PRODUCTION OF ADVERTISING BY SPECIAL EFFECTS FOR SMOKING CESSATION CAMPAIGN

จัดทำโดย สุพจน์ บุญช่วยเจริญพร;ธนัท พฤฒากรณ์ และ อาภาศิริ ผายรัศมี

หลักสูตร เทคโนโลยีมัลติมีเดีย

ปีการศึกษา 2560


บทคัดย่อ (ABSTRACT)

ปริญญานิพนธ์เล่มนี้ได้จัดทำขึ้นตามหลักสูตรการเรียนการสอนในสาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี โดยผู้จัดทำปริญญานิพนธ์ เรื่องการผลิตโฆษณาโดยใช้เทคนิคพิเศษเพื่อการรณรงค์การเลิกสูบบุหรี่ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา 1)เพื่อการผลิตสื่อโฆษณาให้รับรู้โทษของบุหรี่และผลเสียที่จะเกิดขึ้นของนักศึกษาช่วงอายุ 18-22 ปี ในพื้นที่คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 2)เพื่อประเมินคุณภาพสื่อการผลิตโฆษณาโดยใช้เทคนิคพิเศษเพื่อการรณรงค์การเลิกสูบบุหรี่ 3)เพื่อประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการผลิตโฆษณาโดยใช้เทคนิคพิเศษเพื่อการรณรงค์การเลิกสูบบุหรี่

วิธีการศึกษาทำโดย ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการผลิตสื่อโฆษณาการรณรงค์ และข้อมูลเกี่ยวกับ การเลิกสูบบุหรี่ โดยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่1 ขั้นตอนก่อนการผลิต (Pre – Production) ขั้นตอนที่2 ขั้นตอนการผลิต (Production) และขั้นตอนที่3 ขั้นตอนหลังการผลิต (Post – Production) หลังจากนำสื่อที่เสร็จเรียบร้อยไปประเมินคุณภาพสื่อจากผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด 4 ท่าน โดยแบ่งเป็น ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคนิค จำนวน 1 ท่าน ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเนื้อหาจำนวน 1 ท่าน ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเสียงจำนวน 1 ท่าน ผู้เชี่ยวชาญทางด้านประสิทธิภาพของสื่อ จำนวน 1 ท่าน และประเมินผลความพึงพอใจจากกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำนวน 30 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย

ผลการศึกษาสรุปว่า ผลการวิเคราะห์คุณภาพสื่อจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคนิค อยู่ในระดับ ดี มี ค่าเฉลี่ยเท่ากับ (X̅= 4.30) ด้านเนื้อหา (X̅= 3.68) ด้านเสียง (X̅= 3.75) และด้านประสิทธิภาพของสื่อ (X̅= 3.93) และผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจที่มีต่อสื่อจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน อยู่ในระดับ ดี ในด้านเทคนิค (X̅= 4.14) ด้านเนื้อหา (X̅= 3.67) ด้านเสียง (X̅= 4.06) และด้านประสิทธิภาพของสื่อ (X̅= 3.97)

คำสำคัญ: สื่อโฆษณา, การรณรงค์, การเลิกสูบบุหรี่


วัตถุประสงค์ของการศึกษา

  1. เพื่อการผลิตสื่อโฆษณาให้รับรู้โทษของบุหรี่และผลเสียที่จะเกิดขึ้นของนักศึกษาช่วงอายุ 18-22 ปี ในพื้นที่คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  2. เพื่อประเมินคุณภาพสื่อการผลิตโฆษณาโดยใช้เทคนิคพิเศษเพื่อการรณรงค์การเลิกสูบบุหรี่
  3. เพื่อประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการผลิตโฆษณาโดยใช้เทคนิคพิเศษเพื่อการรณรงค์การเลิกสูบบุหรี่

ขอบเขตการศึกษา

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ได้กาหนดขอบเขตการศึกษา ดังนี้

