไป เสียงดนตรีประกอบสามารถเลือกใช้ดนตรีได้อย่างเหมาะสม
จุดเด่นที่ผู้เชี่ยวชาญแสดงความคิดเห็นต่อผลงานภาพยนตร์รณรงค์เรื่องดังกล่าว โดยภาพรวมของภาพยนตร์รณรงค์ ผู้ศึกษาสามารถนำเสนอภาพได้ตรงกับเนื้อเรื่องที่ต้องการนำเสนอ เป็นการนำเสนอสถานที่ให้บุคคลทั่วไปทราบถึงเรื่องสื่อเสียงบรรยายภาพ
จากการผลิตภาพยนตร์ “รณรงค์เพื่อผลิตสื่อเสียงบรรยายภาพสาหรับผู้บกพร่องทางการมองเห็น” โดยใช้การตัดต่อภาพด้วยโปรแกรม Adobe Premiere Pro CS6 จากการประเมินผลของผลงานภาพยนตร์รณรงค์โดยบุคคลทั่วไป สามารถอภิปรายผลได้ ดังนี้
- เมื่อท่านได้ชมภาพยนตร์รณรงค์แล้ว มีความน่าสนใจมากน้อยเพียงใด
ผลการศึกษากลุ่มตัวอย่างพบว่า บุคคลทั่วไปให้คะแนนความรู้สึกน่าสนใจในสื่อเสียงบรรยายภาพ อยู่ในระดับ ดี
- เมื่อท่านได้ชมภาพยนตร์รณรงค์แล้ว ท่านเห็นถึงความสาคัญในการผลิตสื่อเสียงบรรยายภาพในสื่อต่าง ๆ มากน้อยเพียงใด
ผลการศึกษากลุ่มตัวอย่างพบว่า บุคคลทั่วไปให้คะแนนความสำคัญในการผลิตสื่อเสียงบรรยายภาพในสื่อต่าง ๆ อยู่ในระดับ ดี
- เมื่อท่านได้รับชมภาพยนตร์รณรงค์แล้ว ท่านคิดว่า มีความต่อเนื่อง เหมาะสม และสามารถเล่าเรื่องราวได้มากน้อยเพียงใด
ผลการศึกษากลุ่มตัวอย่างพบว่า บุคคลทั่วไปให้คะแนนความต่อเนื่อง เหมาะสม และสามารถเล่าเรื่องราวของสื่อได้มากน้อยเพียงใด อยู่ในระดับ ดี
- เมื่อท่านได้รับชมภาพยนตร์รณรงค์แล้ว ท่านคิดว่า มีความน่าสนใจมากน้อยเพียงใด
ผลการศึกษากลุ่มตัวอย่างพบว่า บุคคลทั่วไปให้คะแนนความน่าสนใจในสื่อ อยู่ในระดับ ดี
- เมื่อท่านได้รับชมภาพยนตร์รณรงค์แล้ว ท่านคิดว่า มีความต่อเนื่องของภาพมากน้อยเพียงใด
ผลการศึกษากลุ่มตัวอย่างพบว่า บุคคลทั่วไปให้คะแนนมีความต่อเนื่องของภาพมากน้อยเพียงใด อยู่ในระดับ ดี
- เมื่อท่านได้รับชมภาพยนตร์รณรงค์แล้ว ท่านคิดว่า องค์ประกอบภาพถูกต้องมากน้อยเพียงใด
ผลการศึกษากลุ่มตัวอย่างพบว่า บุคคลทั่วไปให้คะแนนมีองค์ประกอบภาพถูกต้องมากน้อยเพียงใด อยู่ในระดับ ดี
- เมื่อท่านได้รับชมภาพยนตร์รณรงค์แล้ว ท่านคิดว่า ระยะการดำเนินเรื่อง มากน้อยเพียงใด
ผลการศึกษากลุ่มตัวอย่างพบว่า บุคคลทั่วไปให้คะแนนระยะการดาเนินเรื่อง มากน้อยเพียงใด อยู่ในระดับ ดี
- เมื่อท่านได้รับชมภาพยนตร์รณรงค์แล้ว ท่านคิดว่า เนื้อหามีความถูกต้องหรือไม่
ผลการศึกษากลุ่มตัวอย่างพบว่า บุคคลทั่วไปให้คะแนนเนื้อหามีความถูกต้องหรือไม่ อยู่ในระดับ ดี
- เมื่อท่านได้รับชมภาพยนตร์รณรงค์แล้ว ท่านคิดว่าความชัดเจนของน้าเสียงในการออกเสียง มีความเหมาะสม และสอดคล้องกับเนื้อหาของสื่อ มากน้อยเพียงใด
ผลการศึกษากลุ่มตัวอย่างพบว่า บุคคลทั่วไปให้คะแนนความชัดเจนของน้าเสียงในการออกเสียง มีความเหมาะสม และสอดคล้องกับเนื้อหาของสื่อ มากน้อยเพียงใด อยู่ในระดับ ดี
- เมื่อท่านได้รับชมภาพยนตร์รณรงค์แล้ว ท่านคิดว่า การใช้เทคนิคพิเศษที่ใช้ประกอบการเดินเรื่องในภาพยนตร์รณรงค์เพื่อผลิตสื่อเสียงบรรยายภาพสาหรับผู้บกพร่องทางการมองเห็น มีความน่าสนใจ มากน้อยเพียงใด