  1. ขอบเขตด้านเนื้อหา
    การศึกษาการรับรู้โทษของบุหรี่ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ในกลุ่มวัยรุ่นที่ติดเกม เที่ยวกลางคืน นักฟุตบอลที่สูบบุหรี่ เพื่อให้รู้ถึงโทษของการสูบบุหรี่โดยใช้การผลิตสื่อโฆษณาที่นาเสนออย่างเข้าใจได้ง่ายและเกิดประสิทธิภาพ
  2. ขอบเขตด้านกลุ่มตัวอย่าง
    กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาระดับอุดมศึกษาในคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  3. ขอบเขตด้านเทคนิค
    เพื่อศึกษาพัฒนาโฆษณาเพื่อรณรงค์การเลิกสูบบุหรี่โดยการศึกษาจากนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีเพื่อมาโดยใช้เทคนิคการใช้โปรแกรม Adobe Premiere Pro ผสมผสานกับโปรแกรม Adobe after Effect เพื่อให้เกิดผลงานเกี่ยวกับการโฆษณาเชิงรณรงค์การเลิกสูบบุหรี่
  4. ระยะเวลาของการวิจัย
    เป็นการใช้วิธีประเมินผลจากการนาผลงานโฆษณาที่ทาให้ผู้ชมกลุ่มเป้าหมายจำนวน 30 คน เพื่อรับชมแล้วทำแบบสอบถามว่า มีทัศนคติอย่างไรเมื่อได้รับชมโฆษณา และใช้วิธีนำผลงานโฆษณาเพื่อรณรงค์การเลิกสูบบุหรี่ให้ผู้เชียวชาญพิจารณา

นิยามศัพท์เฉพาะ

  1. สื่อโฆษณา
    สื่อโฆษณาถือว่าเป็นสื่อที่ทุกคนให้ความสาคัญอยู่ในอันดับต้น ๆ เพราะเป็นสื่อที่มีเนื้อหาที่เค้าโครงมาจากเรื่องจริงเป็นส่วนใหญ่และมีระยะเวลาที่ใช้ไม่นานมาก เลยมีจุดที่น่าสนใจและเป็นการดึงดูดคนดูได้ดี
  2. การรณรงค์
    การรณรงค์หมายถึงโครงการในแผนแผนหนึ่งที่ทำการสื่อสารบ่อยครั้ง มีความถี่สูงในช่วงระยะหนึ่งโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะสื่อสารในประเด็นสำคัญประเด็นเดียวหรือเน้นบอกเรื่องราวกับกลุ่มเป้าหมายเพียงประเด็นเดียวเพื่อให้จดจำง่ายโดยจะมีการสร้างสรรค์ข้อความ ภาพและเสียง หรือเรื่องราวที่จะบอกกล่าวอย่างโดดเด่นและเนื้อหาสาระที่นำเสนอจะเป็นสิ่งที่ผู้วางแผนรณรงค์ต้องการให้เกิดการรับรู้หรือผลตามเป้าหมายอย่างรวดเร็วอาจกล่าวได้ว่า การรณรงค์จะถูกวางแผนให้ฉีกออกมาจากแผนหลักทางการสื่อสารปกติขององค์กรทั้งในเรื่องของวัตถุประสงค์และการนำเสนอ
  3. บุหรี่และยาสูบ
    บุหรี่และยาสูบอื่น ๆ เป็นสาเหตุหลักชองการเสียชีวิตที่สามารถป้องกันได้ การสูบบุหรี่เพิ่มโอกาสในการเป็นมะเร็งปอด (ประมาณ 80-90% ของผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดมีสาเหตุมาจากการสูบบุหรี่) นอกจากนั้นยังเป็นสาเหตุของโรคปอดอื่น ๆ เช่น โรคถุงลมโป่งพอง (Emphysema) หญิงมีครรภ์ที่สูบบุหรี่ มีโอกาสแท้งลูกมากขึ้น และเด็กที่คลอดออกมาอาจมีน้าหนักน้อยกว่าปกติ การสูบบุหรี่ยังเพิ่มโอกาสของอาการหัวใจวาย และโรคมะเร็งประเภทอื่น ๆ อีกด้วย ผู้สูบบุหรี่อาจดูแก่กว่าปกติเนื่องจากควันบุหรี่จะเพิ่มรอยเหี่ยวย่นบนผิวหนังเนื่องจากการสูบบุหรี่มีผลเพิ่มอัตราเมตาบอลิซึม ดังนั้นอาจส่งผลให้ผู้สูบบุหรี่มีน้าหนักลดลง
  4. เทคนิคพิเศษ
    เทคนิคพิเศษนั้นสามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ เทคนิคกลไก (Mechanical Effects) และเทคนิคพิเศษทางภาพ (Visual Effects) เช่น การสร้างเทคนิคไฟไหม้นั้นจากเดิมจะต้องมีการเตรียมอุปกรณ์ทำไฟไหม้ให้เกิดขึ้นจริง โดยมีวิธีการเผาสิ่งของจริงโดยอุปกรณ์ทั้งหมดถ้าเผาแล้วเกิดความเสียหายและไม่สามารถนำมาใช้ได้อีก ถ้าหากมีการถ่ายซ้าจะต้องสร้างขึ้นใหม่โดยจะใช้เวลานานและเสียเวลาเป็นอย่างมาก อีกทั้งการทำไฟไหม้โดยการเผาจริงก่อให้เกิดความอันตรายขึ้นได้ ด้วยเหตุนี้ผู้กำกับจึงหาวิธีแก้ไขเพื่อให้นักแสดงปลอดภัยที่สุดและมีความสะดวกมากขึ้น เมื่อเข้าสู่ในยุคโลกาภิวัตน์ คอมพิวเตอร์ได้มีบทบาทมาก จึงทาให้ผู้กำกับได้ใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการทำภาพยนตร์โดยการใช้เทคนิคพิเศษเข้ามาช่วยเพื่อให้การถ่ายทาง่ายขึ้นและไม่มีความเสี่ยงต่อนักแสดง และเทคนิคพิเศษนั้นยังสามารถสร้างสรรค์ภาพยนต์ให้มีความหลากหลายขึ้นอีกด้วย

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. งานวิจัยนี้ที่ได้จัดทำขึ้นเพื่อให้เยาวชนในวัยอุดมศึกษาได้รู้ถึงโทษที่ร้ายแรงของมันและได้ทราบถึงโทษของบุหรี่ การเลิกบุหรี่เป็นสิ่งที่ยากสำหรับเยาวชนหลาย ๆ คนที่เคยเลิกแล้วทำไม่ได้ แต่มันต้องมีขั้นตอนของมันที่สามารถลดจากสูบเยอะเป็นน้อย จากน้อยก็จะมีวิธีต่อไป เพื่อให้เราได้เลิกบุหรี่ได้เพื่อกับมารักสุขภาพของตัวเราเองและสิ่งแวดล้อมรอบข้าง
  2. ปัญหาของการสูบบุหรี่นั้นมันไม่ได้ส่งผลถึงคนที่สูบอย่างเดียวมันเป็นการส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมและคนรอบข้างได้มากกว่าคนที่สูบเอง เราควรให้ความสำคัญถึงสุขภาพของตนเองและคนรอบข้างเพราะบุหรี่ไม่มีทางทำให้ชีวิตเราดีขึ้นมีแต่ทำลายสุขภาพ และถ้าเราสูบนานไปเรื่อย ๆ บุหรี่ก็จะทำลายสุขภาพเราและคนรอบข้างไปมากขึ้น ๆ เช่นกัน