ผลการศึกษากลุ่มตัวอย่างพบว่า บุคคลทั่วไปให้คะแนนการใช้เทคนิคพิเศษที่ใช้ประกอบการเดินเรื่องในภาพยนตร์รณรงค์ มีความน่าสนใจ มากน้อยเพียงใด อยู่ในระดับ ดี
- เมื่อท่านได้รับชมภาพยนตร์รณรงค์แล้ว ท่านคิดว่า เพลงประกอบและดนตรีประกอบ ในภาพยนตร์รณรงค์เพื่อผลิตสื่อเสียงบรรยายภาพสำหรับผู้บกพร่องทางการมองเห็น มีความเหมาะสม และน่าสนใจ มากน้อยเพียงใด
ผลการศึกษากลุ่มตัวอย่างพบว่า บุคคลทั่วไปให้คะแนนเพลงประกอบและดนตรีประกอบ ในภาพยนตร์รณรงค์ มีความเหมาะสม และน่าสนใจ มากน้อยเพียงใด อยู่ในระดับ ดี
ปัญหาและอุปสรรคที่พบ
ในการศึกษาโครงการปริญญานิพนธ์ในหัวข้อ “การผลิตภาพยนตร์รณรงค์เพื่อผลิตสื่อเสียงบรรยายภาพสาหรับผู้บกพร่องทางการมองเห็น” ครั้งนี้ ผู้ศึกษาปริญญานิพนธ์ได้ประสบกับปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ดังนี้
- ปัญหาที่พบในขั้นตอนการวางแผนก่อนการผลิต ( Pre Production )
คณะผู้ศึกษาปริญญานิพนธ์ได้ทำการศึกษาการทำภาพยนตร์รณรงค์ การโน้มน้าวด้วยเหตุผลของเนื้อหาหรือแนวคิดเป็นสิ่งสาคัญ ดังนั้น ผู้ผลิตภาพยนตร์รณรงค์จึงต้องมีทักษะในด้านการเล่าเรื่อง แต่ด้วยความที่ไม่เชี่ยวชาญด้านการเขียนบทภาพยนตร์รณรงค์ จึงทำให้เนื้อหาในภาพยนตร์บางส่วนที่ผลิตออกมา ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลความรู้ที่จะสื่อออกไปได้มากนัก - ปัญหาที่พบในขั้นตอนการผลิต ( Production )
เนื่องจากขั้นตอนการวางแผนก่อนการผลิต ไม่ได้จัดทำบทภาพหรือบทภาพยนตร์ที่มีภาพนิ่ง เช่น สตอรี่บอร์ด บ็อคช็อต เป็นต้น จึงทำให้การถ่ายทำที่กำหนดไว้มีความล่าช้า - ปัญหาที่พบในขั้นตอนหลังการผลิต ( Post Production )
เนื่องจากการตั้งค่าอุปกรณ์กล้องในส่วนของการโฟกัสภาพได้ตั้งค่าเป็นแบบติดตามวัตถุ ทำให้ภาพที่ได้หลุดโฟกัส จึงทำให้ไฟล์วีดีโอที่ได้ ไม่สามารถนำมาใช้ในงานตัดต่อได้ และในส่วนของการอัดเสียงคำบรรยาย มีเสียงบรรยายกาศรอบ ๆ รบกวน จึงส่งผลให้มีเสียงรบกวนในการผลิต
ข้อเสนอแนะในภาพยนตร์รณรงค์
ในการผลิตภาพยนตร์รณรงค์ครั้งต่อไป ผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะดังนี้
- ภาพยนตร์รณรงค์ควรมีความคิดที่แตกต่างออกไปจากภาพยนตร์รูปแบบเดิม ๆ เพื่อสร้างความแตกต่างและดึงดูดความสนใจของผู้ชม
- ควรใช้เทคนิคพิเศษเพิ่มขึ้น เพื่อให้ภาพยนตร์มีความน่าสนใจ
- ภาพยนตร์รณรงค์ควรมีเนื้อหาที่กระชับ ไม่ซับซ้อน
- ตรวจเช็คความพร้อมของอุปกรณ์การถ่ายทำก่อนทุกครั้ง วางแผนการเดินทางให้ดี ศึกษาพื้นที่ที่จะถ่ายทำก่อนเสมอ จะทำให้สามารถทางานออกมาได้อย่างราบรื่น และรวดเร็วยิ่งขึ้น
- ควรให้นักแสดงมืออาชีพหรือผู้บกพร่องทางการมองเห็น มาเป็นนักแสดง
- ช่วงขั้นตอนก่อนการผลิต ควรมีการจัดทำบทภาพหรือบทภาพยนตร์ที่มีภาพนิ่ง เช่น สตอรี่บอร์ด บ็อคช็อต เป็นต้น
- ควรใช้อุปกรณ์อัดเสียงที่มีคุณภาพ