สรุปผลการศึกษา

  1. สรุปผลการประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ
    จากผลการประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญทั้ง 4 ด้าน สรุปได้ว่า ด้านเทคนิค อยู่ในระดับ ดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (X̅= 4.30) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ (S.D. = 0.17) ด้านเนื้อหา พบว่า โดยรวมแล้ว อยู่ในระดับ ดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (X̅= 3.68) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ (S.D. = 0.03) ด้านเสียง พบว่า โดยรวมแล้ว อยู่ในระดับ ดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (X̅= 3.75) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ (S.D. = 0) และด้านประสิทธิภาพของสื่อ พบว่าโดยรวมแล้วอยู่ในระดับ ดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (X̅= 3.93) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ (S.D. = 0.39)
  2. สรุปผลการประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่าง
    จากผลการประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่าง ด้านเทคนิค พบว่า โดยรวมแล้ว อยู่ในระดับ ดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (X̅= 4.14) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ (S.D. = 0.14) ด้านเนื้อหา พบว่า โดยรวมแล้ว อยู่ในระดับ ดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (X̅= 3.67) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ (S.D. = 0.07) ด้านเสียง พบว่า โดยรวมแล้ว อยู่ในระดับ ดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (X̅= 4.06) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ (S.D. = 0.08) และด้านประสิทธิภาพของสื่อ พบว่า โดยรวมแล้ว อยู่ในระดับ ดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (X̅= 3.97) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ (S.D. = 0.07)

อภิปรายผลการศึกษา

ในการศึกษาการผลิตโฆษณาโดยใช้เทคนิคพิเศษเพื่อการรณรงค์การเลิกสูบบุหรี่ มีประเด็นที่น่าสนใจมาอภิปรายดังต่อไปนี้

การผลิตโฆษณาโดยใช้เทคนิคพิเศษเพื่อการรณรงค์การเลิกสูบบุหรี่ ผ่านการตรวจทานปรับปรุงแก้ไขจากอาจารย์ที่ปรึกษา และการประเมินคุณภาพสื่อจากผู้เชี่ยวชาญทั้ง 4 ด้านได้แก่ ด้านเทคนิค ด้านเนื้อหา ด้านภาพและเสียง และประสิทธิภาพของสื่อ และได้นำสื่อไปทดสอบกับจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน จำนวน 30 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย จากนั้นนำผลการประเมินคุณภาพของสื่อมา วิเคราะห์ พบว่า ด้านเทคนิค การใช้เทคนิคที่เหมาะสม การจัดมุมกล้อง การเคลื่อนไหวมีความต่อเนื่องอยู่ในระดับที่ดี ด้านเนื้อหา มีการลำดับเรื่องได้น่าสนใจและมีความเหมาะสม อยู่ในระดับดี ด้านเสียง เสียงดนตรีประกอบเสียงในแต่ละฉากเข้ากับสื่อ อยู่ในระดับที่ดี และด้านประสิทธิภาพของสื่อ สามารถสร้างแรงจูงใจให้กับผู้ชม ผู้ชมมีความคล้อยตามกับสื่อ อยู่ในระดับที่ดี

ปัญหาและอุปสรรค

การผลิตโฆษณาโดยใช้เทคนิคพิเศษเพื่อการรณรงค์ การเลิกสูบบุหรี่ ตลอดจนการประเมินคุณภาพ จากผู้เชี่ยวชาญ และประเมินความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่างได้พบ ปัญหาและอุปสรรคดังนี้

  1. การถ่ายทำสื่อค่อนข้างมีอุปสรรคเรื่องการถ่ายทำในแต่ละฉากที่ต้องแสดงการสูบบุหรี่
  2. การหาเลือกเทคนิคพิเศษหรือเอฟเฟคที่จะมาเล่ากับสื่อค่อนข้างยาก
  3. การหาเสียงประกอบสื่อยาก
  4. การจัดมุมหรือแสงยากเพื่อให้เข้ากับแต่ละตอนในสื่อรณรงค์

ข้อเสนอแนะ

  1. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมด้านเทคนิคพิเศษ
    การตัดต่อเอฟเฟคยังไม่เนียนเท่าไหร่และการต่อเนื่องของภาพยังไม่มีความต่อเนื่องกัน
  2. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมด้านเทคเสียง
    เสียงประกอบบางฉากยังไม่เข้ากับสื่อ

รับชมผลงาน